วันศุกร์ 3 พฤษภาคม 2024

“คณะเกษตร มข.” จัดประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติครั้งที่ 8

“คณะเกษตร มข.” จัดประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติครั้งที่ 8
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“คณะเกษตร มข.” จัดประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติครั้งที่ 8


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร”พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพืชวงศ์ถั่วประเทศไทย


เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ที่ ห้องประชุม 7011 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุม และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพืชวงศ์ถั่วประเทศไทย
ครั้งที่ 8 ได้แก่ 1.นายสมศักดิ์ อิทธิพงษ์ ข้าราชการบำนาญ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,2.นายสมชาย ผะอบเหล็ก ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,3.ผศ.ดร. จิรวัฒน์ สนิทชน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และ 4.ดร.นิสา มีแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการดินด้วยระบบพืช กองวิจัยและพัฒนาการจัดการ ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พืชวงศ์ถั่ว เป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจและสังคมไทยมานาน โดยมี ผศ.ดร.ปิยะ กิตติภาดากุล นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน ศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ศฎาวุฒิ กุลมณี รองกรรมการผู้จัดการบริหารสายงานวิจัยและพัฒนา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด คณะผู้บริหารคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ร่วมงาน

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและใช้ประโยชน์จากพืชวงศ์ถั่ว อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และถั่วอื่น ๆ ในแต่ละปีจึงมีการหมุนเวียนของเงินตราในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การผลิต การตลาด การแปรรูป และการใช้ประโยชน์ ทั้งภายในและต่างประเทศ มูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม การผลิตถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และถั่วอื่น ๆ ของประเทศไทย ยังมีปัญหาผลผลิตต่ำ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะถั่วเหลืองที่นำเข้ามากกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการใช้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาพืชวงศ์ถั่วอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูลถั่วของประเทศ ให้ผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น สามารถลดการนำเข้า นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ในที่สุด

รศ.ดร.ดรุณี กล่าวและว่า การประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติ จัดต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน โดยจัดครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2549 และจัดต่อเนื่องทุก 2 ปี โดยการจัดครั้งล่าสุด ครั้งที่ 7 จัดเมื่อปี 2562 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก และได้เว้นไปในปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด การประชุมวิชาการพืชวงศ์ถั่วแห่งชาติครั้งที่ 8 จัดโดย สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมวิจัย พืชวงศ์ถั่วไทย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร” โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และพืชวงศ์ถั่วชนิดอื่นของหน่วยงานต่าง ๆ
2) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม นำไปสู่การวางแผนงานวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชวงศ์ถั่วของประเทศ
3) เพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตพืชวงศ์ถั่วเพื่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

ผศ.ดร.ปิยะ กิตติภาดากุล
ด้าน ผศ.ดร.ปิยะ กิตติภาดากุล นายกสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน บรรยายพิเศษ 2 เรื่อง คือ “นวัตกรรมวิจัยพืชวงศ์ถั่ว: พืชอาหารแห่งอนาคต…โอกาสและความท้าทายของประเทศไทย” และ “การขับเคลื่อนถั่วเหลืองของประเทศในมุมมองของภาคเอกชน” นอกจากนี้ มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ “เทคนิคการเขียนข้อเสนองานวิจัยเพื่อให้ได้ทุน” และ “เทคโนโลยีใหม่ในการตรวจสอบความแตกต่างทางพันธุกรรม” และการเสวนา 1 เรื่อง คือ “พืชวงศ์ถั่ว..ทางรอดประเทศไทยกับความมั่นคงทางอาหาร” สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยรวมจำนวน 55 เรื่อง แบ่งเป็น ภาคบรรยาย จำนวน 14 เรื่อง และภาคโปสเตอร์ จำนวน 41 เรื่อง และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย และแสดงผลิตภัณฑ์ จากภาครัฐและเอกชน
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจ จากหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชน รวมจำนวนทั้งสิ้น 120 คน

นายสมศักดิ์ อิทธิพงษ์

นายสมชาย ผะอบเหล็ก

ผศ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน

ดร.นิสา มีแสง
“ผลจากการประชุมจะช่วยพัฒนาต่อยอดงานวิจัย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพืชวงศ์ถั่วของประเทศไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นำมาซึ่งความมั่นคงด้านอาหารและความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตร และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในที่สุด”

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads