“นิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น”จัดประชุมระดับนานาชาติ ครบรอบ 19 ปีแห่งการสถาปนา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมวิชาการระดับชาติ “การบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน”เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากนักวิชาการทั่วประเทศกว่า 30 ผลงาน ครอบคลุมหลากหลายศาสตร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 19 ปีแห่งการสถาปนาคณะนิติศาสตร์ ระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ที่ ห้องประชุมทองใบ ทองเปาด์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปิดพื้นที่ทางวิชาการสำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และภาคี เครือข่าย ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 ที่ห้องประชุมทองใบ ทองเปาด์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน กล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้หัวข้อ”การบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน: ความท้าทายด้านกฎหมาย เทคโนโลยี และนวัตกรรม” กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติโดย อาจารย์กัญญารัตน์ โคตรภูเขียว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางกฎหมายและการบริการวิชาการ ในการนี้ในช่วงเช้าได้มีการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ การบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน: ความท้าทายด้านกฎหมาย เทคโนโลยี และนวัตกรรมโดย ผศ.กิตติบดี ใยพูล (คณบดีผู้ก่อตั้งคณะนิติศาสตร์) โดยมี รศ.ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและนวัตวณิชย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณบดีจากมหาวิทยาลัยต่างๆวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษาหลากหลายแห่ง,คณาจารย์ และนักศึกษา ร่วมรับฟัง
ซึ่งวันนี้มีการบรรยายในหัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางกฎหมาย: เครื่องมือขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางสังคมในยุคดิจิทัล”โดยผศ.ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,อาจารย์ ดร.ศุภรา กรดพันธ์ อาจารย์ประจำสาขาดิจิทัล เกม วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งหัวข้อ เทคโนโลยีกับการพัฒนาที่ยังยืน: การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืงยืน (SDGE)ภายใต้กรอบ BCG และ ESGโดย รศ.วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ผศ.ดร. อุดมโชค อาษาวิมลกิจ ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,ศาสตราจารย์ ดร.วนิดา จีนศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ศูนย์บริการวิชาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านหัวข้อ นวัตกรรมทางสังคม กฎหมาย และการก้าวสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน โดย ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรินทร์,ผศ.ดร.ธีทัด ชวิศจินดา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและอาจารย์ประจำคณะนิติศาสศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รศ.ดร.วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงความสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ว่า “การประชุมครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ แต่ยังเป็นพื้นที่สื่อสารเชิงนโยบายที่สำคัญ เพื่อเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และนำไปสู่การออกแบบระบบกฎหมายและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพลวัตของสังคมไทยและโลกในศตรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน”มุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของสังคมไทยในโลกยุคใหม่ที่ ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความเป็นธรรมทางสังคม การพัฒนาที่ยังยืน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในงานมีการนำเสนอผลงานวิชาการจำนวนกว่า 30 ผลงานจากนักวิชาการทั่วประเทศ ครอบหลากหลาย ได้แก่ นิติศาสตร์ ,รัฐศาสตร์ ,บริหารธุรกิจ ,มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ,เศรษฐศาสตร์ ,สิ่งแวดล้อม และวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมสำคัญภายในงาน ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยังยืน: ความท้าทายด้านกฎหมายเทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติบดี ใยพูล ผู้ก่อตั้งและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เวทีเสวนาวิชาการ 4 หัวข้อสำคัญ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษาหลากหลายแห่ง ได้แก่ 1.เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางกฎหมาย: เครื่องมือขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางสังคมในยุคดิจิทัล 2.เทคโนโลยีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน: การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน (SD6s)ภายใต้กรอบ BCG และ ESG 3.นวัตกรรมทางสังคม กฎหมาย และการก้าวสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน 4.การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน. การสร้างระบบนิเวศน์ใหม่สู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
นิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรม จากองค์กรเครือข่าย อาทิ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย, สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยขนแห่งชาติ, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และศูนย์พิสูจน์หลักฐานภาค 4 กิจกรรมพื้นที่ทางปัญญาสำหรับเยาวชน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัยชุมชนระหว่างนักวิจัยและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การประชุมในครั้งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทางวิชาการและองค์กรพันธมิตร ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)สมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
และ International Center for Academic Integrity (ICAl)
ด้าน ผศ.ดร.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้จัดประชุมระดับนานาชาติ ขึ้นในครั้งนี้ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญมาก ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางด้านสังคมที่ยั่งยืน ซึ่งมีทั้งประเด็น ในแง่ของความเหลื่อมล้ำ ในแง่การพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตในหน้าที่กฎหมายต้องปรับตัวอย่างไร การประชุมในครั้งนี้ถือว่า คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เชิญมาไม่ใช่ว่าเป็นนักวิชาการด้านกฎหมาย แต่ก็มีทั้งคณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และทั้งคณะวิศวธรรมศาสตร์ ซึ่งก็คิดว่าสอดคล้องกับหัวข้อในการประชุม ความเป็นไปในอนาคตของกฎหมาย ซึ่งเราไม่สามารถเรียนรู้ด้านกฎหมาย แบบโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป แต่ต้องบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ และตัวกฎหมายเองก็ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม ซึ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ในแง่กฎหมายก็ต้องปรับว่า มีวิธีการอย่างไรที่จะให้กฎหมายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น และได้เร็วขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ และเราต้องไม่รวมไปถึงในอนาคต จะสร้างนวัตกรรมทางสังคมทั้งหลาย ซึ่งอาจต้องมีพื้นที่ในการลองผิดลองถูก เพราะเราไม่รู้เวลาทำขึ้นมาจะส่งผลกระทบอย่างไร เพราะฉะนั้นกฎหมายต้องถูกออกแบบมา ให้มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง เรื่องกฎหมายถึงไม่ได้เป็นเรื่องขาวดำอย่างเดียวเหมือนในอดีต แต่ต้องมีพื้นที่ ให้คนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกนอกกรอบไปบ้างเพื่อให้มีการพัฒนาสร้างสรรค์ ก็หวังว่าการประชุมเชิงวิชาการในวันนี้ในการรวบรวมหลากหลายสาขาวิชาจะประสบผลสำเร็จด้วยดี ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านวงการวิชาการทางกฎหมายและศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนากฎหมายแบบที่ บูรณาการและแบบอื่นๆ ไปด้วยไม่ใช่ว่าพัฒนาด้านกฎหมายเชิงเดี่ยวหรือเป็นการเรียนกฎหมายแบบโดดเดี่ยวอีกต่อไป.