วันอาทิตย์, 8 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
สุดยอด!นักเรียนสาธิตฯ มข.คว้าเหรียญทอง คณิตคิดเร็วชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 67

สุดยอด!นักเรียนสาธิตฯ มข.คว้าเหรียญทอง คณิตคิดเร็วชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 67

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

สุดยอด!นักเรียนสาธิตฯ มข.คว้าเหรียญทอง คณิตคิดเร็วชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 67


เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ด.ญ.ธนัญชนก พิระชัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ได้รับรางวัลเหรียญทอง คณิตคิดเร็ว รุ่นอายุ 12 ปี การแข่งขันคณิตศาสตร์และคณิตคิดเร็วชิงแชมป์ระดับประเทศ ประจำปี 2567 ณ บางนาฮอลล์ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลบางนา กรุงเทพมหานคร  จัดโดยสมาคมลูกคิดและคณิตศาสตร์นานาชาติ (ประเทศไทย) 

ด.ญ.ธนัญชนก พิระชัย
ซึ่งจากการเดินทางของ ด.ญ.ธนัญชนก กับรางวัลในครั้งนี้ เริ่มต้นจากผู้ปกครองที่คอยสนับสนุนอยู่ที่บ้านและหยิบยื่นข่าวสารการแข่งขันมาให้ ทำให้เธอตัดสินใจเลือกนำความชอบของตัวเองเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาเป็นความท้าทายใหม่ในการแข่งขัน คณิตศาสตร์และคณิตคิดเร็วชิงแชมป์ระดับประเทศ ประจำปี 2567 แม้จะมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำโจทย์มาบ้างแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ การฝึกซ้อมและการแบ่งเวลาที่ ด.ญ.ธนัญชนก ไม่เคยขาด ช่วงยามมีเวลาว่างก็มักจะฝึกฝนทำโจทย์อยู่เสมอทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน


“ที่โรงเรียนคุณครูก็จะช่วยหาโจทย์คณิตคิดเร็วมาให้ทำ ส่วนตัวหนูก็ฝึกซ้อมทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และทุกวันหยุด เพื่อให้ตัวเลขแต่ละตัวชินตา เวลาเห็นโจทย์จะได้ไม่เสียเวลา เห็นแล้วตอบได้เลย หลังจากฝึกทำโจทย์ครบทุกข้อก็จะเอาคะแนนมาเปรียบเทียบกันเพื่อเช็กว่าพัฒนาการว่าเราทำดีขึ้นไหม แต่ฝึกแบบไม่เครียดนะคะ เพราะหนูชอบคณิตศาสตร์ เพราะไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา ทำแล้วมันสนุกเหมือนเล่นเกม พอเราทำข้อนี้ได้แล้วก็เหมือนได้ผ่านด่าน เคลียร์เควสไปเรื่อย ๆ ”
แม้จะมีเวลาฝึกซ้อมไม่มากอย่างที่ควรจะเป็น แต่ท่ามกลางผู้เข้าแข่งขันกว่า 50 คนจากทั่วประเทศไทย ด.ญ.ธนัญชนก นำประสบการณ์และความพยายามทั้งหมดมาใช้กับโจทย์คณิตคิดเร็ว 100 ข้อ ที่มาเป็นด่านต่าง ๆ ให้ผ่านไปได้มากที่สุดภายในเวลา 3 นาที และสุดท้ายเธอก็ทำได้ทั้งหมด 82 ข้อ จนคว้ารางวัลเหรียญทองมาได้ในที่สุด และกลายเป็นความภูมิใจและดีใจที่ทำให้ผู้ปกครองมีความสุขได้ และอยากส่งกำลังใจให้เพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ที่สนใจการแข่งขันแบบนี้ว่า “ไม่อยากให้คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องยาก ถ้าเราไม่คิดว่ามันเป็นปัญหา ทุกคนก็จะทำได้”
ด้านอาจารย์ทักษยา  วงค์คำภา อาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) กล่าวว่า โดยปกติแล้วทางโรงเรียนจะเปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถอยู่เสมอ โดยหากมีการแข่งขันที่น่าสนใจจะเปิดคัดเลือกนักเรียนเพื่อให้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขัน พร้อมสนับสนุนการฝึกซ้อมผ่านคลินิกคณิตศาสตร์ เพื่อให้คำแนะนำ เทคนิคต่าง ๆ เสริมทักษะให้นักเรียนนอกเหนือจากในห้องเรียน โดย ด.ญ.ธนัญชนก เองถือว่าเป็นเด็กที่มีความโดดเด่นในด้านการทำโจทย์แข่งขัน และมีวินัยในการฝึกทำโจทย์ถึงแม้ว่าจะเรียนในห้องเรียนหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ ภาษา และคณิตศาสตร์ แต่ก็ยังแบ่งเวลาฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ในอนาคตทางโรงเรียนก็ยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนทุกคนและจะมุ่งมั่นสนับสนุนเพื่อต่อยอดความพยายามของนักเรียนต่อไป.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD