“กขป.เขต 7″จัดโครงการสนับสนุนการกิจกรรมจัดบริการถวายความรู้ สุขศึกษา คำปรึกษา คำแนะนำและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการเป็นผู้นำขับเคลื่อนชุมชน
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครสาธารณสุขประจําวัด – อสว.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัย และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ ตลอดจนเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน และสังคม
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2568 ที่วัดอุตสาหะ ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น นาย สุทธินันท์ บุญมี ประธาน กขป.7 มอบหมายให้ นาย ศิริ สุริโย กรรมการ กขป.7 ร่วมบรรยาย ขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์ ประเด็นการตรวจคัดกรองสุขภาพ ห่างไกลโรค NCDS มะเร็งท่อน้ำดี มีทีมตรวจคัดกรองสุขภาพจาก รพ.อุบลรัตน์ ,อสม.จิตอาสา นักบริบาล, อบต.บ้านดง รพ.สต.หนองปลาไหล, พระอาจารย์วิริยะ เจ้าอาวาส, พระสงฆ์ร่วมตรวจคัดกรองจาก อ.อุบลรัตน์ โดยมีทีมวิทยากรร่วมจากมูลนิธิอาสาพัฒนา ภาคอีสาน Health Net ศักดิ์ชัย ดีเจศักดิ์ชัย ไชยเนตร และทีมงาน ศูนย์อยามัยที่ 7 ขอนแก่น โดยมีภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนร่วมด้วบช่วยกัน สนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.7 ขอนแก่น รับการประสานงานจาก สภาฮักแพงเบิ่งแหยงคนมหาสารคาม ตามโครงการสนับสนุนการกิจกรรมจัดบริการถวายความรู้ สุขศึกษา คำปรึกษา คำแนะนำและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการเป็นผู้นำขับเคลื่อนชุมชน
นาย สุทธินันท์ บุญมี ประธาน กขป.7 เปิดเผยว่า การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก พระสงฆ์บางรูปอาพาธด้วยโรคต่างๆ ในขณะที่บางรูปไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถ รู้ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง ซึ่งจากข้อมูลกรมการแพทย์ พบว่า พระสงฆ์-สามเณรอาพาธมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคไขมันในเลือดสูง , โรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน ,โรคไตวายเรื้อรัง และโรคข้อเข่าเสื่อม
ในขณะที่ พบว่า ผู้ป่วยที่เป็นพระสงฆ์เข้ารับบริการเป็นผู้ป่วยใน ในสถานบริการสาธารณสุขเขต 7 ป่วยด้วยโรค 5 อันดับแรก คือ โรคกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดอักเสบ โรคไตเรื้อรัง (ระยะที่ 5) และโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด โดยสาเหตุของการเกิดโรคส่วนใหญ่มาจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งพระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตร หรือนำอาหารมาถวาย ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุ ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้พระสงฆ์และวัดมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพเป็นศูนย์กลางสุขภาพชุมชน และจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย และภาคีเครือข่าย อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพระสงฆ์นักพัฒนาได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก(พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด – อสว.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์และวัดรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literate Temple) และขับเคลื่อนการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ
เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่สำคัญคือ พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย และบทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม โดยมี พระคิลานุปัฏฐาก(พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.)เป็นผู้ปฏิบัติดูแลพระสงฆ์อาพาธ รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ และการจัดการปัจจัยที่คุกคามสุขภาพของพระสงฆ์ด้วย “ทั้งนี้ บทบาทของพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด (อสว.) มีหน้าที่สื่อสารเรื่องสุขภาพพระสงฆ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสุขภาพ ในวัดและชุมชน ประสานงานด้านสุขภาพพระสงฆ์กับคณะสงฆ์ และหน่วยงาน ด้านสาธารณสุข ให้บริการสุขภาพเบื้องต้นแก่พระสงฆ์ในพื้นที่ รวมถึงให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพแก่ชุมชน และดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ตามหลักพระธรรมวินัย”
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครสาธารณสุขประจําวัด – อสว.) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ในการดูแลสุขภาพอนามัยตามหลักพระธรรมวินัย และให้คำแนะนำ ดูแลพระสงฆ์ ตลอดจนเพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเพื่อพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชน และสังคม.