วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

จ.ขอนแก่น จัดกิจกรรม วันดินโลก

จ.ขอนแก่น จัดกิจกรรม วันดินโลก
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

จ.ขอนแก่น จัดกิจกรรม วันดินโลก

เพื่อหาแนวทางการใช้กากตะกอนรีตเพื่อเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตผักทานใบและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของกากตะกอนรีตต่อปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักและการสะสมโลหะหนักในผักคะน้าและในดิน ตลอดจนเพื่อน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน : Change for Good


เมื่อวันที่ 16 มีนาคม2566 ที่ แปลงเกษตรกร นางอุษา มิเถาวัลย์ หมู่ที่ 11 ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายธงชัย มูลคำศรี เกษตรจังหวัดขอนแก่น นางสุกัญญา ทวีกิจ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่น นายประจวบ รักแพทย์ นายอำเภอเมืองขอนแก่น หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองขอนแก่น ร่วมกิจกรรม วันดินโลก World Soil Day เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ ของทรัพยากรดิน และเพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ ORGANIC WESTE TO ORGANIC MATTER การใช้กากตะกอนรีดจากโรงงานแปรรูปสุกรเพื่อเพิ่มความอุดสมบูรณ์ของดินและการเกษตรที่ยั่งยืนระยะที่ 1 การผลิตผัก โดยได้คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ คือ นางอุษา มิเถาวัลย์ หมู่ที่ 11 ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของบริษัทเบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเทศบาลตำบลพระลับ

 

นายไกรสร กองฉลาด

นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าวัตถุประสงค์การจัดงาน เพื่อหาแนวทางการใช้กากตะกอนรีตเพื่อเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตผักทานใบและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของกากตะกอนรีตต่อปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักและการสะสมโลหะหนักในผักคะน้าและในดิน ทั้งนี้บริษัทเบทาโกได้สนับสนุนกากตะกอนรีดที่ได้รับการรับรองจากกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตรว่ามีธาตุอาหารที่มีประโยชน์สำหรับพืช ให้กับเกษตรผู้สนใจในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่นฟรี เพื่อใช้เป็นวัตถุปรับปรุงบำรุงดินลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กลุ่มเกษตรกร มีกลุ่มเกษตรกรประสงค์ขอรับกากตะกอนรีตฯ จำนวน 9 กลุ่ม


การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวได้น้อมนำศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืน และบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads