วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

“ดร.อัษฎางค์” ลุยหาเสียงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง อบจ.ขอนแก่น – เข้าคูหา ‘ผูกขาด’ หรือเปลี่ยนแปลง ?

“ดร.อัษฎางค์” ลุยหาเสียงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง อบจ.ขอนแก่น – เข้าคูหา ‘ผูกขาด’ หรือเปลี่ยนแปลง ?
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“ดร.อัษฎางค์” ลุยหาเสียงโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง อบจ.ขอนแก่น – เข้าคูหา ‘ผูกขาด’ หรือเปลี่ยนแปลง ?


เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ที่ บริเวณสนามหญ้า โรงเรียนโนนศิลาวิทยาคม หมู่ 3 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนศิลา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น  ดร.อัษฎางค์ แสวงการ ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หมายเลข 4 กลุ่มมหานครขอนแก่น ลงพื้นที่หาเสียงพบปะประชาชน ในพื้นที่ พร้อมด้วย ทีมผู้สมัคร ส.อบจ.เขตอำเภอโนนศิลา โดยมีประชาชนร่วมรับฟังการปราศรัยหาเสียงอย่างหนาตา

ดร.อัษฎางค์

ดร.อัษฎางค์ กล่าวว่า จ.ขอนแก่นเป็นเมืองหลัก ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การแพทย์ การศึกษา พัฒนาต่อเนื่อง รุ่งเรือง ยั่งยืน สู่มหานครขอนแก่น ทางกลุ่มมหานครขอนแก่น ประกาศชูนโยบาย 5 ด้าน Open Local Government 1.นโยบายท้องถิ่นเปิดเผย 2.นโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการกำหนดงบประมาณท้องถิ่น “เชื่อมั่นในพลังท้องถิ่น” 3.นโยบายกาจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 4.นโยบายการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร และนโยบายด้านการขนส่งมวลชน สิทธิของประชาชนที่ควรรู้จักความสำคัญและหน้าที่ของ อบจ. ก่อนเข้าคูหาเลือก “คนที่ใช่” อาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม เมื่อศึกนี้จะเปลี่ยนแปลง หรือเท่าเดิม ? อยู่ที่ตัวของประชาชน ในการเลือกตั้ง ศึกชิงเก้าอี้ นายกฯ และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครั้งแรกในรอบ 6 ปี เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะเปิดคูหาให้ย่อนบัตรในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม


ดร.อัษฎางค์ กล่าวอีกว่า ผลการเลือกตั้ง อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ถูกคาดหมายว่าจะชี้ทิศทางอนาคตการเมืองไทยและวัดความนิยมรัฐบาลได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากหลายพื้นที่เป็นการสู้กันระหว่าง ‘แชมป์เก่า-คนบ้านใหญ่’ กับ ‘หน้าใหม่-ผู้หวังเปลี่ยนแปลง’ ต่อไปนี้คือสิ่งที่ประชาชน “ควรรู้” ก่อนเดินทางเข้าคูหาเลือกคนที่ใช่ อบจ. คืออะไร องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี “ขนาดใหญ่ที่สุด” มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ
อบจ. มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด คอยบริการสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาล และ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
พูดง่ายๆ บริหารงานทุกอย่างในจังหวัด ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเทศบาล และ อบต. เป็นไปในลักษณะของการแบ่งหน้าที่และสนับสนุนกัน
ประกอบด้วยใครบ้างโครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่าย นิติบัญญัติ) ทำหน้าที่พิจารณาและออกกฎหมายของ อบจ. เรียกว่า “ข้อบัญญัติ อบจ.” เช่น การจัดเก็บภาษีน้ำมันและยาสูบ
ตรวจสอบควบคุมการบริหาร อบจ. เช่น ตรวจสอบการใช้เงินในโครงการต่าง ๆ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งทางตรงที่ อบจ. จัดเก็บ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีทางอ้อม เช่น จากการซื้อสินค้า โดยนำส่วนที่เป็นภาษีกลับคืนมาพัฒนาท้องถิ่น
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร)
กำหนดนโยบาย รับผิดชอบในการบริหารให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบายสั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการ อบจ.แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบจ. เลขานุการ และที่ปรึกษาวางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ส.อบจ. มี 24-48 คนจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ส.อบจ. ถูกกำหนดตามจำนวนประชากร แต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้จังหวัดใดมีคนไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาจังหวัดได้ 24 คน
จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน มีสมาชิกได้ 36 คน จังหวัดใดมีคนเกินกว่า 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน มีสมาชิกได้ 42 คน จังหวัดใดมีคนเกิน 2,000,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี
ประชาชนจะเป็นผู้เลือก – ภาษีเราคือเงินเดือน
นายก อบจ./ส.อบจ. มีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ทั้งนี้ในการเลือกตั้งนายก อบจ. ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนสมาชิก อบจ. ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง นายก อบจ. ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทน 75,530 บาท
ส.อบจ. ได้ค่าตอบแทน 19,440 บาท ระเบียบกระทรวงมหาดไทย รายได้


รายได้หลักของ อบจ. มาจากการเก็บภาษีต่างๆ ในจังหวัด เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย เป็นต้น รวมถึงเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลในทุกปีงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนโครงการต่างๆบ้านใครได้เท่าไหร่ – งบประมาณแต่ละ อบจ.พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 90,978.4 ล้านบาท ในส่วนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร จะได้รับการอุดหนุนงบประมาณ 23,786.9 ล้านบาท เมืองพัทยา ได้รับอุดหนุน 1,899.3 ล้านบาท พ.ร.บ.งบฯ 2564 ในส่วนงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลตั้งเป็นงบอุดหนุน ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ 76 อบจ. รวม 28,797.8 ล้านบาท.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads