วันพฤหัส, 5 ธันวาคม, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
เปิดมุมมองนักคิด นักปฏิบัติ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และร่วมหาทางออกกับสถานการณ์สังคมสูงวัย มิติ ‘เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคมและสุขภาพ’ ในเวทีสานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัย ไปด้วยกัน

เปิดมุมมองนักคิด นักปฏิบัติ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และร่วมหาทางออกกับสถานการณ์สังคมสูงวัย มิติ ‘เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคมและสุขภาพ’ ในเวทีสานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัย ไปด้วยกัน

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

เปิดมุมมองนักคิด นักปฏิบัติ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และร่วมหาทางออกกับสถานการณ์สังคมสูงวัย มิติ ‘เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคมและสุขภาพ’ ในเวทีสานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัย ไปด้วยกัน

​การประชุมวิชาการ (Mini-symposium) สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัย ไปด้วยกัน (Smart Aging Society : Together, We can) จัดขึ้นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานีเมื่อเร็วๆ นี้ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับมูลนิธิสานพลังเพื่อแผ่นดิน (มสผ.) และองค์กรเจ้าภาพอีก 10 องค์กร ได้แก่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการผู้สูงอายุ, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2567 มีผู้เข้าร่วมกว่าประมาณ 200 คน จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และนักวิชาการ โดยมีนักคิดคนสำคัญร่วมปาฐกถา พบเรื่อง “สังคมสูงวัย” ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง มีแต่การดูแลสวัสดิการ สงเคราะห์ และช่วยเหลือผู้สูงอายุ และคาดผลิตแรงงานไม่ทันกับความต้องการ รวมไปถึงระบบโครงสร้างต่างๆ ยังไม่รองรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก เด็กเกิดน้อย แรงงานลดลง พร้อมนำเสนอกรณีทางออก 14 กรณีตัวอย่างขับเคลื่อนสังคมสูงวัยนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานการประชุมกล่าวเปิดงานว่า มุมมองของคนไทยต่อ “สังคมสูงวัย” ยังค่อนข้างแคบ หลายคนยังมองว่าสังคมสูงวัยเป็นเรื่องของ “ผู้สูงอายุ” เท่านั้น โดยเน้นไปที่ความจำเป็นในการดูแลสุขภาพ หรือการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัย แต่ในความเป็นจริง สังคมสูงวัยคือเรื่องของ “ทุกคน” และทุกช่วงวัยในสังคม พร้อมเสนอข้อคิดมุมมองเพื่อการเตรียมรับมือสังคมสูงวัยไว้ 5 ประการ คือ (1) รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ว่าผู้สูงอายุ คือพลัง ไม่ใช่ภาระของสังคม ผู้สูงวัยมีศักยภาพที่จะเป็น “ครูชีวิต” ที่ดีได้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่จำกัดเฉพาะช่วงวัยใดวัยหนึ่ง แต่เป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรมี เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงรอบตัว (2) ให้มีกลไกสานพลังแนวราบ เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน ให้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนงานในลักษณะการนำหมู่ (Collective Leaderships) (3) ปรับสภาพแวดล้อมทั้งในเชิงพื้นที่และกลไกให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ร่วมกันของผู้สูงอายุและคนทุกวัย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย (4) ใช้วัฒนธรรม “สังคมเกื้อกูล” เป็นธงนำ ใช้รูปแบบวัฒนธรรมของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และ (5) ขยายผลนวัตกรรมและรูปธรรมความสำเร็จไปสู่วงกว้าง อย่างการปรับตัวของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และประชาชน


“การที่ 12 องค์กรร่วมกันสานพลังทำงานนี้บนแนวคิด “สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัย ไปด้วยกัน ผมคิดว่าเป็นการเดินในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง และมองว่าการเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นโอกาสที่เราจะร่วมมือกันสร้างสรรค์สังคมที่เป็นสุข สังคมที่เกื้อกูลกัน สามารถเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน มุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพของตนเอง และส่งเสริมการใช้ศักยภาพของผู้สูงวัยอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด” นายแพทย์วิจารณ์ กล่าว


ด้านนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่าการขับเคลื่อนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นภารกิจที่ใหญ่และสำคัญ มีทั้งโอกาสและความท้าทายมากมาย ไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพังโดยกลไกภาครัฐเท่านั้น จำเป็นต้องมีการสานพลังทั้งสังคม เพื่อการขับเคลื่อนร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเกิด “ความรับผิดชอบร่วมและการขับเคลื่อน ซึ่งการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการสานพลังองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูงวัย พัฒนาวิชาการและองค์ความรู้จากประสบการณ์ขององค์กรภาคีเครือข่าย และสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายนำไปสู่ขับเคลื่อนรองรับสังคมสูงวัยทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่


รศ.ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ทรงคุณวุฒิและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สังคมสูงวัย…จุดเปลี่ยนสู่ศักยภาพใหม่ของสังคมไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า” โดยกล่าวว่า หากปล่อยปัญหาเรื่องสังคมสูงวัยไปไม่มีการดำเนินการใดๆ และยังคงให้มีปัญหาผลกระทบในอีกสิบปีข้างหน้าจะหนักขึ้นไปเรื่อยๆ เช่น ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการแก้ไขปัญหาเด็กเกิดใหม่และความพร้อมของครอบครัวที่มีคุณภาพอาจลดน้อยลง ผู้สูงวัยไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้จึงเป็นภาระของวัยคนทำงาน ไม่มีเงินออม คนจน ความเหลื่อมล้ำ อาชญากรรมจะมีมากขึ้น รัฐเก็บภาษีอากรได้น้อยลงเพราะคนทำงานมีน้อยลง ขณะที่หนี้สาธารณะมีมากขึ้น สวัสดิการมีไม่เพียงพอ ยังไม่สามารถพึ่งพาเทคโนโลยีได้แม้มีหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุแต่ก็ไม่อาจฝากขีวิตได้ มองว่าทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ไขปัญหาเดี๋ยวนี้ ช่วยกันปลุกเตือนให้ทุกคนได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนประเทศไทยด้วยการสานพลัง มีระบบช่วยดูแลผู้สูงอายุ มีการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อกับผู้สูงวัย รัฐบาลส่วนกลางต้องรับผิดชอบและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ คิดและทำให้ประชากรแก่ให้ช้า โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและมีสุขภาพดียาวนานที่สุด ให้ระยะเวลาการเจ็บป่วยเกิดสั้นที่สุด พึ่งพาตัวเองให้ยาวที่สุด เสริมทัศนคติให้ระยะเวลาการทำงานให้ยาวขึ้น มีการออมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพราะออมเมื่อสูงอายุแล้วจะไม่ทัน
และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ปาฐกถาก่อนปิดการประชุม ในหัวข้อ “ต่อยอดจุดแข็งประเทศไทย ไปสู่ Smart Aging Society ” กล่าวว่า สถานการณ์โครงสร้างประชากรทั่วโลกที่ลดน้อยลง ฐานปิรามิดประชากรใน 100 ปีข้างหน้า จะผอมลงมาก และสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ทำให้คนไม่กล้ามีลูก ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ทางการเมืองในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาไม่มีเสถียรภาพ จึงไม่มีสมาธิที่จะเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประชากรที่ลดน้อยลง สภาพโลกร้อน รวมถึงนโยบายรับคนเข้าเมือง ที่น่าจะมีได้เลือกคนที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลกมาช่วยพัฒนาบ้านเมือง เพราะเราไม่มีทางผลิตประชากรเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันอย่างแน่นอนในเวลาอันใกล้นี้
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมการบริหารโครงการสานพลังพัฒนาโยบายรองรับสังคมสูงวัย เพื่อสุขภาวะองค์รวม พ.ศ. 2568 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวปิดเวทีว่า การขับเคลื่อนสังคมสูงวัยต้องมีการปรับความคิดว่าไม่ใช่เรื่องผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้อง เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องช่วยกันขยับทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อสร้างสังคมที่ Smart และเชื่อมั่นว่าพวกเราทำได้ เวทีที่จัดขึ้นเป็นเพียง 1 กิจกรรมในความพยายามที่ต้องทำต่อเนื่อง เหมือนการวิ่งมาราธอน เพื่อร่วมกันสร้างความรู้และปัญญาจากงานที่จัด โดยจะมีการสรุปประมวลเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ข้อเสนอไปสู่การพัฒนาปฏิบัติ บางเรื่องอาจต้องมีการศึกษาวิจัยต่อ จากเวทีในครั้งนี้ มีหลายหน่วยงานที่มาได้รู้จักว่าที่ไหน ทำอะไร นอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังประสานเพื่อทำงานร่วมกันต่อไปอีกด้วย.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD