วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

“มทร.อีสาน” จับมือ บพท. หนุนชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลุย 6 จังหวัดอีสาน

“มทร.อีสาน” จับมือ บพท. หนุนชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลุย 6 จังหวัดอีสาน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“มทร.อีสาน” จับมือ บพท. หนุนชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลุย 6 จังหวัดอีสาน


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในโครงการวิจัย ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2564 กรอบเวลาดำเนินการ 16 พ.ค.2564-15 พ.ค.2565


    เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  ผศ.ดร.อเนก เจริญภักดี  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มทร.อีสาน นำคณาจารย์นักวิจัยลงพื้นที่ชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อต้อนรับคณะกรรมการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) ประกอบไปด้วยอาจารย์สุปราณี จงดีไพศาล ศาสตราจารย์ ดร.ตรีทศ เหล่าศิริหงส์ทอง อาจารย์จิริกา นุตาลัย ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการวิจัยภายใต้แผนงานริเริ่ม สำคัญ(Flagship) ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุดโครงการวิจัย การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและต้นแบบแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้และนวัตกรชุมชน เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่เป้าหมายเชื่อมโยงพื้นที่ 6 จังหวัด (จ.ขอนแก่น สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา และจ.มหาสารคาม) รวมทั้งสิ้น 11 อำเภอ 12 ตำบล ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การทำงานร่วมกันของเครือข่ายนักวิจัยมทร.อีสาน ที่มีวิทยาเขตกระจายครอบคลุมพื้นที่ ประเด็นที่มุ่งเน้นได้แก่ การวิจัยโครงการประกอบด้วย ข้าว ผัก ถั่วตัด และมะม่วง เพื่อแก้ปัญหาทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของห่วงโซ่ข้าว วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และสามารถนำนวัตกรรมมาสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถเชื่อมโยงแผนพัฒนาได้ทุกระดับทุกมิติ


   โดยมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมลงชุมชนเป้าหมาย เลือนวัตกรรมที่เหมาะสมแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น สร้างพื้นที่เรียนรู้ มีกิจกรรมเป้าหมาย ผ่านการถ่ายทอดจากวิทยากรอย่างมีกระบวนการ การคัดเลือกชาวบ้านเข้าร่วมโครงการตามคุณสมบัติที่มีความเหมาะสม การสร้างนักนวัตกร และสำหรับกิจกรรมในวันนี้ นักวิจัยสามารถนำผลการวิจัยดำเนินงาน 9 เดือนที่ผ่านมา ได้นวัตกรรมทั้งเชิงกระบวนการผลิตภัณฑ์และบริการ 31 นวัตกรรม และนวัตกรระดับที่ 3 -5 จำนวน 25 ราย ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการฯ  28 ภาคี เพื่อให้คณะกรรมการได้ตรวจติดตามผลการดำเนินงานต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads