วันอังคาร 30 เมษายน 2024

มข.เปิดโรงเรือนวิจัยแมลงขจัดขยะอินทรีย์

มข.เปิดโรงเรือนวิจัยแมลงขจัดขยะอินทรีย์
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

มข.เปิดโรงเรือนวิจัยแมลงขจัดขยะอินทรีย์


คณะเกษตรศาสตร์ มข. ร่วม เครือเบทาโกร เปิดโรงเรือนต้นแบบวิจัยและผลิตแมลงอุตสาหกรรม ขจัดขยะอินทรีย์ ครั้งแรกของประเทศ  เพื่อย่อยสลายขยะ พร้อมต่อยอดสร้างนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์


เมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่หมวดแมลงอุตสาหกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข.เป็นประธานเปิด โรงเรือนต้นแบบวิจัยและผลิตแมลงอุตสาหกรรม โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มข. รศ.ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มข.และ ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง หัวหน้าสาขากีฏวิทยาและโรคพืช นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร เครือเบทาโกร และคณะผู้บริหาร มข.ร่วมเปิด

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล
รศ.นพ.ชาญชัย อธิการบดี มข. กล่าวว่าวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  คือ การเป็นองค์กรที่สร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์  ซึ่งโรงเรือนต้นแบบวิจัยและผลิตแมลงอุตสาหกรรม  เป็น โรงเรือนต้นแบบ ทีสอดคล้องกับพันธกิจโดยตรง  เกิดขึ้นโดยข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และ ร่วมลงทุน ระหว่างบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) กองทุนเพื่อสนับสนุนการลงทุนเชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ องค์ความรู้ในการวิจัยแมลงกินขยะอินทรีย์ของ ศ. ดร. ยุพา หาญบุญทรง และคณะผู้วิจัย สาขาวิชากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา ที่ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อยอดการใช้แมลงชนิดนี้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์


    รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่าปัจจุบันมีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลงอย่างแพร่หลาย ซึ่ง โครงการนี้เป็นครั้งแรกในการนำแมลงมาเลี้ยงจริงเป็นล้านตัว  เพื่อใช้ในอุตสหกรรม  ถือเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน  หรือ Circular Economy  แนวทางธุรกิจที่เน้นหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ   สามารถนำไปใช้จริงกับภาคการผลิตอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์   เช่น การใช้หนอนจำนวนมากจากโรงเรือนกินมูลสัตว์ ได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยซึ่งเป็นการควบคุมสิ่งแวดล้อมสะอาดโดยใช้แมลง  ฉะนั้นโครงการนี้  จึงเป็นการพัฒนางานวิจัยที่สามารถสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต

ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง
ศ.ดร. ยุพา หัวหน้าสาขากีฏวิทยาและโรคพืชกล่าวว่าโครงการนี้ เป็นงานจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้ขยายผลจากห้องปฏิบัติการไปสู่การใช้ประโยชน์จริง  โดยการนำแมลงกินขยะอินทรีย์  หรือ Black soldier flyมาเพาะเลี้ยง  เพื่อให้เกิดหนอน และ นำหนอนเหล่านี้ไปกำจัดขยะอินทรีย์  เช่น ขยะที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์   นอกจากนี้ ตัวดักแด้ยังมีคุณค่าอื่นๆร่วมด้วย  เช่น เป็นอาหารสัตว์  ซึ่งมีโปรตีนสูง มีไขมัน  นอกจากนี้กำลังวิจัยว่าสารเคมีบางชนิดในดักแด้ยังสามารถนำไปเป็นยาได้ด้วย


ศ.ดร. ยุพา กล่าวอีกว่า แมลงตัวนี้มีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือน  เป็นแมลงปลอดภัยในธรรมชาติ ไม่นำโรค ไม่เป็นศัตรูพืช   มีหน้าที่กินขยะชีวภาพทุกชนิด  โรงเรือนนี้มีกำลังการผลิตหนอน 3 ล้านตัวต่อเดือน มากพอในการนำไปใช้จริงในฟาร์มต่างๆ  และจะมีการขยายผลสร้างโรงเรือนแบบนี้ทั่วประเทศ เพื่อกำกัดขยะอินทรีย์  ทำให้วงจรการเลี้ยงสัตว์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   นอกจากนี้ยังสามารถนำไปกำจัดขยะอินทรีย์เศษอาหารตามบ้านเรือน  โดยหนอนอายุ 5 วัน จำนวน 1 พันตัว  สามารถกินขยะอินทรีย์ 1 กิโลกรัม ภายใน 2 อาทิตย์ เมื่อหนอนก็จะกินอาหารจะได้ปุ๋ย  หลังจากนั้นหนอนจะกลายเป็นดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัยไปบินสู่ธรรมชาติ  ไม่มีพิษ

นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์
นายวนัส ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การใช้แมลงในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ว่า จากกระบวนการชำแหละสุกร  จะมีเลือดสุกรอยู่ด้วย  บางส่วนนำไปจำหน่าย แต่ บางส่วนที่แตกจะเป็นของเสียกำจัดโดยการฝังกลบ  ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม  แต่ปัจจุบันจะนำเลือดที่แตก ไปเป็นอาหารแมลง  และถ่ายมูลออกมาเป็นปุ๋ยชีวภาพซึ่งขยะก็จะหายไปในที่สุด ในอนาคตอาจจะนำแมลงดังกล่าวไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ผัก เนื้อสัตว์  ในตลาดสด ที่มีขยะอินทรีย์เป็นจำนวนมาก  เป็นอีกแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียโดยไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
     

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads