วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

เจ๋ง!หมอฟัน มข.สร้างอุปกรณ์เก็บกัดละออง ป้องกันเชื้อโควิด เครื่องแรกของโลก

เจ๋ง!หมอฟัน มข.สร้างอุปกรณ์เก็บกัดละออง ป้องกันเชื้อโควิด เครื่องแรกของโลก
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

เจ๋ง!หมอฟัน มข.สร้างอุปกรณ์เก็บกัดละออง ป้องกันเชื้อโควิด เครื่องแรกของโลก


นักวิจัย มข.สร้าง”อุปกรณ์เก็บกัดละออง” ลดการกระจายเชื้อโรคจากการทำฟันได้ผล 99.9% เครื่องแรกของโลก เพื่อมาแก้ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของทันตแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ covid19 ที่ยังควบคุมไม่ได้ เพราะมีโอกาสเกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างทำหัตถการ ทำให้การทำงานด้านทันตกรรมมีความเสี่ยงทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย


         เมื่อเวลา 10:00 น. วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 ที่ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจโดยศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา จัดงานแถลงข่าว การถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานนวัตกรรม เรื่อง อุปกรณ์เก็บกักละออง ป้องกันเชื้อโรคจากการทำฟันเพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีร่วมด้วยศาสตราจารย์ธิดารัตน์  บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ศาสตราจารย์ผิวพรรณ  มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วม


          รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข.กล่าวว่า อุปกรณ์เก็บกักละออง” ลดการกระจายเชื้อโรคจากการทำฟันนี้ เป็นงานวิจัยร่วมกันของรองศาสตราจารย์สมเกียรติ  เหลืองไพรินทร์ อาจารย์ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทันตแพทย์สุรัตน์  ลีนะศิริมากุล ซึ่งงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของทันตแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ covid19 ที่ยังควบคุมไม่ได้ เพราะมีโอกาสเกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างทำหัตถการ ทำให้การทำงานด้านทันตกรรมมีความเสี่ยงทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย ซึ่งจุดเด่นในการใช้อุปกรณ์เก็บกักละอองนี้คือการป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค ช่วยลดการสัมผัสละอองที่ฟุ้งกระจายในขณะปฏิบัติงานได้ถึง 99.9 เปอร์เซนต์


    รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่าซึ่งทางทันตแพทย์สามารถใช้ครอบเฉพาะส่วนจมูกและปากคนไข้ ไม่มีส่วนหูของคนไข้อยู่ในกล่องจึงไม่เกิดเสียงกล้อง หรือดังรบกวนคนไข้ และวัสดุที่เป็นปลอกสวมแขนและฐานรอง เป็นวัสดุเดียวกันกับหน้ากากอนามัย (SMS Fabric) ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำซึมผ่านแต่อากาศไหลผ่านได้ดี โดยทางนักวิจัยได้มีการทดสอบการไหลของอากาศภายในเครื่องพบว่าอุปกรณ์ตัวนี้สามารถ ทำให้อากาศใหม่ที่เข้าไปภายในกล่อง ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 9 ลิตรต่อวินาที จึงมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยจะมีอากาศหายใจ อีกส่วนหนึ่งคือ เรื่องการทดสอบการต้านทานการหายใจ อุปกรณ์ตัวนี้ตรวจไม่พบแรงต้านการหายใจเลย ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกแม้จะนอนให้ทำฟันอยู่เป็นเวลานานก็จะไม่รู้สึกเหนื่อยแต่อย่างใด


          ด้านรศ.สมเกียรติ  เหลืองไพรินทร์ กล่าวว่า ในด้านของความปลอดภัยในการทำความสะอาดหลังจากทำหัตถการแล้ว ทางทีมงานวิจัยได้มีการออกแบบให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำการฆ่าเชื้อโดยการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ EOW (Electrolyzed Oxidizing Water) โดยต่อเครื่องอุปกรณ์ตัวนี้เข้าไปกับกล่องเก็บกักละอองบริเวณตำแหน่งเดียวกันกับที่ต่อเครื่องดูดอากาศ ซึ่งจากการทดสอบพบว่าตัวน้ำยา EOW มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้มากกว่า 99.9% หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นหรือใช้ทิชชู่เปียกที่อาบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเฉพาะทางทันตกรรมทำความสะอาดอีก หนึ่งรอบจะสามารถฆ่าเชื้อได้ 100% จะช่วยให้การทำงานของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ปลอดภัยและไม่ได้รับการติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ทางทันตกรรม.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads