วันจันทร์ 6 พฤษภาคม 2024

สถาบันชุณหะวัณ มทร.อีสาน จัดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการ Dry Port

สถาบันชุณหะวัณ มทร.อีสาน จัดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการ Dry Port
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สถาบันชุณหะวัณ มทร.อีสาน จัดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการ Dry Port

เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน (Pubtic Hearings) โครงการพัฒนาท่าเรือบก (DRY PORT)ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะโครงการฯ


เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ห้องประชุมมงคลประดู่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน และคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้จัดประชุมสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Hearing) โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นให้เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ โดย ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณ ฯ ผู้จัดการโครงการ กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ได้รับเกียรติจาก นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอน้ำพอง,นายปัญญา ศรีปัญญา นายประสิทธิ์ ทองแท่งไทย รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หน่วยงานราชการในพื้นที่ ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนหอการค้าจังหวัดขอนแก่น ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ผู้แทนชุมชน และเครือข่ายสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม
การประชุมเริ่มด้วยคณะที่ปรึกษาโครงการนำเสนอผลการศึกษา ดังนี้ ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา นำเสนอความเป็นมาของโครงการ ฯ ขอบเขตการดำเนินโครงการ ผศ.สุธน คงศักดิ์ตระกูล (ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม) นำเสนอการศึกษาความเหมาะสมด้านการยภาพ (Size Selection) การออกแบบเบื้องต้นในพื้นที่โครงการ (Preliminary Design) ผศ.ดร.พงษ์สุทธิ์ พื้นแสน (ที่ปรึกษาด้านการเงิน หรือการลงทุน)นำเสนอการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา (ผู้จัดการโครงการ) นำเสนอการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่โครงการ ผศ.ดร.เตือนใจ ดุลจินดาชบาพร (ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม)นำเสนอการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และนายทรงศักดิ์ ทองไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลาง ที่ปรึกษาโครงการ ฯ นำเสนอข้อมูลพื้นที่ดำเนินการ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ดีมากยิ่งขึ้น

ผศ.บุญญาพร ดวงสา
   ผศ.บุญญาพร ดวงสา ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน (Pubtic Hearings) โครงการพัฒนาท่าเรือบก (DRY PORT)ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะโครงการฯ ซึ่งท่าเรือบก (DRY PORT) หมายถึงท่าเรือ ที่มีตู้คอนเทนเนอร์สินค้ามาตั้งไว้บนบกไม่ได้อยู่ติดทะเล เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า ทำหน้าที่คล้ายกับท่าเรือ (ยกเว้นการขนถ่ายสินค้าขึ้น–ลงเรือ) สินค้าส่วนใหญ่จะถูกบรรจุไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ และใช้การขนส่งทางรางเป็นหลัก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟทางคู่ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการสร้างจัดสร้างทั่วประเทศนั่นเอง ดำเนินพิธีการศุลกากร และการตรวจสุขอนามัยตามมาตรฐานเช่นเดียวกับท่าเรือ โดยตู้สินค้าที่ผ่านการตรวจปล่อยจากท่าเรือบกสามารถถ่ายสินค้าลงเรือได้โดยตรงส่งออกสู่ต่างประเทศได้ทันที


ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในรายละเอียดโครงการในการจัดทำร่างรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการของเสีย การตรวจวัดคุณภาพน้ำ อากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน ปริมาณการจราจร ของโครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
ที่มาและความสำคัญ ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าหลักที่สำคัญ มีขีดความสามารถในการ รองรับตู้สินค้าได้ 7.7 ล้าน TEU ต่อปี ตลอดจนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ทั้งนี้ ในปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังประสบกับปัญหาความแออัด การขนส่งสินค้าบริเวณท่าเรือทำให้เสียเวลาในการทำรอบขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งสินค้ามีการเรียกเก็บค่าหัวรถลากเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหานี้กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของประเทศ มีการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือบกในประเทศไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือ ลดปัญหาความแออัดจากการขนส่งบริเวณท่าเรือ พร้อมทั้งรองรับการเติบโตด้านการขนส่งสินค้าที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ผลการศึกษาด้านเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกจังหวัดที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาท่าเรือบก พบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งท่าเรือบกตามหลักเกณฑ์ข้างต้น คือ จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีความเหมะสมในการพัฒนาท่าเรือบก และ Logistics Park มากที่สุด


วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมของการพัฒนาท่าเรือบก(Dry Port) ในพื้นที่ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับ กทท. ในการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่โครงการประกอบด้วยแนวทางที่ 1 : รูปแบบพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (PPP)แนวทางที่ 2 : รูปแบบการลงทุนร่วมกับบริษัทเอกชน (Joint Venture)แนวทางที่ 3 : รูปแบบใช้เงินลงทุนของ กทท.และแนวทางที่ 4 : รูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม
โดยจะมีการนำเสนอผลการศึกษาครั้งสุดท้าย ในวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมมงคลประดู่ ชั้น 3 ตึก 18 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads