วันอาทิตย์ 5 พฤษภาคม 2024

“จุรินทร์” มอบนโยบายอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทั่วประเทศสนับสนุนภารกิจ กฟก. เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร

“จุรินทร์” มอบนโยบายอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทั่วประเทศสนับสนุนภารกิจ กฟก. เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“จุรินทร์” มอบนโยบายอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทั่วประเทศสนับสนุนภารกิจ กฟก. เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการ กฟก. เป็นประธานเปิดการอบรมและมอบนโยบายการทำงานให้แก่อนุกรรมการฯ จังหวัด ทั่วประเทศกว่า 1,400 คน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ที่อนุกรรมการทุกท่านได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์การทำงานในระดับจังหวัด

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 14 ธันวาคม 2565 ที่ โรงแรมริชมอนด์ แกรนด์ จังหวัดนนทบุรี รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด โดยมีนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก.กล่าวรายการงานการจัดงาน ตลอดจน นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการ กฟก. คณะกรรมการบริหาร กฟก. คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ผู้แทนเกษตรกร คณะอนุกรรมการ กฟก. จากทั่วประเทศพร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน กฟก. หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด พนักงาน ลูกจ้าง และเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมโครงการกว่า 1,400 คน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

นายจุรินทร์ กล่าวว่า กองทุนฯ ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรเรื่องหนี้สิน และสนับสนุนให้เกษตรกรมีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตนในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯได้ผลักดันนโยบายให้ กฟก. แก้ไขปัญหาให้เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งผลักดันแก้ไขกฎหมายกองทุนฯ จนได้รับการแก้ไขเป็นครั้งที่ 3 สามารถปลดล็อกให้มีการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้บุคคลค้ำประกันได้ในวงกว้าง เกษตรกรที่เป็นหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงินแล้วไม่สามารถใช้หนี้ได้ ต้องถูกยึดที่ดินทำกิน รัฐบาลมีความห่วงใยเรื่องนี้มาก จึงให้กองทุนฯ เข้ามาดูแล ขณะนี้เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้จากกองทุนฯ กว่า 32,000 คน สามารถใช้หนี้คืนแบบไม่มีดอกเบี้ย เมื่อใช้หนี้หมด ก็ได้รับที่ดินทำกินคืน เป็นหนทางการปลดหนี้

นอกจากนี้ ได้มอบนโยบายสนับสนุนงบประมาณเพื่อการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ โดยในปี 2565 ได้ผลักดันทางนโยบายให้ กฟก. ได้รับงบประมาณงบกลางจำนวน 2,000 ล้านบาท และในปี 2566 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีอีก 500 ล้านบาท คาดว่าจะไม่เพียงพอ ต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร คงต้องเสนอรัฐบาลขอ งบกลางปี 66 อีกครั้ง ซึ่งภารกิจทั้งหมดนี้ เป็นงานในระดับพื้นที่ ที่ได้มอบนโยบายให้อนุกรรมการฯ จังหวัด ลงพื้นที่ไปดูแลเกษตรกรสมาชิกร่วมกับ สนง.สาขาจังหวัด ให้เกษตรกรได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ด้าน นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงาน กฟก. เปิดเผยว่า จากภายหลังที่ กฟก. ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ กฟก. จังหวัดครบทั้ง 77 จังหวัด เพื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นกลไกในการดำเนินงานระดับพื้นที่ มีองค์ประกอบจำนวน 17 คน ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเกษตรกร จำนวน 8 คนผู้แทนภาคราชการและผู้แทนภาคเอกชน จำนวน 8 คน หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้แต่งตั้งในส่วนผู้แทนองค์กรเกษตรกร ผู้แทนภาคราชการและผู้แทนภาคเอกชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราว 2 ปี นับจากวันที่แต่งตั้ง การจัดอบรมในครั้งนี้จึงมีเป้าเหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของอนุกรรมการจังหวัดตามระเบียบ ประกาศ คำสั่งที่กำหนดไว้ และสร้างความเข้าใจในนโยบาย แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เกิดการประสานงานกับระดับนโยบายและระดับผู้ปฏิบัติงานของสาขาจังหวัดได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเข้าใจหลักการกระจายอำนาจตามระเบียบที่กำหนดไว้ด้วย

ในวันนี้ได้รับเกียรติจากท่านรองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานกรรมการ กฟก. เป็นประธานเปิดการอบรมและมอบนโยบายการทำงานให้แก่อนุกรรมการฯ จังหวัด ทั่วประเทศกว่า 1,400 คน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่อนุกรรมการทุกท่านได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์การทำงานในระดับจังหวัด ร่วมกันสะท้อนปัญหา และแนวนโยบายที่จะขับเคลื่อนให้ กฟก. เดินไปสู่เป้าหมายในปี 2566 นี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเนื้อหาที่สำคัญของการอบรมจะมีการจัดทำแผนงานและเป้าหมายการดำเนินงาน การสนับสนุนงานตามภารกิจ 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารสำนักงาน การฟื้นฟูอาชีพ และการจัดการหนี้ให้เกษตรกร เปิดโอกาสให้มีการระดมความคิดเห็นผ่านการเสวนากลุ่มย่อย และนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหนี้และการฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกร การสะท้อนปัญหาจากระดับพื้นที่ไปสู่ระดับบริหาร ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและนำเสนอวิธีการบริหารจัดการ เพื่อให้เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่เกษตรกรสมาชิก.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads