วันอาทิตย์ 5 พฤษภาคม 2024

จ.ขอนแก่น บูรณาการ ตรวจสอบ คนต่างด้าว ป้องกันบังคับใช้แรงงาน

จ.ขอนแก่น บูรณาการ ตรวจสอบ คนต่างด้าว ป้องกันบังคับใช้แรงงาน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

จ.ขอนแก่น บูรณาการ ตรวจสอบ คนต่างด้าว ป้องกันบังคับใช้แรงงาน

เจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายและบทกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และแก้ไขเพิ่มเติมฯ พร้อมกำชับการปฏิบัติตนของแรงงานต่างด้าว ขณะอยู่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทย


  เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 พ.อ.สุรพงษ์ ยอดอินทร์ รองผอ.รมน.จังหวัดขอนแก่น มอบหมาย พ.ท.สมรถ คำสิงห์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุน ,นายณชพัฒน์ ไกรศรีวรธนะ เจ้าที่ปฏิบัติการด้านการข่าว กอ.รมน.จังหวัดขอนแก่น ออกตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและคุ้มครองคนหางานบรูณาการตรวจการทำงานของคนต่างด้าวกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับเจ้าหน้าที่ จาก ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองขอนแก่น, สำนักงานแรงงานจังหวัดขอนแก่น, สำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น ,สำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น, กอ.รมน.จังหวัดขอนแก่น, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น, ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.บริษัท จีจี เกฮลอท จำกัด 2.บริษัท เอ็มคิวอินเตอร์สบายรถไฟฟ้า จำกัด และ 3.บริษัท 369 จักรยานไฟฟ้า จำกัด


จากการตรวจสอบเอกสารการขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว และเอกสารหนังสือเดินทาง การตีวีซ่าเพื่อขออยู่ในราชอาญาจักร พบแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา จำนวน 8 ราย ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการแจ้งเข้าเปลี่ยนนายจ้าง ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่จึงได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งเข้าเปลี่ยนนายจ้าง ให้กับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวได้เป็นที่เข้าใจแล้ว รวมตรวจพบแรงงานต่างด้าว รวม ทั้ง 3 แห่ง มีจำนวน 20 คน ได้แก่ สัญชาติอินเดีย จำนวน 5 คน สัญชาติเมียนมา 15 คน และคนไทย จำนวน 10 คน


ผลการตรวจสอบไม่พบการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายและบทกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และแก้ไขเพิ่มเติมฯ พร้อมกำชับการปฏิบัติตนของแรงงานต่างด้าว ขณะอยู่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อบทบาท/หน้าที่ของนายจ้าง/สถานประกอบการในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของแรงงานต่างด้าวตามนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอีกทางหนึ่งด้วย.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads