วันจันทร์ 6 พฤษภาคม 2024

“รพ.ขอนแก่น” เปิดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับเฉพาะทางอากาศ Kick off KKH Sky Doctor

“รพ.ขอนแก่น” เปิดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับเฉพาะทางอากาศ Kick off KKH Sky Doctor
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“รพ.ขอนแก่น” เปิดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับเฉพาะทางอากาศ Kick off KKH Sky Doctor

ขอนแก่นเป็นจังหวัดแรกที่ริเริ่มนำร่องการก่อตั้งระบบการแพทย์ฉุกเฉินหรือ EMS เป็นที่แรกของประเทศไทยโดยเริ่มเมื่อ 30 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันมีการออกปฏิบัติการแพทย์หรือการออก EMS มากที่สุดในประเทศคือปีละ 100,000 ครั้ง


เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ ห้องประชุมจำลองมุ่งการดีชั้น 4 โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  รองศาสตรจารย์นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กล่าวเปิดและมอบนโยบาย ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบายคลิกอินกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2567 โดยมีนายแพทย์วิทยาชาติบัญชาชัยผู้เชี่ยวชาญ ในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันการบาดเจ็บ, นายแพทย์ อภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาสุขจังหวัดขอนแก่น คณะผู้บริหารตลอดจน คณะแพทย์ และบุคลากรพยาบาล ร่วมใน การมอบนโยบาย

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
   นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่าขอขอบพระคุณท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เชิดชัย  ตันติศิรินทร์ เป็นอย่างสูง ที่กรุณาให้เกียรติมาตรวจเยี่ยม และรับฟังผลการดำเนินงานตามนโยบาย Quick Win กระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 ของโรงพยาบาลขอนแก่น พร้อมมอบนโยบาย ในวันนี้ ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศ 13 นโยบาย โดยยึดหลักแก้ปัญหา วางรากฐาน และสร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีนโยบายสำคัญ ปี 2567 คือ “ยกระดับ 30 บาท เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน” โดยมุ่งเน้น 13 ประเด็น รวมถึงให้ความสำคัญสูงสุดในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ทางด้านสาธารณสุข และตั้งเป้าหมาย Quick Win 100 วัน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเชิงประจักษ์ และเป็นประโยชน์กับประชาชน นั้น โรงพยาบาลขอนแก่นจึงได้นำนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติ ดังสรุปผลงานในมัลติมีเดียที่ท่านได้รับชมไปแล้ว


นอกจากการดำเนินงานตามนโยบาย Quick Win แล้ว ยังได้ดำเนินการ The One Project,  KKH Innovative Healthy Package : KIHIP โดยการเชื่อมต่อข้อมูลสิทธิประโยชน์ และการเบิกจ่ายผ่าน Application Paotung ด้วยความร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลขอนแก่น ธนาคารกรุงไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งการตรวจคัดกรองผ่านทาง App เป๋าตังค์ โดยธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1.ประชาชนเข้า app เป๋าตังค์กระเป๋าสุขภาพตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของตนเองตามกลุ่มแล้วเลือกจอง Packageการรับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น 2. โรงพยาบาลจัดชุดการคัดกรองตามPackage และส่งผลตรวจคัดกรองเข้าapp เป๋าตังค์ และ 3. โรงพยาบาลปิดสิทธิ์ app เป๋าตังค์ ส่งข้อมูลให้สปสช. เพื่อจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาล และการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับเฉพาะทางฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ หรือ Sky Doctor ซึ่งโรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับอนุมัติให้เป็นหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับเฉพาะทาง สาขาฉุกเฉินการแพทย์ทางอากาศ KKH Sky Doctor เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 โดยสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียม ทั่วทั้งเขตสุขภาพที่ 7
ซึ่งโรงพยาบาลขอนแก่นมีความพร้อมในทุกมิติ ทั้งด้านความครบถ้วนของบุคลากร ด้านองค์ความรู้  ด้านวิชาการ ด้านการ   สั่งการ หรืออำนวยการทางการแพทย์ และที่สำคัญคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงานร่วมกับศูนย์รับ     แจ้งเหตุและประสานงานการแพทย์ฉุกเฉิน และมีการนำเทคโนโลยีการแพทย์ควบคุมจากระยะไกล หรือ Telemedicine มาใช้ควบคู่ด้วย ซึ่งจะได้เรียนเชิญท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกอบพิธีเปิดในลำดับถัดไป 

รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
   ด้าน รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร หรือพื้นที่ที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่น พบว่าประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะการรับบริการโดยแพทย์เฉพาะทาง ในโอกาสปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัด โครงการพาหมอไปหาประชาชน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการคัดกรองโรคและความเจ็บป่วยที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชาชน จะดำเนินกิจกรรมไปตลอดปี 2567 จำนวน 72 ครั้ง ใน 77 จังหวัด


      รศ.นพ.เชิดชัย กล่าวต่อว่า โครงการนี้จะให้บริการตรวจคัดกรองรักษา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ในพื้นที่ห่างไกลโดยหน่วยแพทย์เฉพาะทางจิตอาสา ให้บริการอย่างน้อย 7 คลินิก ได้แก่ 1.คลินิกคัดกรองมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี 2.คลินิกคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3.คลินิกคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 4.คลินิกคัดกรองมะเร็งเต้านม 5.คลินิกตาในเด็กและผู้สูงอายุ 6.คลินิกทันตกรรม 7.คลินิกกระดูกและข้อ และจัดบริการคลินิกด้านอื่นๆ เพิ่มเติมตามบริบทปัญหาของแต่ละพื้นที่ ซึ่งหากพบอาการผิดปกติจะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads