วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

“สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ม.ขอนแก่น”เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16

“สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ม.ขอนแก่น”เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ม.ขอนแก่น”เปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และ มูลนิธิพุทธรักษา ร่วมจัดการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 (The 16th National Open Class) ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2566

  เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 18 มีนาคม 2566  ที่ชั้น 2 ห้องประชุม 2201สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 16” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ,รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ผู้บริหาร ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อมลวรรณ  วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ,  Mr. Masahiro Oji (หน่วยงานจากญี่ปุ่น ),ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครู ,คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมในการเปิด ตลอดจน ขึ้นปาฐกถา และร่วมรับฟัง


  ท่านทูตสุรพล เพชรวรา

ท่านทูตสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในฐานะอุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้มาเป็นประธานในพิธีเปิด “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 16” ในวันนี้จากคำกล่าวรายงานของท่านรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาท สำคัญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ในการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ที่เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ” Lesson Study and Open Approach ” จนกลายเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา ที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จนกระทั่งสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งชาติ (NITS) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบนวัตกรรมมาเข้าร่วมงาน พร้อมๆ กับหน่วยงานหลักทางการศึกษาของประเทศ ทั้ง คุรุสภา และ สคบศ. ได้ร่วมในการขยายผลการใช้นวัตกรรมทั่วประเทศ


   ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ได้ทราบว่านวัตกรรม TLSOA (Thailand Lesson Study incorporated Open Approach เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในชั้นเรียน และมีเครื่องมือที่สำคัญคือ “การเปิดชั้นเรียน (Open Class)” ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกว่า ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กิจกรรมแต่เป็น แนวคิดเชิงนวัตกรรมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน (Learning together) ในชั้นเรียนสด (Live Clasroom) กล่าวคือ นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน ครู เรียนรู้ร่วมกันที่จะเข้าใจนักเรียน ผ่านการร่วมมือกันแก้ปัญหา เป็นต้น


   การที่กิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ดำเนินการมากว่า 15 ปี จนถึงครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 16ดำเนินการมาทั้งในรูปแบบ On-site อย่างเดียว รูปแบบ Online อย่างเดียว จนกระทั่งเป็น Hybrid ที่มีคนเข้า ร่วมกว่า 1000 คน ทั้งในและต่างประเทศ ในปีนี้ จึงแสดงถึงความยั่งยืนของกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
  ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนาม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำกับดูแลสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู สำหรับอาเซียน ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 (The 16″ National Open Class)” ในครั้งนี้ตามที่ทุกท่านรับทราบแล้วว่า การเปิดชั้นเรียนระดับซาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ผ่านระบ ออนไลน์:www.openclassthailand.com และ on-site ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นับเป็นการขับเคลื่อนโครงการ หรือกิจกรรม บริการวิชาการในหลายหลายรูปแบบที่คำนึงถึงการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัสในยุคปัจจุบันซึ่งชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และมุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนควบคู่กับการพัฒนาครู โดยการพัฒนา Platform ต่าง ๆ ในการสนับสนุน การเรียนรู้แบบออนไลน์ และรูปแบบอื่นๆโดยใช้ Disruptive technologies


    ทั้งนี้ จากที่ท่านรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้กล่าวรายงานไปแล้วว่า
การเปิดชั้นเรียนระดับชาติในครั้งนี้ จะเป็นเวทีให้ผู้เข้ามาร่วมได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์
ประสบการณ์ร่วมกัน เกี่ยวกับ กระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัตกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจ มาตลอด 16 ปี ซึ่งนับเป็นเป็นแนวคิดใหม่ที่ส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาวิธีการสอนด้วยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
     ส่วนรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวต้อนรับว่า ในฐานะที่เป็นผู้อนุมัติให้เกิดกลุ่มวิจัยด้านคณิตศาสตรศึกษาเมื่อปี 2546 และจัดตั้งศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาในปี 2547 ยกระดับขึ้นเป็นคลัสเตอร์วิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระหว่างปี 2553 – 2556 และจัดสรรงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างปี 2557 – 2561พร้อมทั้งเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อจัดตั้งเป็น สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนในปี 2557 รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นทั้งการเจริญเติบโตและก้าวหน้าของสถาบันฯ จากความพยายามในการใช้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม Lesson study และ Open Approach อย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นโมเดลเชิงนวัดกรรมของประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูแบบใหม่แล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ


    ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผมเองได้ร่วมเดินทางกับอาจารย์ไมตรี หลายพื้นที่ทั้งในประเทศและประเทศญี่ปุ่น ประเทศต้นแบบนวัตกรรมดังกล่าว ได้เห็นการเปิดชั้นเรียนในประเทศญี่ปุ่นหลายครั้งและฝันอยากเห็นเกิดขึ้นในประเทศ นอกจากการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังสนับสนุนการแชร์ประสบการณ์ใน APECS Lesson Study พยายามเสนอแนวคิดในกรรมาธิการการศึกษาของสภานิติบัญญัติ จนกระทั่งวันนี้ ฝันที่ผมอยากเห็นก็เป็นจริง การเปิดชั้นเรียน 9 ชั้นเรียนในทุกวิชา เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมีพยาน มาจาก NITS สถาบันพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาแห่งชาติของญี่ปุ่น คุรุสภา และสคบศ.
ขอต้อนรับทุกท่านพร้อมแสดงความยินดีกับประเทศไทย ที่ในที่สุดการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่พยายามกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2542 ก็มีความยั่งยืน หลักฐานจากการเปิดชั้นเรียนครั้งที่ 16 ในครั้งนี้ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการเรียนรู้ร่วมกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
   สุดท้าย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเชียน กล่าวรายงานว่าในนาม รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิซาการ และ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องขอขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงที่กรุณาสละเวลามาเป็นประธานในการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 ในวันนี้และขอขอบคุณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ท่านอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทศโนโลยีราชมงคลล้านนา ท่านเลขาธิการและรองเลขาธิการจากคุรุสภา ท่านผู้อำนวยการ สคบศ. Mr. Masahiro Ooji and the team จากสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแห่งชาติ (NITS) จากประเทศญี่ปุ่น ที่ให้เกียรติมาเข้าร่วมในพีธีเปิดและกิจกรรมในครั้งนี้การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2566 ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) โดยความร่วมมือระหว่าง1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู
สำหรับอาเซียน, ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา
2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์สมาคมคณิตศาสตรศึกษามูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด มูลนิธิพุทธรักษา
6. และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากิจกรรม National Open Class เป็นกิจกรรมประจำปีที่ดำเนินการมาเป็นปีที่ 16 แล้ว โดยคำว่าOpen Class ในภาษาไทยใช้คำว่า “เปิดชั้นเรียน” ถือเป็นแนวคิดเชิงนวัตกรรมในเชิงกระบวนการของการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัดกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มทางการศึกษาเครือข่ายเศรษฐกิจ มาตลอด 16 ปี


การเปิดชั้นเรียน ไม่ใช่เทคนิคเป็นการบริหาร
  การเปิดชั้นเรียน-ไม่ใช่เทคนิคหรือวิธีการสอนที่แค่รูผู้สอนขับเคลื่อมชั้นเรียนเองแค่เพียงผู้เดียว แค่สาระวิชาหรือระดับชั้นอื่นศึกษานิเทศก์ หรือใครก็ได้ที่มีทัศนคติที่จะร่วมกันยกระดับคุณภาพชั้นเรียน ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อทำความเข้าใจความชับซ้อนของชั้นเรียนและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียน เพื่อที่จะเข้าใจนักเรียนมากขึ้น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads