วันอังคาร, 1 เมษายน, 2025

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
“แบงก์ชาติอีสาน” ชวนคุยภาวะเศรษฐกิจอีสานปี 2567 และแนวโน้มปี 2568

“แบงก์ชาติอีสาน” ชวนคุยภาวะเศรษฐกิจอีสานปี 2567 และแนวโน้มปี 2568

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

“แบงก์ชาติอีสาน” ชวนคุยภาวะเศรษฐกิจอีสานปี 2567 และแนวโน้มปี 2568

ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 67-68ประมาณการ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2568เศรษฐกิจอีสาน ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อยในช่วง 0.7 ถึง 1.7% ขณะที่ปี 68 ขยายตัวในช่วง 1.2 ถึง 2.2%


เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2568 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ห้องปัญญาวิจิตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) ริมบึงแก่นนคร  ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) เป็นประธานชวนคุยเศรษฐกิจอีสานปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 โดยมี ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมรับฟังโดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ เศรษฐกิจอีสานปี 67-68 มีทิศทางเติบโต แต่ยังต่ำกว่าในอดีตที่ผ่านมา และการเติบโตยังไม่มากพอที่จะส่งผ่านมาสู่รายได้ภาคครัวเรือนการเติบโตของเศรษฐกิจอีสานไม่ทั่วถึง บางส่วนยังต้องพี่งพามาตรการจากภาครัฐปัญหาเชิงโครงสร้าง คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจอีสานยังไม่สามารถกลับไปเติบโตได้เหมือนในอดีต


  ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) เปิดเผยว่า ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากผลผลิตเกษตรที่ขยายตัวตามผลของสภาพอากาศช่วงครึ่งหลังของปีที่ดีกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลดีต่อเนื่องถึงภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มผลิตอาหารและสินค้าเกษตรแปรรูป เช่นเดียวกับภาคการค้าที่ขยายตัวจากรายได้ภาคเกษตรที่ขยายตัวดี และมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวจากอุปสงค์ที่อ่อนแรง และสต๊อกบ้านที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ภาคก่อสร้างหดตัวกว่าที่ประเมินไว้
ปี 68 ขยายตัว จากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรขยายตัวในทุกพืชสำคัญ ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามหมวดอาหาร ด้านภาคการค้าขยายตัวจากรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี อีกทั้งบางส่วนยังได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ช่วยสนับสนุนการบริโภค ขณะที่ภาคก่อสร้างขยายตัว โดยได้รับอานิสงส์จากการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังคงหดตัวจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 67-68


ประมาณการ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เศรษฐกิจอีสาน ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อยในช่วง 0.7 ถึง 1.7% ขณะที่ปี 68 ขยายตัวในช่วง 1.2 ถึง 2.2% ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากผลผลิตเกษตรที่ขยายตัวตามผลของสภาพอากาศช่วงครึ่งหลังของปีที่ดีกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลดีต่อเนื่องถึงภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มผลิตอาหารและสินค้าเกษตรแปรรูป เช่นเดียวกับภาคการค้าที่ขยายตัวจากรายได้ภาคเกษตรที่ขยายตัวดี และมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวจากอุปสงค์ที่อ่อนแรง และสต๊อกบ้านที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ภาคก่อสร้างหดตัวกว่าที่ประเมินไว้
ปี 68 ขยายตัว จากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ผลผลิตเกษตรขยายตัวในทุกพืชสำคัญ ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามหมวดอาหาร ด้านภาคการค้าขยายตัวจากรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี อีกทั้งบางส่วนยังได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ช่วยสนับสนุนการบริโภค ขณะที่ภาคก่อสร้างขยายตัว โดยได้รับอานิสงส์จากการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังคงหดตัวจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้


ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอีสาน (GRP) รายละเอียดทิศทางการเติบโตของกิจกรรมสำคัญ(เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน)เกษตร เพิ่มขึ้น ปี 67 ขยายตัวเล็กน้อย จากสภาพภูมิอากาศช่วงครึ่งหลังของปีที่ดีกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้ผลผลิตของข้าวนาปีและอ้อย ขยายตัวกว่าที่คาด ยางพาราขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่กรีด และปริมาณฝนที่อยู่ในเกณฑ์ดีทำให้ต้นยางสมบูรณ์ กอปรกับแรงจูงใจด้านราคาที่ดีในช่วงต้นปี ด้านมันสำปะหลังขยายตัวตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกทดแทนพืชที่เสียหายจากภัยแล้งปีก่อน ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรคใบด่างยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ปี 68 ขยายตัว จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยในช่วงเพาะปลูก ทั้งข้าว ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง โดยยางพาราขยายตัวจากแรงส่งด้านราคาและผลผลิตที่ดีต่อเนื่อง และมันสำปะหลังขยายตัวตามการเพิ่มพื้นที่ปลูกเพื่อทดแทนอ้อยและข้าวโพดที่มีต้นทุนสูงขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์โรคใบด่างคาดว่าปรับดีขึ้นบ้าง
ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น ปี 67 ขยายตัว จากการผลิตหมวดอาหารเป็นสำคัญ ได้แก่ การผลิตน้ำตาลทรายขาวตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น และการสีข้าวตามผลผลิตเกษตรที่ดีขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ปี 68 ขยายตัว จากหมวดอาหารที่ขยายตัวต่อเนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร ทำให้การผลิตยางพาราแปรรูป การผลิตน้ำตาล และการสีข้าวปรับดีขึ้น ด้านการค้า เพิ่มขึ้น ปี 67 ขยายตัว จากรายได้ภาคเกษตรที่ขยายตัวดี และมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐช่วงครึ่งหลังของปี ช่วยสนับสนุนการบริโภค สอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่ทยอยปรับดีขึ้น ปี 68 ขยายตัวเล็กน้อย จากรายได้ภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดีช่วยพยุงการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อีกทั้งบางส่วนยังได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐในระยะถัดไป อย่างไรก็ตามประชาชนยังมีความกังวลเรื่องค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงความตึงตัวในภาคการเงินและภาระหนี้ ทำให้การบริโภคในหมวดยานยนต์ยังฟื้นตัวช้า


การก่อสร้าง เพิ่มขึ้น ปี 67 หดตัว ตามการหดตัวของอุปสงค์ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสต๊อกบ้านที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นสัดส่วนใหญ่ของภาคก่อสร้างในภาคอีสานได้รับผลกระทบมากกว่าที่ประเมินไว้ ปี 68 กลับมาขยายตัว จากการลงทุนก่อสร้างภาครัฐ โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตามงบประมาณปี 68 ที่ได้รับการจัดสรรมากขึ้น รวมถึงมีเม็ดเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีจากปี 67 ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ลดลง ปี 67 หดตัว ตามอุปสงค์ที่อ่อนแอ กำลังซื้อที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังการให้สินเชื่อ ทำให้การซื้ออสังหาริมทรัพย์หดตัวในทุกประเภทและทุกระดับราคา ทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและแนวสูง ปี 68 หดตัว โดยผู้บริโภคฐานรากที่เป็นกลุ่มใหญ่ยังประสบปัญหาด้านกำลังซื้อ ภาระหนี้และคุณภาพของสินเชื่อที่ด้อยลง ส่งผลให้การฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มบนมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน ทำให้ส่วนใหญ่ยังชะลอการซื้ออสังหาริมทรัพย์ออกไปก่อน.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD