‘ว.เทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ’ จับมือ ‘ม.ชินวัตร’ เสริมการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ
ว.เทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ ร่วมมือ ม.ชินวัตร จัดลงนามบันทึกความเข้าใจในการส่งเสริมการศึกษาในระดับ ปวช. ปวส.และอุดมศึกษา ด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพราะตอนนี้เด็กนักเรียนออกนอกระบบการศึกษาเป็นจำนวนมาก อาจจะเนื่องด้วยทุนทรัพย์การเข้าสู่สังคม การศึกษา เพราะฉะนั้นนี่คือ ประเด็นสำคัญที่เด็กไม่เข้าสู่การศึกษา และอีกหนึ่งที่กล่าวถึงเด็กที่มาเรียนหนังสือ บัณฑิตที่จบออกมานั้นไม่ตรงตามสายงานที่เรียนมา อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุและหลายประการ
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ ถนนกสิกรทุ่งสร้าง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.อัษฎางค์ แสวงการ ผู้รับใบอนุญาต วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ จังหวัดขอนแก่น ลงนามบันทึกความเข้าใจในการส่งเสริมการศึกษาในระดับ ปวช. ปวส.และอุดมศึกษา ระหว่าง มหาวิทยาลัยชินวัตร กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ โดยมี ผศ. ดร. ปานพล รอดลอยทุกข์ รองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ,อาจารย์ฐานิฏฑ์ ลิมปะพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ ,ดร. สรณ โภชนจันทร์ คณบดีคณะการจัดการ ,ดร. ภัทรฤทัย เกณิกาสมานวรคุณ ,ดร. วิศรุต กระบวนสืบ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานจังหวัดขอนแก่น ,ดร.อรอนงค์ แสวงการ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยขอนแก่นบริหารธุรกิจ และผู้นำชุมชน ร่วมในการบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้
ดร.อัษฎางค์ แสวงการ ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในการส่งเสริมการศึกษาในระดับ ปวช. ปวส.และอุดมศึกษา ระหว่าง มหาวิทยาลัยชินวัตร กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยชินวัตร ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการจัดการเรียนการศึกษา จะมีความสำคัญอยู่ คือ ตอนนี้เด็กนักเรียนออกนอกระบบการศึกษาเป็นจำนวนมาก อาจจะเนื่องด้วยทุนทรัพย์การเข้าสู่สังคม การศึกษาเพราะฉะนั้นนี่คืออีกจุดหนึ่งที่เรามองว่า นี่คือประเด็นสำคัญที่เด็กไม่เข้าสู่การศึกษา และอีกหนึ่งที่กล่าวถึงเด็กที่มาเรียนหนังสือ บัณฑิตที่จบออกมาก็ไม่ตรงตามสายงานที่เรียนมา อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุและหลายประการ ดร.อัษฎางค์ กล่าวด้วยว่าด้วยในวันนี้ได้มีการทำข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยชินวัตรกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ เป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในเครือของจังหวัดขอนแก่น จุดมุ่งหมายคือต้องการให้นักศึกษาเข้าสู่การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้หยุด ชะงักขั้นตอนของการศึกษา อีกส่วนหนึ่งก็คือต้องการพัฒนาการศึกษา นักศึกษา หรือผู้เรียน ต้องยอมรับความจริงว่าจังหวัดขอนแก่นเป็นเมืองแห่งการศึกษา แต่เวลาที่จะให้เด็กเข้าสู่การศึกษา ที่ต้องให้เด็กเดินทางเข้าสู่การศึกษา ในภาคกลาง จะทำให้เกิดปัญหา ด้านที่พัก ด้านครองชีพ และปัญหาที่จะต้องออกจากครอบครัวไป ต่อไปจะเข้าสู่การศึกษาที่ว่าอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ตามนโยบายของกระทรวงหรือรัฐบาล ดังนั้นอุดมศึกษาก็ เช่นกัน ทาง อว.ก็ได้พัฒนาด้านการศึกษา คงได้ยินในการสะสมหน่วยกิตที่จะใช้ และก็การศึกษาออนไลน์ ในเวลาใกล้ๆคงต้องเป็นด้านกฎหมาย เพื่อให้เด็กไม่ได้หยุดในการศึกษา สามารถ เรียนอย่างต่อเนื่องได้ และนี่คือจุดหนึ่งที่น่าจะเป็นข้อตกลงกัน
ด้าน ผศ.ดร.ปานพล รอดลอยทุกข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยชินวัตร ผู้รับมอบอำนาจจากมหาวิทยาลัยชินวัตร กล่าวว่าในวันนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจในการส่งเสริมการศึกษาในระดับปวช. ปวส.และอุดมศึกษา ระหว่างมหาวิทยาลัย และวิทยาลัย ดังกล่าว ในการ MOU ในวันนี้มหาวิทยาลัยชินวัตร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นก้าวสำคัญที่จะนำและพัฒนาหลักสูตร ร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือ ความช่วยเหลือ ด้านการจัดการการเรียนรู้ การวิจัย การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อของนักเรียน การส่งเสริมอาชีพของนักเรียน และวิชาการอื่นๆ ระหว่างมหาวิทยาลัย กับ วิทยาลัย
ผศ.ดร.ปานพล กล่าวอีกว่า โดยมีแนวทางความร่วมมือ 1.สนับสนุนและสร้างความร่วมมือระหว่างคณะการจัดการ มหาวิทยาลัยกับวิทยาลัย 2.สนับสนุนและสร้างความร่วมมือในการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้ทักษะ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการสอนที่เกี่ยวกับด้านการจัดการ
3.สนับสนุนกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัย และส่งเสริมให้นักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายใต้หลักสูตรของมหาวิทยาลัย ความตกลงนี้มีระยะเวลาในการร่วมมือ ในเบื้องต้นเป็นระยะเวลา 5 ปี หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่ออีกฝ่ายหนึ่งต่อไป
ผศ.ดร.ปานพล กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยชินวัตร มีสาขาไว้รองรับสื่อมวลชน ที่ยังไม่จบปริญญาตรี สาขาวิชาด้านดิจิตอลอาร์ต ทางด้านดิจิทัล และอีกหลายสาขา รวมทั้งสาขาด้านการออกแบบ ซึ่งแต่ก่อนตนก็เคยทำงานด้านสื่อมวลชน จึงมองว่า มีสื่อมวลชนหลายท่านที่ยังไม่จบปริญญาตรี แต่ยังมีประสบการณ์ในการทำงานด้านสื่อมวลชน 20 – 30 ปี ตนจึงมองว่าเพราะบางท่านอาจจะเลยช่วงเวลาสำคัญปริญญาตรีไปแล้ว แต่วันนี้เรามองว่าทำอย่างไรจะให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ถ้าเราได้ที่พี่สื่อมวลชนที่มีประสบการณ์ 20-30 ปี
ผศ.ดร.ปานพล กล่าวทิ้งท้ายว่าทดังที่กล่าวมาแล้ว มาเรียนปริญญาตรี 1 เราเทียบโอนประสบการณ์ โดยใช้เวลาเรียน 1 ปีหรือปีครึ่ง สามารถได้ปริญญาบัตรกับเรา ในสาขาที่สอดคล้องกับท่าน 2.เราสามารถเชิญท่านมาเป็นผู้ช่วยวิทยากร มาแชร์ประสบการณ์ให้กับผู้เรียนที่เป็นเยาวชนได้ด้วย ซึ่งตรงนี้เป็นสถานการณ์ที่ดี และมีประโยชน์เป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่เตรียมตัวจะเติบโตในอนาคต ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี เราสามารถจัดคาร์ดพิเศษ ให้กับท่านได้ เช่น รูปแบบ on site หรือออนไลน์ และเป็นการเรียนที่มีรูปแบบยืดหยุ่นสูง เป็นการเรียนที่ผสมผสาน มีการส่งชิ้นงานและเชื่อมโยงกับสหกิจศึกษาได้ด้วย ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่เรามองว่า จะได้รับความร่วมมือกับเครือข่าย สื่อมวลชนได้เป็นอย่างดียิ่ง.