วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

มข.ไอเดียกระฉูด นำปัญญาประดิษฐ์ เอไอ (AI .)มาใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต

มข.ไอเดียกระฉูด นำปัญญาประดิษฐ์ เอไอ (AI .)มาใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข.ไอเดียกระฉูด นำปัญญาประดิษฐ์ เอไอ (AI .)มาใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 20 ก.ย.ที่ ห้องประชุม สุกิจจา ชั้น 2 อาคารพิมลกลกิจ (ตึกสำนักทะเบียน ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทอง วิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดการบรรยายเรื่อง ระบบAI สำหรับการปฏิวัติอุตสาหรรมในยุค 4.0 การพัฒนาหลักสูตรของญี่ปุ่นและเอเปค โดยมี รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ Prof.Masami Isoda ผู้ประสานงานระหว่าง มข และ University of Tsukuba ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ คณบดีคณะสัตวแพทย์ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ คณบดี วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ผอ.สำนักคอมพิวเตอร์,รองคณบดีเภสัชศาสตร์,รองคณบดีมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์,รศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช ผอ.สำนักบริหารและพัฒนาการศึกษา,รักษาการรอง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูและนักศึกษาระดับปริญญาเอก คณิตศาสตร์ศึกษา ร่วมรับฟังการบรรยาย

รศ.นพ.ชาญชัย  พานทอง วิริยะกุล
รศ.นพ.ชาญชัย ที่ปรึกษารักษาการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบัน และอนาคต ที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวันนี้ได้เชิญ Prof.Masami Isoda ผู้ประสานงานระหว่าง มข และ University of Tsukuba ที่มาร่วมงานกับศูนย์ความร่วมมือระดับนานาชาติ CRICED ที่ตั้งอยู่ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสําหรับอาเซียน ซึ่งท่านสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยญี่ปุ่นมาบรรยาย ของความหมายให้นักวิชาการของ ม.ขอนแก่นได้เข้าใจเรื่อง AI ใน 2 เรื่อง ที่ 1 คือเราจะเตรียมคนหรือผลิตบัณฑิตของเราให้เข้ากับยุค AI ได้อย่างไร และเราก็ต้องเข้าใจว่า AI จะมาแทนงานในอนาคต แต่จะมีงานบางส่วนที่ AI ทำแทนไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เราต้องมีคนที่เข้าใจแล้ว จึงเตรียมความพร้อมทำงานที่ AI ทำแทนไม่ได้ เช่นงานที่ต้องใช้ในเรื่องของมนุษย์สัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเราต้องรักษา ต้องเข้าใจ

ดังนั้นเราต้องเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะทำงานในยุค AI และก็ต้องสร้างเด็กของเรา ให้มีความคิดสร้างสรรค์ ให้มีเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ ที่พร้อมที่จะไปทำงานในยุค AI อีกด้านหนึ่งก็คือบัณฑิตของเราก็ต้องรู้เรื่อง AI ทำงานอย่างไรให้เขาเข้ามาใช้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Machine Learning หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Beta ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปก่อให้เกิด ประโยชน์ของเรา จึงจำเป็นต้องมีความรู้ทั้ง 2 ด้านอันนี้คือสิ่งที่วันนี้ ที่ Prof.Masami Isoda ได้อธิบายให้พวกเราฟัง

รศ.ดร. ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์
รศ.ดร. ไมตรี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นและ University of Tsukuba มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานมากกว่า 15 ปีทางด้านการศึกษาต่อมาได้ขยายความร่วมมือไปทางด้านอื่นได้แก่การแพทย์,การเกษตร,มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ University of Tsukuba เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยก้าวหน้าระดับโลกในหลายๆด้านได้รับรางวัล Nobel Price ถึง 3 คนและที่มีชื่อเสียงอย่างมากในปัจจุบันคือสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากมนุษย์เองเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุในชุมชนนอกจากนี้ในปี 2019 ถึง 2020 และเสนอโครงทางด้าน AI for Education ใน HRDWG ของเอเปค ซึ่งมี 20 ประเทศในกลุ่มเอเปค เข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้

Prof.Masami  Isoda 
Prof.Masami Isoda กล่าวว่าในช่วงปีนี้โลกได้ขยับเข้ามาในยุคดิจิตอล ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตร โดยเริ่มที่ม.ปลายก่อน ตอนนี้สิ่งที่เน้นในหลักสูตรชั้น ม.ปลายคือ Programming ซึ่งตอนนี้ใช้เครื่องมือคือตัวหุ่นยนต์ซึ่งจะฝึกสอนโดยให้ฝึกเด็กแก้ปัญหาด้วยตัวนักเรียนเองซึ่งตอนนี้ ตัวอาจารย์ได้มาอยู่ประจำอยู่ที่ ม.ขอนแก่น จึงต้องเน้นทั้งฝึกอบรมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อจะให้สามารถไปเป็นเทรนเนอร์ต่อไปได้ กับฝึกอบรมครูประจำการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะตอนนี้เรื่อง Programming ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นในหลักสูตรโดยใช้ชื่อว่าวิทยาการการคำนวณซึ่งก็ถือว่าเป็นความก้วหน้าทางของโลกรวมทั้งในส่วนที่ประเทศไทยที่กำลังจะไปในทิศทางของโลกในขณะนี้ อย่างที่

ผศ.ณัฐพัชญ์  อนันต์ธีระกุล
ผศ.ณัฐพัชญ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์คือ สิ่งที่จะมาแทนที่หรือช่วยการทำงานให้กับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ ที่ต้อง Program ให้มันทำ ให้มันช่วยเหลือมนุษย์ อาจจนถึง ให้มันคิดทำ และในด้านการเรียนการสอน ต่อไปเราต้องนำสิ่งนี้มาสอนเด็ก เพราะว่าเด็กรุ่นใหม่ต่อไป ที่ไม่ใช่พวกเรา เขาจะโตมากับการใช้กับปัญญาประดิษฐ์ และประดิษฐ์คิดค้น AI มาใช้งาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงต้องนำวิธีการทั้ง 2 สิ่ง บูรณาการเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนในอนาคต.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads