วันพุธ 1 พฤษภาคม 2024

แห่ !เซลฟี่ ทานตะวันบาน ที่ “ร.ร.บ้านทุ่ม”(ทุ่มประชานุเคราะห์)Landmark แห่งใหม่ ของ จ.ขอนแก่น

แห่ !เซลฟี่ ทานตะวันบาน ที่ “ร.ร.บ้านทุ่ม”(ทุ่มประชานุเคราะห์)Landmark แห่งใหม่ ของ จ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

แห่ !เซลฟี่ ทานตะวันบาน ที่ “ร.ร.บ้านทุ่ม”(ทุ่มประชานุเคราะห์)Landmark แห่งใหม่ ของ จ.ขอนแก่น

การ“ปลูกทานตะวันได้อะไร ๆ มากกว่าที่คิด”ได้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการเพาะต้นกล้า วิธีการปลูก วิธีการดูแลบำรุงรักษา อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ดอกที่สวยงาม ด้วยความสามัคคี มุ่งมั่นขยันอดทน และนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกสร้าง ออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชดอกและทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน


   เมื่อวันที่ 11 ก.พ 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ บริเวณหน้าอาคารไตรสิกขา โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) เลขที่ 366 หมู่ที่ 2 ต.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้รับความอนุเคราะห์จากนายสันติ มุ่งหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) และนางสาวรติรัตน์ ชนะกาศรี รองผู้อำนวยการโรงเรียนฯ นำพาชมสถานที่กิจกรรม ทานตะวันบาน
ที่บ้านทุ่ม ภายใต้หลักการแนวคิด “ปลูกเป็น เห็นคุณค่า บูรณาการ”ร่วมกันเรียนรู้ชีวิตและคุณค่าของดอกทานตะวัน ในโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์)

นายสันติ มุ่งหมาย
นายสันติ มุ่งหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) เปิดเผยว่าผู้ร่วมกิจกรรมในการทุ่งทานตะวัน เป็นผลงานฝีมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีครูที่ปรึกษา นางพัชราพร ศิริพันธ์บุญ และ นางจามรี สุวรรณราช ซึ่งใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สถานที่คือ บริเวณหน้าอาคารไตรสิกขา โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุมประชานุเคราะห์) เลขที่ 366 หมู่ที่ 2 ต.บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น


นายสันติ เปิดเผยด้วยว่าที่มาจากการประชุมสมาชิกกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กลุ่ม ป.3-4 A ที่ประชุมมีมติกำหนดหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง “ทานตะวันบาน ณ บ้านทุ่ม” เพื่อพัฒนาสถานที่ในโรงเรียนที่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าจากการรื้อถอนอาคารไม้หลังเก่า ให้เป็นสถานที่ปลอดภัย ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าทั้งนักเรียน บุคลากร และชุมชน จึงได้จัดการเรียนการสอนบูรณาการวิทย์พลัง 10 และวิชาการงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับ Active Learning 6


นายสันติ เปิดเผยอีกว่าขั้นตอน ขึ้นวัตถุประสงค์1. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้เชิงธรรมชาติในโรงเรียน 2. เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติให้มีในชุมชน3. เพื่อจัดทำหลักสูตรบูรณาการเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก 4. เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้งด้านความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร เทคโนโลยี และทักษะชีวิต หลักการแนวคิด โรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์) ดำเนินการจัดทำกิจกรรม ทานตะวันบาน ที่บ้านทุ่ม ภายใต้หลักการแนวคิด ดังนี้ คือ “ปลูกเป็น เห็นคุณค่า บูรณาการ”ร่วมกันเรียนรู้ชีวิตและคุณค่าของดอกทานตะวัน ในโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์)


ครูที่ปรึกษา นางพัชราพร ศิริพันธ์บุญ และ นางจามรี สุวรรณราช ได้ร่วมกันเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่าการ“ปลูกทานตะวันได้อะไร ๆ มากกว่าที่คิด”ได้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการเพาะต้นกล้า วิธีการปลูก วิธีการดูแลบำรุงรักษา อย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ดอกที่สวยงาม ด้วยความสามัคคี มุ่งมั่นขยันอดทน และนักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกสร้าง ออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชดอกและทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนในการได้กระบวนการคิดที่จะนำไปสู่การประกอบอาชีพได้.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads