
ไปโลด !กลุ่มสตรี จ.หนองบัวลำภู ต่อยอดสินค้า OTOP สู่เศรษฐกิจชุมชน
เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 31 ต.ค.ที่ ลานสนามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อ.เมืองจ.หนองบัวลำภู นายสมนึก มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เยี่ยมชมงานมหกรรมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตามโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ Inside product by Thai Womanfund สัญจร งานจัดระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. 2561 พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมี นายสยัมภู แพงจันทร์ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วยนายประดิษฐ์ นัดทะยายหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์พัฒนาชุมชนสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู ให้การต้อนรับ และนำชม
นายสมนึก มณีพินิจ
นายสมนึก มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวว่าสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในฐานะเลขากองทุนพัฒนาบาทสตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะไปช่วยเหลือส่งเสริมสตรีได้นำเงินกองทุนไปประกอบอาชีพอาจจะเป็นทั้งอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก ในส่วนที่ 2 กองทุนสตรีก็จะไปทำให้ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพสตรี หรือว่าไปแก้ปัญหาสตรีให้มีความเข้มแข็ง
เมื่อสตรีได้รับสนับสนุนเงินกองทุนไปประกอบอาชีพแล้ว นั้นสตรีสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดไปสู่โครงการ OTOP ไปสู่โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP และวัตวิถี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็ได้ดำเนินการในปีงบ 2561 ในทุกอำเภอ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยเป็นช่องทางการตลาดให้กับสมาชิกกองทุนบาทสตรีได้มีที่จำหน่ายสินค้าเพื่อที่จะเพิ่มยอดจำหน่าย
นางลำดวน คำสมหมาย
นางลำดวน คำสมหมาย ประธานกลุ่มแปรรูปปลาสมุนไพร บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่ากลุ่มแปรรูปปลาสมุนไพร บ้านห้วยบง 3 ได้ทำการกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่ให้มาในปี 58 จำนวน 200,000 บาท นำมาทำกลุ่มแปรรูปปลา ซึ่งตอนนี้ได้ขยายกิจการ ด้วยการทำผลิตภัณฑ์ปลาส้ม อยากหลากหลายรูปแบบ ต่อยอดจากของเดิม จนเดี๋ยวนี้ทางกลุ่มได้ทำผลิตภัณฑ์หลายๆอย่างเพิ่มขึ้น
โดยได้ทางสถาบันอาหารจากกรุงเทพกลับมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ ทำให้ขายดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถชดใช้เงินที่กู้มาจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ได้หมด และยังไม่ได้ทำการกู้ยืมเงินเพิ่มแต่อย่างใด
นางชนนิภา เรืองแสง
ด้านนางชนนิภา เรืองแสง ประธานกลุ่มเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ต.นาสี อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู กล่าวว่าหลังจากที่ได้รับเงินมาจากการกู้เงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 100,000 บาท โดยทางกลุ่มฯได้ไปหาซื้อผ้าฝ้ายมาดำเนินการทอ แต่มันไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกในกลุ่มฯซึ่งตอนนี้ได้กู้เงินของกองทุนบทบาทสตรี มาเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากและจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น
ทำให้มีรายรับรายจ่ายคล่องขึ้น พอมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ตลาดต้องการ เช่นทำเป็นเสื้อ กางเกง ผ้าถุงมีทุกสิ่ง ตลอดทำเป็นของใช้ และของที่ระลึกอีกด้วย นับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังนั้นอยากฝากไปยังกลุ่มอาชีพสตรีอื่นๆว่า ถ้าเรามากู้เงินจากกองทุนบทบาทสตรี แล้วก็ขอให้เอาไปใช้ให้ได้ประโยชน์ ทำให้งอกเงย และมีกำไรเพิ่มมากขึ้น