วันพฤหัสบดี 2 พฤษภาคม 2024

“สถาบันฯครูสำหรับอาเซียน มข.”ติวเข้ม!ผู้บริหารสถานศึกษา – ศึกษานิเทศก์ และครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทย

“สถาบันฯครูสำหรับอาเซียน มข.”ติวเข้ม!ผู้บริหารสถานศึกษา – ศึกษานิเทศก์ และครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทย
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “สถาบันฯครูสำหรับอาเซียน มข.”ติวเข้ม!ผู้บริหารสถานศึกษา – ศึกษานิเทศก์ และครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทย

9 ปีต่อเนื่อง สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษาศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์และมูลนิธิศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สร้างเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมมือพัฒนาโรงเรียน รวมทั้งพัฒนาโรงเรียน ในโครงการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู โดยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด(TLSOA)


     เมื่อเวลา 08.30 นวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุม 2301 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนอาคาร 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษา ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ และมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดจัดงานสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษานิเทศก์ ภายใต้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีแบบเปิด (Thailand Lesson study incorporated with Open Approach: TLSOA) โดยพิธีเริ่มในเวลา 08:45 น. รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ กล่าวรายงานและได้รับเกียรติจากศ.ดร.มนค์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดี มข.(ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา)เป็นประธานกล่าวเปิดงานรวมถึงได้ให้เกียรติกล่าวว่า ปาฐกถา พิเศษเรื่องนวัตกรรมทางการศึกษาของสถาบันกับ societal Contributions ให้กับผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทยที่เดินทางมาร่วมการสัมนา ที่ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูอาเซียน และผู้เข้าร่วมงานทางออนไลน์จำนวนกว่า 400  คน


    ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษและการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการต่อการใช้นวัตกรรมและความร่วมมือการพัฒนาวิชาชีพครูการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาโรงเรียนในมิติต่างๆจากผู้สู่คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อต่างๆอาทิการบรรยายพิเศษเรื่อง 20 ปีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากรรมการสถาบันพระบรมราชชนก และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนบรรยายพิเศษเรื่องนวัตกรรมชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิดโดยรศ.ดรไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น

รศ.ดรไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
    รศ.ดรไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่นและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า วันนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดี มข.(ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา)เป็นประธานกล่าวเปิดแทนท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้แทนจากช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟุกุอิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มาศึกษาดูงาน วิจัยเชิงนวัตกรรมเชิงการศึกษาที่เราทำมา 20 ปี ไปพร้อมกันสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีมายาวนาน


ตอนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดสรรงบประมาณ จากสำนักงบประมาณ ในช่วงปีงบประมาณ 2557 ถึงปี พ.ศ. 2561 แล้วได้มีโครงการที่เรียกว่าโครงการคิดชั้นสูง คณิตศาสตร์เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำ จะได้เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการประมาณร้อยกว่าโรงเรียน ก็เลยมีแนวคิดว่าถ้าโครงการหมดไป จะทำอย่างไหรให้มีความยั่งยืน ถ้าเป็นกระทรวงสั่งแล้วจะไม่ยั่งยืน ถ้าอย่างนั้นคุณคิดว่าชวนท้าทายดูบ้าง ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ที่ทำงานร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน อย่างเช่นศึกษานิเทศก์ รวมตัวกันตั้งชมรม คิดว่าถ้าเขาทำด้วยใจของเขาเอง อันนี้จะยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการสัมมนา อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ต้องเป็นการสัมมนาที่แบบพูดคุยกัน กับผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งมีผู้หลักผู้ใหญ่ใน กระทรวง ที่จะมางานมุทิตาจิตในตอนเย็น แล้วก็มีการแชร์ประสบการณ์ในการทำงานด้วย ในภาคปฏิบัติ และก็เป็นการสัมมนาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ก็ประมาณ 10 กว่าปีแล้ว


ซึ่งในตอนนี้ผู้บริหาร สถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่มาร่วมพร้อมทั้งเครือข่ายที่ควบคุมทั่วทั้งประเทศ น่าจะเป็นความยั่งยืน ทำให้งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่ลงมือทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตอนนี้ก็ขยายผลไปในเขตอาเซียนแล้ว เพื่อให้ยั่งยืนและให้เป็นประโยชน์ และเป็นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจารย์ Prof. Yutaka Ohara จากสถาบันยุทธศาตร์แห่งชาติประเทศญี่ปุ่น ก็ได้มีโอกาสมาติดตาม ดูงานหรืองานวิจัย ของเราที่ทำมา 20 กว่าปีนี้ จะสามารถร่วมพัฒนากับประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะเผยแพร่ ไปยังประเทศอื่นได้หรือไม่ เลยได้เชิญอาจารย์มาร่วมงานในวันนี้.


     

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads