วันศุกร์ 26 เมษายน 2024

หมอ โพสต์ บุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องการธงชาติคลุมร่างไร้วิญญาณ

หมอ โพสต์ บุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องการธงชาติคลุมร่างไร้วิญญาณ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

หมอ โพสต์ บุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องการธงชาติคลุมร่างไร้วิญญาณ


   เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่าต่อกรณีที่ผู้ใช้นาม Facebook ว่าSOMSAK TIAMKAO ซึ่งได้โพสต์ข้อความว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่ต้องการธงชาติคลุมร่างไร้วิญญาณ เราต้องการเกราะป้องกันตัว #ผู้ป่วยต้องหาย นะครับ #ไม่ต้องการหายนะครับ จากข้อความข้างต้น อธิบายเหตุผล พอเข้าใจ ดังนี้


บุคลากรทางการแพทย์และทีมงานด่านหน้าต้องเสียสละแค่ไหน ? เราไม่ต้องการธงชาติคลุมร่างไร้วิญญาณ เราต้องการเกราะป้องกันตัว เพื่อให้มีความปลอดภัยในการทำงาน เราต้องการเห็นจำนวนผู้ป่วยที่หาย นะครับ ไม่ต้องการเห็นความหายนะ


  ข่าวการเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด 2 ท่าน และจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิดมีจำนวนมากขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงการระบาดครั้งนี้ มีการพูดถึงวัคซีนเข็มที่ 3 สำหรับบุคลากรด่านหน้าที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากรูปแบบการทำงานที่มีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่าคนอื่นๆ นั้นก็มีการมองต่างมุมกันว่า เป็นการเอาเปรียบคนอื่นๆ ในสังคมหรือไม่ คนอื่นๆ ยังไม่ได้วัคซีนเข็มแรกเลย บุคลากรด่านหน้าจะได้เข็มที่ 3 แล้วเหรอ ผมขอแสดงความเห็นที่ท่านอาจเห็นด้วย หรือเห็นต่างก็ได้ ผมพร้อมรับความเห็น
1.เมื่อมีข้อมูลทางวิชาการอย่างแน่ชัดว่าการได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็มแล้ว ประสิทธิภาพที่ต้องการนั้นยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องฉีดเข็มที่ 3 ดังนั้นคนไทยที่ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็มไปทุกคนก็ต้องได้ เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น เพียงแต่ว่าบุคลากรทางการแพทย์ และทีมด่านหน้าควรได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ก่อนคนไทยกลุ่มอื่นๆ และต่อด้วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรคหลัก เป็นต้น 2.การทำงานที่หนักมากของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด และโรคอื่นๆ ดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสนาม ลงพื้นที่สอบสวนโรค และจะเพิ่มงานใหม่ คือ การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งงานทั้งหมดก็ทำโดยบุคลากรทีมเดียวกัน คนเดิมๆ ที่ปัจจุบันก็แบกงานต่างๆ ไว้จนหลังจะหักอยู่แล้ว ตอนนี้ทุกคนทำงานหนักมากจนเกิดอาการอ่อนล้าทั้งกายและใจ ที่เห็นจำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน เราต้องการเห็นจำนวนผู้ป่วยที่หาย นะครับ ไม่ต้องการเห็นความหายนะ 3.การเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากการทำงานไม่มีการปูนบำเน็จ หรือปรับชั้นยศราชการเหมือน ตำรวจ ทหาร ไม่มีสวัสดิการให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต

ไม่มีแม้กระทั่งธงชาติคลุมร่างที่ไร้วิญญาณของผู้มีจิตวิญญาณของการบริการ ทำงานด้วยความทุ่มเทตลอดชีวิตการทำงาน ดูแลสุขภาพคนอื่นๆ จนตนเองต้องมาติดเชื้อโรคร้ายและเสียชีวิต พวกเราไม่ต้องการธงชาติมาคลุมร่างหรอกครับ มันสายเกินไป พวกเราต้องการเกราะกำบัง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตในการทำงาน เช่น ชุด PPE อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อที่เป็นไปตามมาตรฐาน ห้องความดันลบที่ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย 4.พวกเราทำงานนอกเวลามาตลอดเวลาจนชิน จนไม่อยากบ่นแล้ว ไม่ได้เบิกเงินที่ทำงานเกินเวลา เพราะเราถือว่าเป็นหน้าที่ของเรา พวกเราแทบไม่มีเวลาให้ครอบครัวเลย เพราะงานของพวกเรานั้นมีความสำคัญกับชีวิตของคนเจ็บป่วยมาก เราถูกฝึก ถูกสอนมาตลอดให้ทุ่มเท เสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวม ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคล และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ พวกเราต้องประยุกต์ใช้ในสิ่งที่มีให้ทำงานได้ เพราะผู้ป่วยมารอเราอยู่หน้าโรงพยาบาลแล้ว ไม่รับรักษาก็ไม่ได้ รักษาไม่ดีผู้ป่วยก็อาจเสียชีวิต ดังนั้นพวกเราจึงทุ่มเท ทำงานหนักมาตลอด ยิ่งมาเกิดการระบาดของโรคโควิดนี้ ยิ่งทำให้เกิดการขาดแคลนคนในการทำงานอย่างเห้นได้ชัด ถึงเวลาที่ท่านผู้มีอำนาจต้องแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง สิ่งที่ผมกลัว คือ ความลืมง่ายของผู้บริหาร เมื่อเกิดปัญหาก็รับปากว่าจะแก้ แต่พอเวลาผ่านไป ก็ลืมคำสัญญาเหล่านั้น


      ปัจจุบันคนไทยต้องช่วยเหลือกันเอง โรงพยาบาลขาดอะไร ต้องการอะไร คนทั้งประเทศพร้อมช่วยเหลือ เราต้องให้คนเล่าข่าว ดารา สื่อออนไลน์ต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง เพราะพวกเราบอกท่านผู้มีอำนาจว่าขาดแคลนอะไร ต้องการอะไร ท่านก็ตอบว่ารองบประมาณ ไม่มีงบประมาณ เป็นคำตอบที่ง่าย สั้น แต่โคตรทำร้ายจิตใจของเราที่ทุ่มเทในการทำงานเพื่อคนไทย เพื่อนร่วมชาติของเรา
   ผมนำเสนอความคิดนี้ เพื่อเตือนตัวเอง เตือนเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพว่าเราต้องเสียสละอีกแค่ไหน ผู้มีอำนาจจึงจะเข้าใจ และพร้อมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยสติปัญญา และคุณธรรมในหัวใจของท่าน
การออกแบบระบบบริการทางการแพทย์ในช่วง covid crisis ของจังหวัดขนาดใหญ่ ระบบการบริการทางการแพทย์ไทยนั้นมีโรงพยาบาลเอกชนร่วมให้บริการด้วย ดังนั้นในช่วงเวลานี้ที่โรงพยาบาลของรัฐขาดแคลนเตียงอย่างมาก ทั้งผู้ป่วยโควิด 19 และผู้ป่วยโรคอื่นๆ ดังนั้นผู้มีอำนาจควรขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลเอกชน และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนก็ควรให้การสนับสนุนโรงพยาบาลเอกชนร่วมให้บริการในช่วงเวลานี้ด้วย
1.โรงพยาบาลเอกชนควรรับดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว สีเหลืองเหมือนโรงพยาบาลของรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช. และตามสิทธิการรักษา หรือประกันชีวิต ส่วนผู้ป่วยสีแดงก็ขึ้นกับศักยภาพของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งในจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น ขอนแก่นนั้น ผมเชื่อมั่นว่าสามารถดูแลผู้ป่วยสีแดงได้ 2.โรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งปัจจุบันนั้นแบกรับงานบริการในทุกๆ โรคไว้อย่างมาก ช่วงนี้ต้องลดงานบริการโรคอื่นๆ ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก คือ กลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCD) ให้ใช้ระบบการส่งยาถึงบ้าน และผู้ป่วยในที่มีอาการไม่มาก พิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนำพื้นที่หอผู้ป่วยปกติ มาปรับเป็น cohort ward สำหรับผู้ป่วยโควิด3.พัฒนาและยกระดับความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโควิดระดับความรุนแรงสีเขียว สีเหลืองอ่อนที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน ได้ในทุกโรงพยาบาลชุมชน และสีเหลืองที่ต้องใช้ออกซิเจนในโรงพยาบาลที่มีอายุรแพทย์ หรือกุมารแพทย์ ถ้าไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้นอันตรายมากในการดูแลผู้ป่วยระดับความรุนแรงที่เหลือง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเป็นสีแดงได้ตลอดเวลา
   4. ถ้าโรงพยาบาลเอกชนไม่สามารถร่วมรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองได้ ก็ควรรับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ไปรักษา ด้วยการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามระบบของโรงพยาบาลรัฐ เพื่อเป็นการช่วยเหลือสังคมบ้างในยามวิกฤติเช่นนี้ 5. การใช้โรงเรียนในชุมชนเป็น community isolation ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขตำบล 6. ลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของโรงพยาบาลลงไป เช่น การเก็บตัวชี้วัดต่างๆ งานด้านเอกสาร งานด้านคุณภาพ ตลอดจนการประชุมต้องกระชับ ใช้ระบบการประชุมออนไลน์ให้มากที่สุด การตรวจราชการ หรืองานอะไรที่ต้องใช้คน และเวลามากๆ นั้น ควรงดไปก่อน เน้นการแก้ปัญหาเร่งด่วนก่อน 7.ควรเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนต่างๆ ให้กับบุคลากร เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ


8. นโยบายควรถูกกำหนดและออกแบบมาจากส่วนกลาง และของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับโรงพยาบาลจังหวัดอย่างชัดเจน พร้อมการสนับสนุนทั้งงบประมาณ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ 9.ควรร่วมมือกับหอการค้าจังหวัด หรือสมาคมองค์กรเอกชนต่างๆ เพื่อให้การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบในทุกมิติ รวมทั้งการสนับสนุนที่ดีจากภาคเอกชน 10.   กฏ ระเบียบใดๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานั้น ผู้มีอำนาจสูงสุดในแต่ละภาคส่วนต้องรีบดำเนินการหาทางแก้ไข และรีบตัดสินใจอย่างรวดเร็ว กล้าที่จะต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจนั้นๆ อย่างกล้าหาญ
ในห้วงเวลานี้ การร่วมแรง ร่วมใจกัน ทำงานอย่างสามัคคีของทุกภาคส่วน มิใช่เฉพาะทีมสาธารณสุขเท่านั้น ถึงจะสามารถแก้ปัญหาครั้งนี้ได้.

 

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads