วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

กฟผ.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานชุมชน แบบมีส่วนร่วม คนบ้านเดียวกัน

กฟผ.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานชุมชน แบบมีส่วนร่วม คนบ้านเดียวกัน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

กฟผ.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานชุมชน แบบมีส่วนร่วม คนบ้านเดียวกัน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานชุมชนแบบมีส่วนร่วม ภายใต้แนวคิด “กฟผ.-ชุมชน คนบ้านเดียวกัน” แบ่งปันประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมหนุนเสริมชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และผู้แทนชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าและเขื่อน 21 พื้นที่จากทั่วประเทศ

เมื่อเร็วนี้  ที่ โรงไฟฟ้าน้ำพอง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสื่อสารองค์การ ชุมชนสัมพันธ์ และความรับผิดชอบต่อสังคม สายงานผลิตไฟฟ้า เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานชุมชนแบบมีส่วนร่วม” สายงานผลิตไฟฟ้า ครั้งที่ 9 ประจำปี 2560 ภายใต้แนวคิด “กฟผ.-ชุมชน คนบ้านเดียวกัน” ตอน “ชุมชนพอดี พอเพียง พอใจ” ซึ่งจัดโดยกลุ่มงานสื่อสารสาธารณะ โรงไฟฟ้าน้ำพอง และโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 โดยมีนายดิเรก วณิชตันติพงษ์ วิทยากรระดับ 10 เลขานุการคณะกรรมการสื่อสารองค์การฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีนายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง คณะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รวมถึงผู้แทนชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าและเขื่อนจาก 21 พื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 150 คน เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และชุมชน ได้พบปะแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ มุมมองความคิดการทำงานพัฒนาสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน เกิดเครือข่าย การประสานความร่วมมือ รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

นายณัฐวุฒิ  แจ่มแจ้ง

นายณัฐวุฒิ  แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. มีความมุ่งมั่นน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนต่างๆ ตามหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยมุ่งหวังให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นเรายังประสานความร่วมมือกับหลายๆ หน่วยงาน เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ กฟผ. ทำด้วยความจริงใจ เพื่อตอบแทนสังคม โดยแนวทางการดำเนินงานตอนนี้เราเน้นเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำเกษตรกรรมของชุมชน และการสนับสนุนวิถีชีวิตดั้งเดิมรวมถึงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ของชุมชน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชุมชนก็ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นกับพี่น้องชาวโรงไฟฟ้าและเขื่อน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ด้วยดีเสมอมา นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี และขอให้พวกเรามีความรัก ความเป็นเพื่อน และเป็นคนบ้านเดียวกันเช่นนี้ตลอดไป

นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล

นายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง กล่าวว่า โรงไฟฟ้าน้ำพองขอต้อนรับพี่น้องชุมชนและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง และขอขอบคุณที่ให้เกียรติเราเป็นเจ้าภาพด้านสถานที่ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ สำหรับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าน้ำพองนั้น เราแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้นำทางปัญญา 2.กลุ่มผู้มีอำนาจ 3.กลุ่มผู้มีความรู้ 4.กลุ่มเยาวชน 5.กลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมีแนวทางดำเนินกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมด้วย 5 วิธี คือ 1.ร่วมรับรู้ 2.ร่วมวางแผน 3.ร่วมทำ 4.ร่วมตรวจสอบ 5.ร่วมรับประโยชน์ นอกจากนั้นโรงไฟฟ้าน้ำพองยังวัดผลการดำเนินงานสุดท้ายด้วยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย 1.รู้จัก 2.คุ้นเคย 3.เชื่อถือ 4.ยอมรับ และ 5.กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุด และทำให้ กฟผ. และ ชุมชน เป็นคนบ้านเดียวกันอย่างเช่นในวันนี้

สำหรับกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย ขบวนแห่และการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน, นิทรรศการสินค้าชุมชนรอบโรงไฟฟ้าน้ำพองและเขื่อนอุบลรัตน์, การบรรยายภารกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงไฟฟ้าน้ำพอง โดยนายณรงค์ ไตรกิจวัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง, การเสวนา “ปราชญ์ผู้รู้ ครูผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง พอดี พอใจ อยากได้ต้องลงมือทำ” โดยนายศรีทัศน์ สุครีพ ปราชญ์ชุมชนบ้านท่าพระยาณรงค์, เวทีชาวบ้าน “เว้าสู่กันฟัง” แบ่งปันประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมการหนุนเสริมชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองจากแต่ละโรงไฟฟ้าและเขื่อน, งานม่วนๆ กฟผ. ชุมชน คนฮักกัน ประเพณีเอาบุญบ้าน, กิจกรรม “เยี่ยมยามถามข่าวชุมชนพึ่งพาตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์” ณ ชุมชนบ้านปันน้ำใจ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นชุมชนเข้มแข็งตัวอย่างที่โรงไฟฟ้าน้ำพองสนับสนุน โดยมีอาจารย์ทัศนีญาฎา สถาปนาชัย และอาจารย์สกุลรัตน์ ถานกางสุ่ย ร่วมเป็นวิทยากรนำกระบวนการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads