“สำนักหอสมุด มข.”เปิดตัว KKU Research Hub : แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ และพัฒนาทักษะในการทำวิจัยอย่างครบวงจร
ก้าวย่างเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้พัฒนา นวัตกรรมการบริการ (service innovation) ที่ชื่อว่า “KKU Research Skill Enhancing Hub” หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “KKU Research Hub” ขึ้น เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น ในกระบวนการทำวิจัย อย่างครบวงจร KKU Research Hub
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ บริเวณโถงชั้น 2 อาคารศูนย์สารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดตัว KKU Research Hub ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริการ (service innovation) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น ในกระบวนการทำวิจัย อย่างครบวงจร โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี รศ.นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานโครงการ ท่ามกลางผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิจัย รวมงานจำนวนมาก
ในปี 2568 นี้ เพื่อเฉลิมฉลอง ในวาระที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งมาครบ 60 ปี และ กำลังก้าวย่างเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้พัฒนา นวัตกรรมการบริการ (service innovation) ที่ชื่อว่า “KKU Research Skill Enhancing Hub” หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “KKU Research Hub” ขึ้น เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็น ในกระบวนการทำวิจัย อย่างครบวงจร KKU Research Hub เป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ แบบ Phygital learning experience คือ ประกอบด้วยทั้ง Physical Hub และ Digital Hub ที่รวบรวม องค์ความรู้ ที่จำเป็น ในกระบวนการทำวิจัย ในทุกขั้นตอน โดยได้แบ่ง เป็น 12 modules ตาม step หรือขั้นตอน ที่จำเป็นในกระบวนการทำวิจัย โดยเริ่มตั้งแต่ Research Question, Literature review, Hypothesis generation, Research design, Sample size calculation, Data collection, Data analysis, Hypothesis testing, Result interpretation, Manuscript preparation, Reference Management จนถึง Research publication and presentation
โดยข้อมูลที่รวบรวมไว้ ใน KKU Research Hub นี้ จะมีหลายรูปแบบ เช่น VDO, Physical books, Digital books, Journal articles, บทความจากแหล่งข้อมูลที่เป็น open access และ Research Tools ทั้ง traditional tools และ Generative AIโดยในส่วนของ Generative AI นั้น ได้ มีการให้คำแนะนำ prompt formats โดยจัดทำเป็น Prompt Template เพื่อช่วยนักวิจัยให้มีความสะดวกในการสร้างคำสั่ง prompt เพื่อสั่ง Generative AI ให้เป็นผู้ช่วยในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัย
รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวตอนหนึ่ง ในพิธีเปิด KKU Research Hub ว่า “ผมขอชื่นชม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีความมุ่งมั่น ในการพัฒนา บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และ พันธกิจ ของมหาวิทยาลัย และ ได้พัฒนา KKU Research Hub ขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย และ รอบด้าน ของทุกขั้นตอนในกระบวนการทำวิจัยเอาไว้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ทักษะในกระบวนการวิจัย อย่างครบวงจร ผมขอขอบคุณผู้บริหาร และบุคลากรของสำนักหอสมุด ที่พัฒนาบริการที่มีประโยชน์นี้ และ ขอเชิญชวน นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และ ผู้สนใจ มาใช้บริการ KKU Research Hub เพื่อ พัฒนาทักษะ ด้านการวิจัย ซึ่งจะช่วยให้การวิจัยของท่านมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป”
ด้าน รศ.นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะ Learning center for all มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา นวัตกรรมบริการ (service innovation) ที่จะสนับสนุน การเรียนรู้ และ พัฒนาทักษะในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุน ความเป็นเลิศ ในการศึกษา วิจัย และ นวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักหอสมุด มข.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า KKU Research Hub จะเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ช่วยเพิ่มทักษะด้านการวิจัย ให้กับผู้สนใจทุกท่าน และขอเชิญชวน นักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป เข้ามาเรียนรู้ และ เสริมทักษะใหม่ๆ ในการทำวิจัย ผ่าน KKU Research Hub กัน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยอย่างเป็นระบบซึ่งจะนำไปสู่การผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และ ช่วยขับเคลื่อนสังคมให้พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”.