เริ่มแล้ว!เทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6
การจัดเทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ที่ประเทศไทยเป็นการนำประสบการณ์การเรียนคณิตศาสตร์ ในแง่มุมอีกด้านที่เป็นศิลปะที่สวยงาม มาพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบของ Mathematics Festival ที่เคยจัด ณ กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย เป็นประจำต่อเนื่องมากกว่า 40 ปี และ 5 ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการจัดเทศกาลคณิตศาสตร์(The Mathematics Festival) ที่ประเทศไทยเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 ธันวาคม 2567 ที่ ชั้น 2 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น H.E. Evgeny Tomikhin(ฯพณฯ เยฟกินี โทมิคิน) เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย, รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา นักวิจัยที่มีสมรรถนะสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น , Prof.Ivan Vysotskly ผู้เชี่ยวชาญจาก Moscow Center for
Continuous Mathematical Education , ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา และ ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Senior Researcher at Network Center for Animal Breeding and Omics Research) และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา(Former Vice President for Research and Graduate Studies) ร่วมแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา สมาคมคณิตศาสตร์ศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน และ Moscow Center for Continuous Mathernatical Education โดยมี Mr. Vladimir Kim ,ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ,ผศ.ปิยศักดิ์ ปักโคทานัง ,ผศ.เขม เคนโคก ,อ.ดร.นิศากร บุญเสนา ,อ.ดร.ชนิกา เสนาวงค์ษา ,อ.ดร.จิตรลดา ใจกล้า ,อ.อรรค อินทร์ประสิทธิ์ ,รศ.เอื้อจิตร พัฒนจักร
,นางสาวอัจฉรา อินทร์ประสิทธิ์ (นศ.ทุนรัฐบาลรัสเชีย) ตลอดจนนักเรียน เข้าร่วมงาน
ฯพณฯเยฟกินี โทมิคิน
ฯพณฯเยฟกินี โทมิคิน เอกอัครทูตรัสเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาการด้านการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของรัสเซียมีความแข็งแกร่ง และเราก็พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ต่าง ๆ ให้กับเพื่อนชาวไทยของเรา และรู้สึกยินดีที่ฝ่ายรัสเซียได้ให้การส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ในประเทศไทยด้วยวิธีการนี้และหวังว่าเราจะมีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคต รวมถึงปีนี้ได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คนแรกได้ทุนไปศึกษาต่อที่รัสเซีย ขอแสดงความยินดีด้วย และขอแสดงความยินดีกับทุกท่านเนื่องในโอกาสการจัดงานเทศกาลคณิตศาสตร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6
” ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย เข้ามามีส่วนร่วมและถือเป็นเรื่องที่ดีในการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี
ระหว่างสองประเทศ เราทราบกันดีว่าคณิตศาสตร์เป็นเสมือนราชินีแห่งวิทยาศาสตร์ทั้งปวง อาจจะเป็นเรื่องยากในการประเมินคุณค่าและความสำคัญในชีวิตมนุษย์เรา ว่าศาสตร์นี้ได้ส่งผลต่อความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติมากแค่ไหน การสร้างอารยธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดซึ่งความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบนพื้นฐานความรู้ของกฎธรรมชาติที่มีอยู่ และแสดงออกมาได้ในรูปแบบของภาษาสากลในคณิตศาสตร์พัฒนาการด้านการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของรัสเซียนั้นมีความแข็งแกร่ง และเราก็พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ต่าง ๆ ให้กับเพื่อนชาวไทยของเรา”
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ นายกสมาคมคณิตศาสตรศึกษา นักวิจัยที่มีสมรรถนะสูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และ Moscow Center for Continuous Mathematical Education จัดเทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 ขึ้น
โดยที่มาจากความร่วมมือในโครงการ APEC – Lesson Study Project ที่มีผู้แทนจากประเทศรัสเซียเข้าร่วมโครงการนี้ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา จากที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันว่าการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนไทยหรือทั่วโลก เป็นรู้กันว่า เด็กเรียนด้วยความขมขื่น ไม่ชอบ เน้นหาคำตอบ แต่การเรียนคณิตศาสตร์ ของรัสเซียต้องการให้นักเรียนได้สัมผัสความสวยงาม หรือศิลปะของคณิตศาสตร์ เรียนอย่างมีความสุข เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ จึงใช้คำว่า Festival หรือเทศกาลคณิตศาสตร์ ให้เห็นว่ามีหลายด้าน หลายมุม ที่ไม่น่าเบื่อ โดยงานนี้จะเอาแง่มุมต่างๆของคณิตศาสตร์ มานำเสนอให้กับนักเรียน
ซึ่งการจัดเทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ที่ประเทศไทยเป็นการนำประสบการณ์การเรียนคณิตศาสตร์ ในแง่มุมอีกด้านที่เป็นศิลปะที่สวยงาม มาพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบของ Mathematics
Festival ที่เคยจัด ณ กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย เป็นประจำต่อเนื่องมากกว่า 40 ปี และ 5 ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการจัดเทศกาลคณิตศาสตร์(The Mathematics Festival) ที่ประเทศไทยเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี
โดยจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านทางรูปแบบ Online ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 และครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ในรูปแบบ hybrid ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับเทศกาลคณิตศาสตร์(The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 นี้ ได้จัดขึ้น ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ 1. การร่วมมือกันแก้ปัญหา Math Feast Olympiad (MFO) โดยชุดปัญหาที่ได้รับการออกแบบ และพัฒนาโดย Moscow Center for Continuous Mathematical Education สาธารณรัฐรัสเซีย และร่วมกันสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับ
อาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด ในการแปลเป็นภาษาไทย 2. กิจกรรมฐานเกมทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาทักษะการคิดต่างๆ เช่น CriticalThinking, Creative Thinking, Design Thinking ผ่านสถานีเกมคณิตศาสตร์ 4 ฐาน ได้แก่ สามเหลี่ยมหัศจรรย์, GENMATH อัจฉริยะพันธุ์จิ๋ว, Bulls and Cows และ Pentomino3. การบรรยายพิเศษ โดย Assoc.Prof. Ivan Vysotskiy ผู้เชี่ยวชาญ จาก Moscow Center for Continuous Mathematical Education และ 4. การนำเสนอแนวคิดของนักเรียนที่ร่วมกีนแก้ปัญหา MFO รวมทั้งแจ้งผลคะแนนของนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และแขกผู้มีเกียรติ จำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 196 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 134 คน คณะครูผู้ปกครองที่นำนักเรียนมาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 63 คน สตาฟผู้จัดกิจกรรมโดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 153 คน ผู้เข้าร่วมรวม จำนวนทั้งสิ้น 561 คน
Prof.Ivan Vysotskly
ส่วน Prof.Ivan Vysotskly ผู้เชี่ยวชาญจาก Moscow Center for Continuous Mathematical Education กล่าวว่า ตนรู้สึกยินดีที่ฝ่ายรัสเซียได้ให้การส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ในประเทศไทยด้วยวิธีการนี้และหวังว่าเราจะมีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคตขออวยพรให้ทุกท่านโชคดีและขอให้งานเทศกาลกาลคณิตศาสตร์ครั้งนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่
ทางด้าน ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับหน้าที่เป็นประธานในพิธีเปิดเทศกาลคณิตศาสตร์(The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 จากคำกล่าวรายงาน ตนรู้สึกยินดีที่ได้รับหน้าที่มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมในครั้งนี้โดยเทศกาลคณิตศาสตร์(The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่
6 มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้สัมผัสความสวยงาม หรือศิลปะของคณิตศาสตร์ เรียน
อย่างมีความสุข นักศึกษาได้สร้างประสบการณ์การจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและการร่วมมือกันทำงาน รู้จักการวางแผน การประสานงาน และ การสะท้อนผล เพื่อปรับปรุงการทำงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง ประสบการณ์ผ่านการ เข้าร่วมกิจกรรม และสร้าง
ประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรง บันดาลใจให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นนักศึกษาวิชาชีพครูซึ่งถือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มีความตั้งใจ อย่างเต็มที่ในการทำงานเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับเยาวชนในสังคม รวมทั้งเป็นการทำงาน เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองขอให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจ ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจ
สำหรับน้อง ๆ ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ในครั้งนี้ให้ได้มีความฝันมีการกำหนดเป้าหมายเพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเหมือน เช่นเดียวกับรุ่นพี่ในวันนี้
ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
ขณะที่ ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Senior Researcher at Network Center for Animal Breeding and Omics Research) และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา(Former Vice President for Research and Graduate Studies) กล่าวว่าเทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้รับประสบการณ์ และเรียนรู้มุมมองของคณิตศาสตร์ในรูปแบบใหม่
เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนคณิตศาสตร์ในแง่มุมอีกด้านที่เป็นศิลป สวยงาม ขยายขอบข่ายงานพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในรูปแบบของ Mathematics Festival ที่เคยจัด ณ กรุงมอสโคว สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นประจำต่อเนื่องมากกว่า 40 ปีแล้ว โดยจะมีการจัด Mathematics Festival ที่เมืองไทยเป็นประจำต่อเนื่องไปทุกปี
เทศกาลคณิตศาสตร์ (The Mathematics Festival) ประเทศไทย ครั้งที่ 6 ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายส่วน ทั้งในประเทศไทยและประเทศรัสเซียได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และ Moscow
Center for Continuous Mathematical Education.