วันศุกร์, 6 ธันวาคม, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
“กฟก.ขอนแก่น”เร่งช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวหลังราคาตกต่ำ ภาระหนี้สินมากขึ้น

“กฟก.ขอนแก่น”เร่งช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวหลังราคาตกต่ำ ภาระหนี้สินมากขึ้น

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

 “กฟก.ขอนแก่น”เร่งช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวหลังราคาตกต่ำ ภาระหนี้สินมากขึ้น

โครงการต่างๆที่เสนอผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หรือจังหวัดอื่นต้องความพร้อมในกลุ่มต้องมีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งมีความพร้อมของรายบุคคล เนื่องจากกองทุนมีเงินช่วยเสริม


เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ ห้องประชุมแก่นขาม ชั้น 2 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น   (กฟก.จ.ขอนแก่น) ครั้งที่ 7/2567 เพื่อรับหลักการในการประชุมทราบ โดยมี ว่าที่ร้อยตรีทองประสาน ผิวทูม เกษตรจังหวัดขอนแก่น ,ดร.สมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น,นายสุรชัย วิชาชัย หัวหน้ากลุ่มงานกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ตัวแทนพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ,นายพิภพ เพียวิเศษ อดีตปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร ตลอดจนคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนฝ่ายเลขา และเจ้าหน้าที่ ฯเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง


โดยมีระเบียบวาระการประชุม ซึ่งประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบมติที่ประชุม ครั้งที่ 6/2567 ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งมีระเบียบวาระต่างๆที่น่าสนใจ ที่นำมาหยิบยกและพูดคุยกัน คือ โครงการเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ประเภทงบกู้ยืมขององค์กร ซึ่งได้มีการแสดงความเห็น และข้อเสนอของสำนักงานสาขา ในการแสดงเห็นชอบการกลั่นกรองแผน และโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือ เนื่องจากในปัจจุบัน ราคาโคกระบือ ลดลงต่ำ แต่ราคาแผงขายเนื้อ กับราคาอยู่ที่ 300-280 บาท ซึ่งเรื่องดังกล่าว ที่ประชุมได้ให้นายพิภพ เพียวิเศษ อดีตปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร ลุกขึ้นชี้แจงแสดงความคิดเห็น

นายพิภพ​ เพีย​วิเศษ
   นายพิภพ​ เพีย​วิเศษ​ อดีตปศุสัตว์​จังหวัด​สมุทรปราการ และอดีตปศุสัตว์​จังหวัด กล่าวว่า อยากจะเสนอแนะเกษตรกรที่ขอกู้เงิน ในการเลี้ยงโคและกระบือ ในโครงการต่างๆที่เสนอผ่านกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นหรือจังหวัดอื่นก็ตาม อันดับแรกความพร้อมของท่านเอง ในกลุ่มของท่านเองต้องมีความเข้มแข็ง อันที่ 2 คือมีความพร้อมของรายบุคคล เนื่องจากกองทุนมีเงินช่วยเสริม ท่านต้องมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นโรงเรือน แปลงหญ้า ท่านต้องมีความพร้อมให้ดี สิ่งสำคัญก็คือ โครงการนี้เป็นโครงการที่ท่านเสนอโครงการมา ท่านจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร ท่านก็ต้องเสนอโครงการมาอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการจะไม่ไปบังคับว่าท่านจะเลี้ยงอะไร ว่าถ้าจะเลี้ยงพันธุ์นู้นพันธุ์นี้ และทางกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยคณะทำงานระดับบอร์ดใหญ่ก็มีนโยบายที่จะทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงโค ให้กับสมาชิกได้ประสบผลสำเร็จตามโครงการให้มีเงินใช้และให้มีความมั่นคงในอาชีพโดยเฉพาะด้านปศุสัตว์

ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ
  ด้าน ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การที่เกษตรกรมารวมกลุ่มกัน เวลาจะยืมเงินของกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรของเรา ต้องมีความละเอียด และต้องละเอียดมาก แต่จะมาติดอยู่ที่การบริหารความเสี่ยง เช่น ถ้าวัวตาย วัวเป็นโรค คือตายเลยมันเบิกไม่ได้ อีกอย่างพี่น้องที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯที่ยืมเงินมาอยากจะฝากว่า จะต้องเป้า ตั้งมั่น มีความอดทน อดทนรอเพื่อจะให้มาเกิดลูกมา ไม่ใช่ว่าเดือดร้อนมาแล้วไปขายพ่อ ขายแม่พันธุ์วัว มันก็ไม่มีดอกผล จากลูกเกิดมาโตพอที่จะเอาไปขาย ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่เขาให้มา เพราะเขาให้เวลา 7 ปี ถ้าเกษตรกรไม่รีบขายตั้งแต่ปี 2 ปี ตามที่อ้างมาคือไม่มีอุดมการณ์ แล้วก็ไปกู้ยืมเงินที่อื่นมาใช้หนี้กองทุน นั้นคือมีเงินใช้หนี้กองทุน แต่ไม่ใช่ดอกผลมาจากการเลี้ยงวัวไม่ใช่ แต่กว่ากองทุนฯจะเร่งรัดหนี้สินกับเกษตรกร ก็ไปยืมเงินดอกเบี้ยสูงมาใช้ ก็กลายเป็นการติดหนี้ นี้คือปัญญาที่เกิดขึ้น
ดร.สมยงค์ กล่าวอีกว่า ที่นี่ทางกองทุนฯจากส่วนกลางคิดว่าแต่ละภูมิภาคต้องมีตลาด หรือเรียกว่าคอกกลาง เช่น อีสานใต้ อีสานกลางคือขอนแก่นหลายจังหวัดมารวมกัน กองทุนฟื้นฟูต้องสร้างคอกกลางขึ้นมา กองทุนฟื้นฟูฯเอาเงินมาอย่างนี้ให้ชาวบ้านกู้ไปซื้อโค กระบือ ทางกองทุนฟื้นฟูฯต้องประกันราคาโค กระบือในการที่จะซื้อคืนได้อายุ ได้น้ำหนักมาเอามาขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ ทางกองทุนฟื้นฟูต้องหาตลาดส่งต่อ เกษตรกรจะไม่ขาดทุน ไม่ใช่ว่าปล่อยตามยถากรรม ดีไม่ดี ขายวัวใช้หนี้อีก เรามีแนวความคิดที่จะเสนอกรรมการบอร์ดใหญ่ ที่เห็นการทำงานของคณะทำงานด้านปศุสัตว์ของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นมีแนวความคิดนี้อยู่ ที่จะเสนอคณะกรรมบอร์ดใหญ่


ดร.สมยงค์ กล่าวด้วยว่า แต่ถ้าจะปล่อยให้พี่น้องเกษตรกรเลี้ยงวัวตามยถากรรม ไม่มีผลสำเร็จ เมื่อทางกองทุนฯให้เงินเขาไป เขาสามารถเลี้ยงวัวได้ แต่เราต้องตลาดกลางให้เขา เอามาขายให้เรา ไม่ต้องเอาไปขายที่อื่น โดยมาขายให้คอกกลางของกองทุนฟื้นฟูฯต้องลงทุน เพื่อไม่ให้ขาดทุน ประกันราคาไว้เลย ประกันไว้ไม่ให้ขาดทุน แบบนี้จะเดินไปเรื่อยๆ ถ้าปล่อยให้เอาไปขายเองก็จะเข้าสู่วงจรเดิมคือขาดทุนเป็นหนี้ สุดท้ายก็ไม่มีเงินใช้หนี้เป็นหนี้เหมือนเดิม ซึ่งเป็นเรื่องจริงแต่ก็น่าเห็นใจเกษตรกร เพราะว่าเราปล่อยให้เขาเอาเงินไปบริหารจัดการเอง ไหนจะเลือกฝากท้องการกินการอยู่ หรือแม้แต่การเรียนของลูกหลาน มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าเกษตรกรจะยืมเงินไป จะไม่ให้ใช้เงินฟรี ฟรีคือฟรีดอกเบี้ย


“เกษตรกร ต้องมีความมุ่งมานะที่จะเอาโค กระบือ ไปพัฒนาขยายพันธุ์มีลูก เพื่อจะมีเงินมาคืนกองทุนฟื้นฟูให้ได้ คือมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ก็สามารถที่จะเดินไปได้ ถ้าคิดว่าเอาไปแล้วทำผิดกฎกติกา เช่น เอาไปขายก่อน ไม่ให้มันออกลูกมา ไม่เลี้ยงลูกให้โตพอที่จะขายเอาเงินมา ภายใน 7 ปีที่เขาให้มาถ้าคิดนอกกรอบ ปัญหาก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้” ดร.สมยงค์ กล่าว.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD