วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
The development of a teaching and learning model in chemistry to promote the ability to think critically and critical problem solving of grade 12 students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน การสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และ การวิเคราะห์เนื้อหา

รูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparing and Motivating Step : P) เป็นขั้นที่ผู้สอนเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนโดยใช้การกระตุ้น จูงใจในการเรียน เช่น แจ้งจุดประสงค์ในการเรียน แนะนำกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ทบทวนตรวจสอบความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละครั้ง
2. ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Learning Thinking Process by Practice Step : L) เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนฝึกคิดจากสาระในบทเรียนตามลำดับกระบวนการคิด โดยตั้งเป้าหมายการคิด ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และประเมินข้อมูล ระบุสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา ประเมินทางเลือก ลงความเห็นและตัดสินใจเลือก ทางเลือกในการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติและสรุปผล
3. ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organizing Knowledge Step : 0) เป็นขั้นที่ครูและ นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้ตามเนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์ แล้วทบทวนการคิดโดยครูกระตุ้นเสริมต่อจนนักเรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการและจุดเน้นของการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ


4. ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process Step : A) เป็นขั้น ที่นักเรียนนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณมาประยุกต์ใช้ โดยฝึกคิดกับสถานการณ์อื่น
5. ขั้นสรุป (Summarizing Step : S) เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมสรุปองค์ความรู้ด้านเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กระบวนการคิด
6. ขั้นประเมินผล (Evaluating Step : E) เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมประเมินผลงาน การคิดของกลุ่มฝึกใช้กระบวนการคิดนอกเวลาเรียนแล้วบันทึกทุกขั้นตอน ครูประเมินผลงานการคิดรายบุคคลและทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “PTOASE Model ” โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นจูงใจในการเรียน (Preparing and Motivating Step : P) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดโดยฝึกปฏิบัติ (Thinking Process by Practice Step : T) 3) ขั้นจัดระเบียบความรู้ (Organizing Knowledge Step : 0) 4) ขั้นประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process Step : A) 5) ขั้นสรุป (Summarizing Step : S) 6) ขั้นประเมินผล (Evaluating Step : E) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 82.41/83.27 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแบ่งเป็น
2.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น ครูเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและนักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

คุณครูวิภาดา พั้วลี

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads