วันเสาร์ 4 พฤษภาคม 2024

การท่าเรือแห่งประเทศไทย ปักหมุด Dry Port ขอนแก่น หวังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค

การท่าเรือแห่งประเทศไทย ปักหมุด Dry Port ขอนแก่น หวังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

การท่าเรือแห่งประเทศไทย ปักหมุด Dry Port ขอนแก่น หวังเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค


สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษา ได้รับจ้างจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมของการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่บ้านโนนพยอม ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และศึกษาความเป็นไปได้ในรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม


เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ ห้องรับรองขวัญเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น  ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้รับหน้าที่ผู้จัดการโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ,ผศ.ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ,นายทรงศักดิ์ ทองไทย ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น (ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง)ในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการ เข้าเยี่ยมคารวะเพื่อหารือข้อราชการกับ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประเด็นสำคัญขึ้นหารือ อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) โดยมี นายชินกร แก่นคง นายอำเภอน้ำพอง และ ที่ปรึกษาโครงการฯร่วมปรึกษาหารือ

ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา
ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้รับหน้าที่ผู้จัดการโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เปิดเผยว่าสถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษา ได้รับจ้างจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมของการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่บ้านโนนพยอม ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับการท่าเรือฯ ในการพัฒนาท่าเรือบกในพื้นที่โครงการ โดย ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา รับหน้าที่ผู้จัดการโครงการ ได้ให้ข้อมูลว่า “การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้ทาง มทร.อีสาน รับงานนี้ เนื่องจากความพร้อมด้านยุทธศาสตร์ระบบรางของเรา


ผศ.ดร.บุญญาพร กล่าวอีกว่าโดยมีการจัดตั้ง สถาบันเครือข่ายโลจิสติกส์และการขนส่ง (Institute of Collaborative Logistics and Transportation) ขึ้นเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และพัฒนาระบบขนส่งทางราง นอกจากนั้นยังมีการเรียนการสอนผลิตกำลังคนด้านระบบราง ที่ผ่านการรับรองจากสภาวิศวกร (กว.) อาทิ หลักสูตร ซ่อมระบบอาณัติสัญญาณ การออกแบบสถานี การจัดการสถานี วิศวกรรมโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมไปถึงการเปิดสอนใน สาขาวิศวกรรมเครื่องกลระบบราง ไฟฟ้าระบบราง และโยธาระบบราง ตั้งแต่ปี 2557 ที่ วข.ขอนแก่น เป็นต้น


ผศ.ดร.บุญญาพร กล่าวด้วยว่าในด้านของทีมทำงานนั้น ประกอบด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน เป็นการบูรณาการผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งสถาบันอุดมศึกษาภายในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และภาคเอกชน  โดยประกอบไปด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญจาก มทร.อีสาน โดยการนำของ รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี พร้อมด้วย  ผศ.นัฐวุฒิ ทิพย์โยธา รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมและพัฒนากิจการมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา, ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญการขนส่ง, ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตขอนแก่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ดร.อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือมวลชนและประชาสัมพันธ์, ผศ.ดร.วรรธนะ ประภาภรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโยธา ผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การขนส่ง ผศ.สุธน คงศักดิ์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม, ผศ.อลงกรณ์ ถนิมกาญจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง, ผศ.ดร.พรทิพย์ รอดพ้น รองผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณฯ ฝ่ายบ่มเพาะวิสาหกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์, นางสาววิรุภกา เสาวกุล นิติกร มทร.อีสาน, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย โดยมี ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณฯ เป็นผู้จัดการโครงการ

รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน
อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการร่วมศึกษาความเป็นไปได้นี้ ประกอบด้วย ผศ.เตือนใจ ดุลย์จินดาชบาพร อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม, ผศ.ดร.จักรพันธ์ สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์, และ ผศ.ดร.พงษ์สุทธิ พื้นแสน อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการลงทุน รวมถึงได้รับความร่วมมือจาก ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน ได้แก่ นางสาวชมภูนุช ยิ้มนิล ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน และการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน
นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากที่ปรึกษาในการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบไปด้วย         
นายทรงศักดิ์  ทองไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาท่าเรือบกในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมด้วย ผศ.ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร   อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมมาเสริมทีม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์  หน่วยงานราชการในพื้นที่ทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และได้ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งภาคเอกชนโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้มานานหลายปี 


ผศ.ดร.บุญญาพร กล่าวเพิ่มเติมว่าทางด้านการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดย นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า “โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เป็นโครงการสำคัญที่บรรจุภายใต้แผนวิสาหกิจปีงบประมาณ 2566-2670 ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักที่ 2 พัฒนาธุรกิจและสินทรัพย์ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพทางการตลาดเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจฯ โดยสอดคล้องกับนโยบายหลักของกระทรวงคมนาคม (คค.) ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบเชื่อมโยงการขนส่งทางบกและทางน้ำอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Transport) และรองรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โดยเน้นว่า Dry Port ขอนแก่น ถ้าเกิดขึ้นจริงจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค ตอนนี้เรารอไม่ได้โครงการนี้ควรเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ไม่อย่างนั้นไทยจะสูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน”


ผศ.ดร.บุญญาพร กล่าวในภาพรวมว่าโครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากท่านพ่อเมืองขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ซึ่งได้ให้ความเห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของเมืองขอนแก่น ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคอยู่แล้ว ถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในการลดต้นทุนค่าขนส่ง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในชุมชนรวมถึงจังหวัดใกล้เคียง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เพื่อรองรับโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงโอกาสที่จังหวัดขอนแก่นจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค เชื่อมโยงหลายประเทศซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีมากๆ และทางจังหวัดก็พร้อมให้การสนับสนุนในทุกมิติ”


ผศ.ดร.บุญญาพร กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงการศึกษาวิจัยนี้ มีระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึง ต้นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งในกระบวนการวิจัยนั้น หลังจากที่ทางวิจัยได้ศึกษาและพัฒนาข้อมูลตามขอบเขตงานที่ทางการท่าเรือกำหนด จะมีการจัดประชุมทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) และการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake Holders) เพื่อให้โครงการมีความพร้อมสามารถไปใช้เป็นแนวทางการในการลงทุนและสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อไป.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads