(รายงานพิเศษ)
โค้งสุดท้าย วัดใจ คนเมืองหมอแคน เลือกตั้งนายกอบจ. ขอนแก่น กระแสเลือกลูกได้พ่อ กับนายกฯ 6 สมัย
สืบเนื่องจากที่ นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 ทำให้มีการจัดการเลือกตั้งนายกองค์บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2567 ที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นี้ กระแสเลือกลูกได้พ่อ กับกระแส นายก อบจ. 6 สมัย ที่เป็นอย่างยาวนาน ควรมีการเปลี่ยนแปลง หรือคงไว้สานต่องานเดิม ไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ชนิดที่ใครแพ้ไม่ได้ ที่สำคัญพลังเงียบ ซึ่งยังไม่คิดว่าจะเลือกใครนั้น กระแส “เลือกลูกแล้วได้พ่อ “เป็นจุดหักเห หันมาเทคะแนนให้กับอีกฝั่ง ซึ่งไม่มีข้อกล่าวหา กังขาในวงสังคมแบบมุมกว้าง สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น จ.ขอนแก่น มีทั้งหมด 26 อำเภอ จำนวน 42 เขตเลือกตั้ง มีหน่วยเลือกตั้ง จำนวน 2,668 หน่วย มีจำนวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้ง 1.4 ล้านคน มีเพียงเขตอำเภอเมืองขอนแก่น ทีมีการแบ่งเป็น 9 เขต
ซึ่งมีผู้มาสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน ขาดคุณสมบัติ 1 คน คงเหลือ 3 คน ได้แก่หมายเลข 1 นายวัฒนา ช่างเหลา อดีตเคยเป็นเลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, ประธานสโมสรฟุตบอลขอนแก่น ยูไนเต็ด, และอดีต สส.ขอนแก่น เขต 2 พรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย หมายเลข 2 ดร. พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 6 สมัย หมายเลข 3 นายโตบูรพา สิมมาทัน อดีตผู้สมัคร สส.ขอนแก่น เขต 1 พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ และ พรรคพลังประเทศไทย และหมายเลข 4 นายณัฏฐ์ ก้อนคำ อดีตผู้สมัคร สส.ขอนแก่น เขต 8 พรรคประชาธิปัตย์ (ขาดคุณสมบัติ) ท่ามกลาง กระแส การต่อสู้ขับเขี้ยวกันอย่างดุเดือดไม่ว่าจะเป็นสงคราม ป้ายหาเสียง ที่ติดกันทั่วเมืองขอนแก่น ตลอดจนรถ หาเสียง ซึ่งวิ่งกัน ขวักไขว่ ประกาศหาเสียง ให้ได้ยินกัน เช้า -กลางวัน-เย็น และสุดท้ายก่อนคืนหมาหอน ซึ่งจะมีการยิงกระสุน ในลักษณะปูพรม เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
หันมาดู ปูมหลัง ของนายวัฒนา (ต้อม)ช่างเหลา หมายเลข 1 อายุ 44 ปี เป็นลูกชายของ นายเอกราช ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น พรรคภูมิใจไทย การศึกษา ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) หลังจากจบมา ก็ได้มาทำโครงการหมู่บ้านเมืองเอกแกรนด์วิลล์ ดำเนินงานโดยบริษัท เมืองเอกขอนแก่น จำกัด ผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งตอนนั้นบิดานายเอกราช ช่างเหลา ยังเป็นผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด เพื่อเป็นการปูทางให้ในปี 2542 เข้ามาเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เพื่อก้าวสู่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในระดับชาติ พร้อมทำทีมฟุตบอลชื่อขอนแก่นยูไนเต็ด ต่อมาเข้าสังกัดพลังประชารัฐ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดขอนแก่น (24 มี.ค. 2562 – 14 ก.พ. 2565)
ต่อมาย้าย เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ย้ายมาสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดขอนแก่น โดยในครั้งนั้นนายอิทธิพล ชลธราศิริ เบอร์ 1พรรคก้าวไกล ได้ 38,984 คะแนนตามด้วย น.ส.รัมภามาศ ทีฆธนานนท์ เบอร์ 9 พรรคเพื่อไทย ได้ 28,502 คะแนน ส่วนนายวัฒนา ช่างเหลา เบอร์ 5 พรรคภูมิใจไทยได้ 23,515 มาที่ 3 หลังจากที่สอบตก ได้มาทำหน้าที่เป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จนลาออก มาเปลี่ยนสีเสื้อมาสังกัดเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย สู้ศึกนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ชนกับ อดีตนายก อบจ.ขอนแก่น 6 สมัย
ด้าน นายพงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ หมายเลข 2 เป็นสมาชิกสภาจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2528 จากนั้น ได้รับเลือกทางอ้อมเป็นนายก อบจ.ขอนแก่น ปี 2541 และเมื่อมีเลือกตั้งทางตรง ได้ชัยชนะมาโดยตลอด เป็นมาถึง 6 สมัย ติดต่อกัน ซึ่งมีผลงาน เป็นที่ประจักษ์ อีกทั้ง มีสายสัมพันธ์อันดีกับทุกพรรค เรียกได้ว่ามีฐานเสียง ที่แน่นจากนักการเมืองระดับประเทศ อีกทั้งจากนักการเมืองท้องถิ่น ตลอดจนพี่น้องประชาชน ซึ่งครั้งหลังสุด ในการลงแข่งเป็นนายกองค์การส่วนบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีผู้สมัครถึง 10 คน ปรากฏว่ายังรักษาแชมป์ ไว้ได้ด้วยคะแนนกว่า 3 แสนคะแนน เรียกว่าถ้าไม่แน่จริง ไม่ได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชน คงไม่เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นถึง 6 สมัย
ด้วยวลีเด็ดที่ว่า 6 นโยบายเด่น เพื่อสานงานต่อ ก่องานเพิ่ม เสริมงานใหม่”สานงานต่อไม่ต้องเสียเวลารอ เดินหน้าต่อได้ทันทีเพื่อชีวิตที่มีความสุขของชาวขอนแก่น” “สร้างขอนแก่นให้เป็นจังหวัดชั้นนำ…ในทุกมิติ“ อบอุ่น จริงใจ รับใช้ประชาชน ”นโยบาย “การพัฒนาการบริหารจัดการที่ดี”เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยยึดหลักการธรรมาภิบาล พัฒนาเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ และนวัตกรรมสมัยใหม่ในการปฏิบัติงาน เพื่อบริการประชาชน อย่า “ศรัทธา” คนที่เขาพูดให้ฟัง แต่จง “นับถือ”คนที่เขาทำให้ดู.