วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

เททองหล่อ หลวงพ่อแก่นเพชร วัตถุมงคล สมทบทุนสร้างอาคารเรียน 50 ปี แก่นนครวิทยาลัย

เททองหล่อ หลวงพ่อแก่นเพชร วัตถุมงคล สมทบทุนสร้างอาคารเรียน 50 ปี แก่นนครวิทยาลัย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

เททองหล่อ หลวงพ่อแก่นเพชร วัตถุมงคล สมทบทุนสร้างอาคารเรียน 50 ปี แก่นนครวิทยาลัย

ดร.วีระเดช  ซาตา ผอ.รร.แก่นนครวิทยาลัย เปิดเผยว่า รร.แก่นนครวิทยาลัยได้เปิดการทำการเรียนการสอน ได้ผลิตบุคลากรออกไปเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดขอนแก่นมาแล้วร่วม 50 ปี ดังนั้น คณะครู ผู้บริหาร สมาคม ผู้ปกครอง นักเรียนที่เป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันจึงมีแนวความคิดที่สร้างวัตถุมงคลเป็นทุนสร้างอาคารเรียน 50 ปีแก่นนครวิทยาลัย

        โดยมีพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกอธิฐานจิต ในวันจันทร์ที่ 17 ก.ย. 2561 ณ สนามหน้าเสาธงโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป เริ่มด้วยพิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคล และพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์เสริมบารมี โดยพระราชวิสุทธิประชานาถ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และดร.สมศักดิ์  จังตระกูล ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระเกจิ คณาจารย์ ร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน 59 รูป

ดร.วีระเดช กล่าวถึง ประวัติการก่อสร้าง “พระพุทธรัตนมุณี ศรีแก่นนคร” (หลวงพ่อแก่นเพชร) ว่า พระราชวิสุทธิประชานาถ ศิษย์เก่าแก่นนคร รุ่นที่ 8 ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูแก่นนครวิทยาลัย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่าแก่นนครวิทยาลัย คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ได้ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธรูปเพื่อเป็นพระประธานประจำโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย โดยมีชื่อว่า “พระพุทธรัตนมุณีศรีแก่นนคร” พระพุทธรูปซึ่งจะเป็นพระประธานประจำโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

        “พระพุทธรัตนมุณีศรีแก่นนคร” หรือ “หลวงพ่อแก่นเพชร” รุ่นที่ 1 เป็นพระปางประทานพร นั่งขัดสมาธิเพชร พระราชวิสุทธิประชานาถ ศิษย์เก่าแก่นนคร ร่นที่ 8 ได้ให้ความเมตตา รับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาให้กับโรงเรียน ในการจัดสร้างครั้งนี้ ความหมายของคำว่า แก่น หมายถึง ระยะเวลายาวนาน แกร่ง เหนียวแน่น ฉลาด อดทน ความอึด แน่นแฟ้น  เพชร หมายถึง ขันติ วิริยะอย่างยิ่งยวด นำมาสู่ความสำเร็จทั้งปวง

               ดร.วีระเดช  ซาตา

         องค์ประกอบขององค์พระ เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ถอดแบบพระพักตร์จากรัชกาลที่ 9 ฐานกลีบบัว 50 กลีบ เปรียบเสมือนครบรอบ 50 ปีแก่นนครวิทยาลัย การออกแบบพระพักตร์ของพระพุทธรูป จะเป็นการออกแบบที่ผสมผสานศิลปวัฒนธรรม แบบร่วมสมัย 3 ยุค ได้แก่ ยุคแรก คือ อินเดีย ศิลปะรูปแบบสัญจี แบบคันธาระ แบบจันทรา แบบอมราวดี และแบบคุปตะ คือ ยุคเทวาราวดี ยุคที่สอง คือ สมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี คือ ทวารวดี ยุคที่สามคือ สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะในยุคสมัยของรัชกาลที่ 9 ออกแบบโดย อาจารย์ปรีชา  เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ และหล่อที่โรงหล่อเอเชีย ไฟน์อาร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยท่านที่มีจิตศรัทธาสามารถสั่งจองได้ที่ รองฯพลสัณห์  พิมพ์ภักดี 08-9709-6309  คุณอาภรณ์  ศรีวรสาร 08-6227-0880 คุณครูประภาพันธ์  โพธิรุกข์ 08-9842-4954 และ คุณครูกรุณารักษ์  แก้วจุลศรี 09-2562-4231.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads