วันอาทิตย์, 8 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
ปชส.จ.ขอนแก่น นำเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร) ดูงาน อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

ปชส.จ.ขอนแก่น นำเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร) ดูงาน อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

ปชส.จ.ขอนแก่น นำเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร) ดูงาน อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น จัดโครงการศึกษาดูงานและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร) ณ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  บ้านนิคม ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

   เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ที่อำเภอน้ำพองและอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  นายสมบัติ ชัยรัตน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น ได้มอบหมายให้ นายชยุต อนุสุริยา  ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น รักษาการแทนประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น นำคณะเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร) ดูงานชมฝ่ายแกนดินซีเมนต์ บ้านคำแก่นคูนน้อย ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท SCGP”บรรยายความเป็นมาการสร้างฝ่ายแกนดินซีเมนต์” บรรยายโดย นายไพศาล  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านคำแก่นคูนน้อย ต่อด้วยเยี่ยมชมผลผลิตชุมชน หมู่บ้านผลิตสินค้าชุมชน โครงการพัฒนาอาชีพบ้านนิคม ตำบลกุดน้ำส บรรยายโดย นายดำมี  ทองโคตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านนิคม ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  จากนั้นร่วมกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสื่อมวลชน ณ ห้องประชุมประชาสัมพันธ์ กฟผ. เขื่อนอุบลรัตน์
ต่อจากนั้นได้เดินทางไปดูงาน “โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด กฟผ. เขื่อนอุบลรัตน์” ต้อนรับ โดยนายมนูญ สิทธิศร วิศวกรระดับ 10 โรงไฟฟ้าน้ำพอง น.ส.อภิสราธรณ์ ปัณณะมณีธนโชติ วิทยากรระดับ 8 แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟผ.) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ. สุดท้ายเดินทางไปหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น อำเภออุบลรัตน์ โดยมี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อโซเซียล และ อป.มช. จำนวน 30 คน ร่วมโครงการศึกษาดูงานและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ (สื่อมวลชนสัมพันธ์สัญจร)

นายมนูญ  สิทธิศร
  นายมนูญ  สิทธิศร วิศวกรระดับ 10 โรงไฟฟ้าน้ำพอง กล่าวว่า วันนี้ก็ได้นำคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่นเยี่ยมชมไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น ตามแผน GDP 2018 แผนพัฒนาระบบโรงไฟฟ้า ของประเทศไทย ซึ่งให้มีการเพิ่มสัดส่วน ของพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ซึ่งโครงการโซล่าลอยน้ำ อยู่ในแผนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เบื้องต้นก็ให้เพิ่มกำลังผลิตให้มากขึ้น เกือบ 2,700 เมกะวัตต์


ที่ไฟฟ้าฝ่ายผลิตเราได้โค้วต้ามาจะต้องไปผลิตให้ได้ตามกำหนด ในโครงการระยะยาว ส่วนอันนี้เป็นเฟสแรกของเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นโรงไฟฟ้า โซล่าลอยน้ำ ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ซึ่งจะให้มีกำลังผลิตเท่ากับโรงไฟฟ้าเดิมอยู่ คือ โรงไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ แบบเดิมก็คือ 24 เมกะวัตต์ ส่วนโซล่าฟุตดิ้งลอยน้ำกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ เช่นเดียวกัน โครงการนี้พิเศษกว่าที่อื่น เมื่อเทียบกับเขื่อนสิรินธร เพราะที่นี่เป็นระบบไฮบริด คำว่า ไฮบริด จะมีแบตเตอรี่ขึ้นมาเสริมด้วย แบตเตอรี่มีกำลังผลิตขนาด 60 เมกะวัตต์ แบตเตอรี่ตัวนี้จะมาติดตั้งคู่กับโซล่าลอยน้ำ เพื่อรักษาเสถียรภาพให้การผลิตไฟฟ้าให้มีมากยิ่งขึ้น ในช่วงแสงพระอาทิตย์หมดไปโซล่าก็จะผลิตไฟฟ้าไม่ได้ จะหายไปชั่วขณะ มีแบตเตอรี่ก็จะมาช่วยเสริม เพื่อให้มีเสถียรภาพเพิ่มมากขึ้น และผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ตัวนี้จะมีแผงอยู่ประมาณ 4 หมื่นกว่าแผงเกือบ 5 หมื่นแผงของเฟสแรก ต่อไปก็จะมีเฟสที่ 2 อีก ก็จะขยายไปเรื่อยๆ


   นายมนูญ กล่าวอีกว่า นอกจากที่เขื่อนอุบลรัตน์แล้วเรายังมีโครงการที่จะไปทำที่เขื่อนจุฬาภรณ์ด้วย และทุกเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น ก็จะมีอยู่ในแผนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตามแผนที่กำหนดไว้ PDT ของประเทศไทย ข้อดีของโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ก็คือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่มีการเผาก๊าซธรรมชาติ ไม่มีเผาน้ำมัน ไม่มีการเผาถ่านหิน เป็นพลังงานที่สะอาด บริสุทธิ์ แต่ว่ายังมีส่วนจำกัดอยู่ ของโซล่าเซลล์ ก็คือ ถ้าไม่มีแสงพระอาทิตย์ ก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ และยังผลิตได้น้อย เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภทฟอสซิล


อย่างโรงไฟฟ้าน้ำพอง ก็โรงเดียวกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 710 เมกะวัตต์ ถ้าเทียบเท่ากับโซล่าลอยน้ำแค่ 24 เมกะวัตต์หลายเท่าตัว ซึ่งเทียบกันไม่ได้เลย แต่ตัวนี้ยังจำเป็นที่จะต้องสร้าง เพื่อเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นนโยบายของภาครัฐ ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาของโซล่าเซลล์ตอนนี้ราคาจะถูกลง แต่เสถียรภาพจะขึ้นอยู่กับอากาศ ซึ่งใช้พื้นที่น้อยมากแค่ 2-3 ร้อยไร่ เมื่อเทียบกับขนาดของเขื่อนอุบลรัตน์ เพราะใช้พื้นที่เพียงนิดเดียว
ถ้าเราไปดูใกล้ๆตัวแผงจะไม่วางอยู่ในระดับแนวนอน แนวระนาด 180 องศาจะเอียงๆนิดหนึ่ง เพื่อให้แสงลงไปใต้น้ำได้ ไม่กระทบกับพืช สัตว์ และปลาที่อยู่ใต้น้ำ ข้อดีส่วนหนึ่งคือช่วยลดระเหยของน้ำในเขื่อนในอ่างได้ส่วนหนึ่งอาจจะไม่เยอะก็เป็นผลพลอยได้ และเป็นผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานสีเขียวที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเฟสที่ 2 ต้องรอ อนุมัติโครงการก่อนจาก ครม.ก็จะมีขั้นตอนขบวนการก็จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการนี้ก็จะทำไปเรื่อยๆ มีเฟส 2 เฟส 3 ต่างๆ ซึ่งตอนนี้อยู่ในแผนดำเนินการอยู่ เพื่อให้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,700 เมกะวัตต์ ของ กฟผ.ทั่วประเทศต้องทำให้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าที่ไหนจะได้โค้วต้าเท่าไหร่ และขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่ด้วย

    ด้านนายชยุต อนุสุริยา  ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า โดยโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายด้านการประชาสัมพันธ์ และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนางานข่าวการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อโซเซียล และ อป.มช. จำนวน 30 คน


  ส่วนนายดำมี  ทองโคตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านนิคม ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่ตนได้ดำเนินกิจกรรม พาชุมชนทำกิจกรรมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลงน้ำ ที่ได้กองทุนมาจาก กฟผ.โรงไฟฟ้าน้ำพอง ในส่วนของเกษตรแปลงใหญ่ ที่ทำร่วมกับชุมชน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงวัย หรือผู้ว่างงานที่ทำในชุมชนของเรา ถามว่าประโยชน์ได้อะไรบ้าง คือไม่ให้ว่างงาน ลดความตึงเครียด และคลายความเหงา เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ผู้สูงวัยถ้าลูกหลานไม่เลี้ยงก็มาปลูกผัก แก้เหงา และเพิ่มรายได้ ไม่มีปัญหา การปลูกผักต้นทุนไม่ค่อยมี เช่นหน่วยงานที่เข้ามาดูแล แต่จะเอาเมล็ดพืช ผักมาให้แทน พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องเพิ่มต้นทุนการผลิต


นอกการปลูกผักแล้วก็จะมีโรงน้ำ ผลิตน้ำดื่ม สำหรับโรงผลิตน้ำดื่มได้รับการสนับสนุนมาจาก กฟผ. โดยใช้ชื่อว่า “น้ำดื่มประชารัฐบ้านนิคม หมู่ 9” ตอนนี้พัฒนาถึงจุดสูงสุดคือให้ชุมชนสามารถเก็บผัก ที่ปลูกร่วมกัน เอามาไว้ทำอาหารในครัวเรือนของตนเองได้ ส่วนแปลงผักได้รับการสนับสนุนจาก SCGP จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุปรับปรุงดิน เช่น ไม้ ระบบน้ำในแปลงผัก จะใช้ระบบสปริงเกอร์ แบบฝอยละออง แต่ช่วงนี้หน้าฝนก็จะไม่ค่อยได้รดน้ำเท่าไหร่ ส่วนน้ำที่เอามารดแปลงผักก็จะเป็นน้ำที่อยู่ในโครงการของ กฟผ.


ซึ่งเป็นผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัยทั้งหมด ตอนนี้ผักไม่พอที่จะจำหน่าย เพราะเป็นผักปลอดสาร ส่วนใหญ่เขาจะมาซื้อที่แปลงผักด้วยตนเอง พร้อมมีตลาดรองรับที่อยู่ในชุมชน และตลาดคลองถมจะมีจำหน่าย เฉพาะวันอังคารและวันศุกร์ เดือนหนึ่งจะมี 4 ครั้ง นอกจากปลูกผักแล้วเราก็ยังมีกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหาร เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบ กรอบเค็มและไข่เค็ม พัฒนามาเรื่อยๆจนเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกตามสถานที่ต่างๆ จะมีบริษัท SCGP เจ้ามาสนับสนุนเรื่องแพ็ดเกจให้สวยงามออกสู่ตลาดได้.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD