วันพฤหัสบดี 2 พฤษภาคม 2024

 “กขป.7”หนุนศูนย์เรียนรู้ “ชุมชนคนพิเศษ”

 “กขป.7”หนุนศูนย์เรียนรู้ “ชุมชนคนพิเศษ”
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “กขป.7”หนุนศูนย์เรียนรู้ “ชุมชนคนพิเศษ”


พัฒนาเด็กออทิสติกเปิดช่องทางอาชีพ ชูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” โดยการสนับสนุนของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.)จัดเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ แต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท


เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า จากการที่ รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ได้ออกอาศในหัวข้อ “ชุมชนคนพิเศษ”ถ่ายทอดสดจากศูนย์เรียนรู้ผู้ปกครองบุคคลออทิสติกบ้านโนนกู่ ตำบลสาวะถื อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วยนายวิรัช มั่นในบุญธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น ,ดร.ธิรากร มณีรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลขอนแก่น ,ประธานศูนย์บริการคนพิการสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น,นางสาวสาหร่าย ซื่อตรง นักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น และนางนิถุมล กองมณี กรรมการศูนย์บริการคนพิการสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น


ดร.ธิรากร มณีรัตน์ เกริ่นนำถึงสภาวะความบกพร่องของกลุ่มเด็กออทิสติกว่าสังคมมักจะมองว่าเป็นคนพิการ ซึ่งเป็นคำที่แสลงใจ เราจึงนิยามคำเรียกเข่าเหล่านี้ว่าเป็นคนพิเศษ เนื่องจากเขามีระบบการรับรู้บกพร่อง ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ทางโรงเรียนระบบปกติปฏิเสธไม่รับเข้าเรียนในระบบเมื่อมาอยู่ที่นี่ทางศูนย์ฯต้องปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เขาอยู่ได้อย่างสบายใจ จำลองสถานการณ์และสภาพแวดล้อมให้เหมือนสังคมจริงจากภายนอก เช่น ฝึกการทำงานบ้าน งานสวน งานครัว เพื่อเตรียมพร้อม พัฒนาศักยภาพให้เขาออกไปสู่โลกภายนอกได้อย่างมั่นใจ
เมื่อถามว่าเด็กที่จะเข้ามาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ดร.ธิรากร มณีรัตน์ ตอบว่าไม่มีข้อจำกัดใดๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายขอเพียงให้ผู้ปกครองไว้วางใจเรา เท่านั้นพอ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มาไกลมาจากต่างถิ่น
ส่วนนายวิรัช มั่นในบุญธรรม เล่าถึงที่มาของศูนย์ฯว่า ก่อนหน้านั้นคณะทำงานก็ทำงานด้านนี้มาร่วม 20 ปีโดยมีพื้นที่ทำงานอยู่ภายในโรงพยาบาลขอนแก่น ต่อมาจึงมาได้มีผู้บริจาคที่ดินจัดตั้งเป็นศูนย์คนพิการ ช่วงยุคก่อนโควิดระบาดทำงานด้านสุขภาพบัญญัติ เชื่อมประเด็นคนพิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผลักดันให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมเช่น การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล การเข้าถึงระบบการศึกษา ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง โดยทำงานเชื่อมกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขตพื้นที่ 7 (กขป.7) อันเป็นผลพวงเกิดความร่วมมือทุกภาคส่วนระดมความช่วยเหลือจนเป็นรูปธรรม และหวังไว้ว่าศูนย์แห่งนี้จะเป็นโมเดลการเรียนรู้ระดับประเทศต่อไป


ด้านนางนิฤมล กองมณี เล่าถึงบทบาทการทำงานของสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่นว่าเดิมทีสมาคมๆมีพื้นที่ทำงานเล็กๆอยู่ในโรงพยาบาลขอนแก่น ต่อเมื่อมีที่ดินจัดตั้งศูนย์จึงมีบุคลากร เจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น หลายสาขามีทั้งฝึกอาชีพงานเกษตร งานธุรการ ทำงานเสมือนจริงเราเป็นโค้ชร่วมกับผู้ปกครอง
ในขณะที่เด็กบางคนก็ไม่มีผู้ปกครองอยู่ด้วย ส่วนสวัสดิการตามกฎมายได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 35 กล่าวคือพรบ.พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ได้ระบุ ให้สถานประกอบการที่มีแรงงานตั้งแต่100 คนขึ้นไปจ้างแรงงานผู้พิการทำงานในสัดส่วน 100 ต่อ 1 คน บางบริษัทใหญ่ที่กรุงเทพฯไม่สะดวกที่จะจ้างแรงงานคนพิการก็ใช้วิธีช่วยเหลือเป็นเงินสวัสดิการแทนโดยจ่ายผ่านอบต.ตามสิทธิ์ค่าแรงขั้นต่ำ
นายวิรัช มั่นในบุญธรรม เล่าถึงกระบวนการฟื้นฟูฝึกฝนทักษะ เช่น พัฒนาการกล้ามเนื้อ เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีมาตรฐานโดยทำงานร่วมกับ โครงการรอบรู้สุขภาพ กรมอนามัยซึ่งเป็น 1 ใน 13 แห่งทั่วประเทศ ส่วนคำถามเป้าหมายการทำงาน นายวิรัช ตอบว่าตนอยากเห็นทุกภาคส่วนผลักดันเพื่อเตรียมเด็กออกสู่สังคมภายนอกใช้ชีวิตอย่างปกติอย่างมีคุณภาพ ตนไม่อยากเห็นสังคมมองว่าเขาเหล่านี้คือปัญหาและอยากให้รับรู้ว่าศูนย์นี้คือสถานที่ก่อการดี มีสภาพแวดล้อมดี ฝึกอาชีพทำการเกษตร เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผัก ฟาร์มเห็ด ล่าสุดมีร้านกาแฟ ภายในศูนย์ซึ่งเด็กพิเศษเหล่านี้บริหารกันเอง เป็นการฝึกทักษะ การชง การชั่งตวงวัด ที่มีมาตรฐาน มีออร์เดอร์เข้ามาตลอด เราไม่เน้นกำไรแต่เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต่อไปวางแผนจะพัฒนาเพิ่มโฮมสเตย์รองรับนักท่องเที่ยวและผู้ปกครองที่มาเยี่ยมบุตรหลานอีกด้วย
เมื่อถามถึงปัญหาอุปสรรคนายวิรัช กล่าวว่าอันที่จริงตามข้อกฎหมายภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาครัฐ มีความพร้อมอยู่แล้วแต่หาจุดลงไม่ได้เพราะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ในขณะที่ผู้ฟังทางบ้านถามว่าปัญหาทั่วไปมีอะไรบ้าง นายวิรัช ตอบว่าปัญหาส่วนใหญ่ไม่มีอะไรน่าหนักใจแต่ตนอยากเห็นความร่วมมือการระดมสรรพกำลังช่วยกันเป็นพิเศษ เรื่องงบประมาณตนไม่ห่วงแต่เป็นห่วงเรื่องการบริหารจัดการมากกว่า
ส่วนที่มาของชื่อชุมชนอัจฉริยะนางสาวสาหร่าย ซื่อตรง นักพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดขอนแก่น อธิบายว่าเกิดจากแนวคิดของ นายบุรี เสรีโยธิน นายกสมาคมฯที่มองศักยภาพจ.ขอนแก่นเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ เพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีจึงตั้งเป็นชื่อชุมชนดังกล่าว ส่วนข้อสงสัยถึงการได้สิทธิ์เข้ามาอยู่ในศูนย์แห่งนี้ นางสาวสาหร่าย ซื่อตรง ลงราย
ละเอียดว่าทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันโดยไม่มีปิดกั้นไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ประการใดเพียงแค่สมัครเป็นสมาชิกสมาคมฯตลอดชีพเพียง
100 บาทก็ได้สิทธิ์นั้น และเมื่อผ่านกระบวนการฝึก มีความพร้อมด้านทักษะกล้ามเนื้อ สมอง อายุ18 ปีขึ้นไปก็สามารถที่จะออกไปทำงานข้างนอกได้หรือใช้ชีวิตตามปกติได้
ทั้งนี้คณะทำงานได้กล่าวย้ำถึงกระบวนการฝึกกล้ามเนื้อ พัฒนาสมอง อารมณ์ ฝึกระเบียบ ฝึกประสาทสัมผัส โดยมีฐานฝึก 12 ฐาน และครั้งนี้ผู้ดำเนินรายการได้ส้มภาษณ์เด็กพิเศษที่มีปัญหาด้านประสาทสัมผัสปผิดปกติ กล้ามเนื้อตาอ่อนไม่มีสมาธิ ระบบประสาทไม่ส้มพันธ์กัน และชมผลงานที่เกิดจากการพัฒนาเรียนรู้ของศูนย์แห่งนี้ด้วย
ในตอนท้ายนายวิร้ช มั่นในบุญธรรม กล่าวถึงการทำงานกับเด็กพิเศษโดยยอมรับว่าทำยากแต่ต้องพยายาม แต่หากได้รับการช่วยเหลือแบ่งปันตามสมการสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น พร้อมระบุการทำงานร่วมกับสมัชชาสุขภาพที่ร่วมผลักดัน กขป.7 จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งในตอนท้ายนายวิรัช กล่าวเป็นแนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อย่ามองว่าเขาเป็นปัญหาสังคม อยากให้สังคมหยิบยื่นโอกาสเหล่านั้นเพื่อที่จะให้เขาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในสังคมต่อไป.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads