
“สื่อมวลชน จ.ขอนแก่น” ถก! นักวิจัยจุฬาลงกรณ์ การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย
สื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ร่วมการประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เพื่อติดตาม และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์ :การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย ของคณะที่ปรึกษา จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
เมื่อเวลา 09.00 น.วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 ที่ โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น สื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ร่วมการประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เพื่อติดตาม และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์ :การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย นำเสนอกระบวนการติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช.ที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์ การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรม กดถอย โดย ผศ. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ และคณะที่ปรึกษา จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
โครงการติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช.ที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์:การแก้ปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช.โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเด็น นำสัมภาษณ์ อาทิผู้เล่น(player)ในตลาดทีวีดิจิตอล เช่นประเด็นเรื่องต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆเช่นค่าสัมปทาน ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม ,เนื้อหา Content แต่ละช่องสถานีมีการเตรียมการในด้านเนื้อหาอย่างไร รายได้ ความสอดคล้องของรายได้กับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการช่องสถานีและทางรอดในสถานการณ์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ช่องสถานีมีการปรับตัวอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเช่นการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีott เป็นต้น และข้อเสนอเรียกร้องต่อ กสทช. ข้อเสนอเรียกร้องที่เร่งด่วนการเยียวยาช่วยเหลือ
วัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินงานติดตามตรวจสอบและประเมินผลตามนโยบายสำนักงานกสทช.ที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย ตลอดจนเพื่อรวบรวมวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานรวมทั้งจัดทำรายการการติดตามตรวจสอบและประเมินผลตามนโยบายของสำนักงาน กสทช.ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อนำผลการตรวจสอบติดตามและประเมินผลให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับได้รายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบายคสชที่สำคัญในด้านกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย อีกทั้งได้ผลการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล ให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้องค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป.