วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

“รฏาวัญ”ปลุกเสียงสตรี ร่วมก่อตั้งกระทรวงพุทธศาสนา

“รฏาวัญ”ปลุกเสียงสตรี ร่วมก่อตั้งกระทรวงพุทธศาสนา
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“รฏาวัญ”ปลุกเสียงสตรี ร่วมก่อตั้งกระทรวงพุทธศาสนา


“นางรฎาวัญ” ปลุกเสียงสตรี ขอนแก่น ประกาศผลักดัน ตั้ง “กระทรวงพระพุทธศาสนา” กำหนดให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติใน รธน. ยก4เหตุผลสนับสนุน พร้อมล่ารายชื่อชาวพุทธทั่วประเทศหนุน
นางรฎาวัญ วงศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ดร.นิติธร สีเขียว และ ดร.ชริตา พลพานิชย์ ทีมเสมอภาค ลงพื้นที่พบสมาชิกชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทย ที่ อ.บ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563 เพื่อฟื้นพลังของกลุ่มเสียงสตรีให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

นางรฎาวัญ วงศรีวงศ์

นางรฎาวัญ กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาตนในฐานะประธานชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทยได้ผลักดันขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิและบทบาทให้กับสตรีไทยทั่วประเทศจนมีสมาชิกมากกว่า 1,000,000 คน แต่ด้วยการปฏิวัติยึดอำนาจทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนชมรมฯ ได้ จน ณ. วันนี้มีรัฐบาลและสถานการณ์โควิดได้คลี่คลายลงแล้ว ตนจึงจะมาช่วยขับเคลื่อนผลักดันสิทธิและบทบาทของสตรีทั่วประเทศไทย ผ่านชมรมเสียงสตรีฯ ให้กลับมาเข้มแข็งและมีพลัง เป็นกระบอกเสียงให้กับสตรีทั่วประเทศ ตนขอฝากไปถึงพี่น้องสตรีทุกหมู่บ้านทั่วประเทศโดยเฉพาะที่เป็นสมาชิกชมรมเสียงสตรีฯ ซึ่งเคยร่วมต่อสู้ผลักดันสิทธิและบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของสตรีร่วมกันมาจนประสบความสำเร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้วซึ่งจะต้องผลักดันให้เพิ่มเงินกองทุนฯอีก 77,000ล้านบาทตามเป้าหมายที่ตนได้ริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2548 ขอให้เสียงสตรีทุกคนกลับมารวมตัวกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนชมรมเสียงสตรีแห่งประเทศไทยให้กลับมายิ่งใหญ่เข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้นทุกด้านอีกครั้ง

นอกจากนี้ นางรฎาวัญยังกล่าวอีกว่า ตนในฐานะพุทธมามกะ ได้สอบถามขอประชามติกับพี่น้องประชาชนชาวพุทธ ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้ความเห็นชอบต่อนโยบายของทีมเสมอภาคที่จะผลักดันให้จัดตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนา เพื่อช่วยส่งเสริมและรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน จนสามารถบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนเดิม ตนเชื่อมั่นว่าหลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้าง “สังคมอุดมธรรม” ให้เป็นจริงได้ ด้วย 4 เหตุผล ดังนี้
1. หลักธรรมของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกเชิงการปกครองทรงสอนว่า อำนาจอธิปไตยและหน้าที่เป็นของประชาชน โดยประชาชนแบ่งอำนาจหน้าที่กันทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และพระธรรมของพระพุทธเจ้ายังสามารถอบรมให้ผู้นำเป็นอารยะบุคคลได้ จะทำให้ได้ผู้นำที่ ไม่สะสมทรัพย์,ไม่ยึดติดในทรัพย์,ไม่ใช้อำนาจแสวงหาทรัพย์,ไม่ใช่ทรัพย์แสวงหาอำนาจ,เมื่อพลัดพรากจากของรักของชอบต้องไม่คิดพยาบาทประทุษร้าย,ต้องมีความเป็นกลางไม่แบ่งแยกในการดูแลจัดสรรทรัพยากรของชาติให้ประชาชนได้กินได้ใช้โดยเสมอภาค ทั่วถึงและยุติธรรม

2. เป็นการเปลี่ยนพฤตินัยที่มีอยู่แล้วให้เป็นนิตินัย นั่นคือ อุดมการณ์ของประชาชนชาวไทยต้องยึดมั่นในสถาบันชาติ สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งสถาบันศาสนาทุกคนก็เข้าใจว่าคือศาสนาพุทธ, ธงชาติไทยกำหนดให้มีสามสี คือ สีแดงคือชาติ สีขาวคือศาสนาและสีน้ำเงินคือพระมหากษัตริย์ ซึ่งสีขาวคือศาสนาที่ทุกคนก็เข้าใจว่าหมายถึงศาสนาพุทธ
3. หมุดคณะราษฎร์ ที่อ้างว่าถูกเปลี่ยนใหม่นั้น ได้มีการสลักข้อความคาถาบาลีว่าด้วยพระรัตนตรัย และพระมหากษัตริย์ทรงปกครองประชาชนด้วยธรรม และประชาชนจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และนำพาประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เจริญรุ่งเรือง
4. พระมหากษัตริย์ในอดีตจนถึงปัจจุบันทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายรายเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วมักบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นการยืนยันการเป็นชาวพุทธ


“การทำพฤตินัยให้เป็นนิตินัยโดยกำหนดในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและการยกสำนักพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นกระทรวงพระพุทธศาสนา ตนเชื่อว่าชาวไทยพุทธย่อมไม่คัดค้านและเชื่อว่าจะไม่ทำให้ศาสนาอื่นเกิดความแตกแยกด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ และว่าที่พรรคเสมอภาคเราพร้อมกำหนดเป็นนโยบายสำคัญ พร้อมร่วมมือกับชาวพุทธทุกคนทั่วประเทศผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จให้ได้เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนาน ให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน ทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านความมั่นคง ด้านความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม “นางรฎาวัญกล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads