วันพฤหัส, 19 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
มีเฮ!องค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ.นาง้อง ชุบชีวิตใหม่ หลัง กฟก.ขอนแก่น อนุมัติโครงการโค เพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ กว่า 7 แสน

มีเฮ!องค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ.นาง้อง ชุบชีวิตใหม่ หลัง กฟก.ขอนแก่น อนุมัติโครงการโค เพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ กว่า 7 แสน

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

มีเฮ!องค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ.นาง้อง ชุบชีวิตใหม่ หลัง กฟก.ขอนแก่น อนุมัติโครงการโค เพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ กว่า 7 แสน

 

องค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น รู้แล้วว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีจริง ได้รับอนุมัติโครงการโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ งบกู้ยืม จำนวน 750,000.00 บาท เป็นอาชีพเสริมจากรายได้หลัก มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ปี ระยะเวลาชำระคืนเงิน 5 ปี เป็นโครงการที่มีวงเงินเกินห้าแสนบาท โดยไม่มีดอกเบี้ย จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น


เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 8/2567 ที่ ห้องประชุมแก่นขาม ชั้น 2 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมีคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อ:มเพรียง ซึ่งภายหลังจากการประชุมได้มีการมอบเช็คกู้ยืม โครงการโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์จำนวน 750,000.00 บาท ให้กับองค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านนาง้อง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมี นางนวพร  วงศ์สง่า เป็นตัวแทนรับมอบเช็ค พร้อมด้วยสมาชิกขององค์กรฯ ดังกล่าว

ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ
  ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าตามที่สำนักงานสาขาจังหวัดขอนแก่น ได้เสนอโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทเงินกู้ยืมในปีงบประมาณ 2567 ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ความละเอียดตามแจ้งแล้วนั้น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขอแจ้งการพิจารณาและดำเนินการดังนี้ ได้อนุมัติโครงการและโอนเงินสนับสนุนโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแก่องค์กรเกษตรกรให้กับ สำนักงานสาขาจังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 โครงการ/องค์กร เป็นเงินกู้ยืม 750,000 บาท ตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ดังนี้ องค์กรกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านนาง้อง รหัสองค์กร 4065000017 ได้รับอนุมัติโครงการโคเพื่อพัฒนาและขยายพันธุ์ งบกู้ยืม จำนวน 750,000.00 บาท
โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 คน ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ปี ระยะเวลาชำระคืนเงิน 5 ปี เป็นโครงการที่มีวงเงินเกินห้าแสนบาท แล้วให้สำนักงานสาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินการ ติดตามแจ้งผลการพิจารณาไปยังองค์กรเกษตรกรเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนในส่วนที่เกี่ยวข้อง และให้รายงานต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดรับทราบ  อีกทั้งร่วมกับองค์กรเกษตรกรเพื่อจัดประชุมคณะกรรมการและสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการ ขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบ/หลักเกณฑ์ คู่มือและข้อปฏิบัติอื่นๆ 


พร้อมชี้แจงให้องค์กรเกษตรกรยืนยันผู้เข้าร่วมโครงการให้ถูกต้องและเรียบร้อยก่อนทำ และเบิกจ่ายเงินให้กับองค์กรเกษตรกร ดำเนินการจัดทำและลงนามในหนังสือสัญญาเงินกู้ยืมเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้แก่องค์กรเกษตรกรถือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการบริหารได้กำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามลักษณะกิจกรรมของแต่ละประเภทโครงการและให้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาโครงการ ดังนี้ ให้เกษตรกร ประกันชีวิตโคเพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีเหตุการณ์โค ล้มตายด้วยเหตุฟ้าผ่า หรือโรคติดต่อร้ายแรง หรือโคสูญหาย จัดให้มีการออมเงินเพื่อลดกรณีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะการขาดทุน ต้องมีโรงเรือนได้มาตรฐาน GFM ขนาด 4 × 4 ในแปลงหญ้า แม่โคทุกตัวจะต้องมีการตรวจโรคแท้ง หากผลเป็นโรคแท้ง ติดต่อให้องค์กรเกษตรกร จัดหาแม่วัวตัวใหม่แทน แม่โคทุกตัวจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอบวม (Hernomhagic Septicemia) แม่โคทุกตัวจะต้องได้รับการฉีดยาถ่ายพยาธิ แม่โคทุกตัวจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ (NID) ต้องระบุสายพันธุ์โคชัดเจน พันธุกรรมควรเป็นแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ 


องค์กรควรมีซองกลาง เพื่อฉัดวัดซีนและผสมพันธุ์ องค์กรเกษตรกร ควรเลี้ยงโค แบบยืนโรงซึ่งดีต่อการเจริญเติบโตและไม่เสียงต่อการติดเชื้อ  ต้องมีแปลงหญ้าหรือแปลงข้าวโพดอย่างน้อย 3 ไร่/ 1 องค์กร ต้องปลูกต้นไม้เศรษฐกิจอย่างน้อย 240 ต้น (เครดิตคาร์บอน) การจัดซื้อจัดจ้าง ต้องจัดซื้อจากฟาร์ม ผู้เลี้ยงโคเท่านั้น  ในการจัดซื้อจัดจ้าง ให้คณะอนุกรรมการร่วมเป็นพยานอย่างน้อย 2 คน ให้ประธานคณะกรรมการและผู้แทนองค์กรทำสัญญาซื้อ – ขายกับสมาชิกผู้ที่ได้รับสิทธิ์การเลี้ยงโค 
อีกทั้งองค์กรเกษตรกรต้องรายงาน ผลการดำเนินงานทุกไตรมาส (3 เดือน)ให้สำนักงานจังหวัดทราบ กรณีโครงการเลี้ยงวัว ให้ดำเนินงานโครงการไม่เกิน 7 ปี  จัดประชุมหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครือข่ายอาชีพตามที่สำนักงานกำหนด จัดให้มีระบบสวัสดิการแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนควบคุมปัจจัยการผลิตที่ใช้งบประมาณจากกองทุนในการจัดหาเพื่อดำเนินงานโครงการ และรายงานข้อมูลต่อสำนักงานตามระยะเวลาที่กำหนด และกำกับติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานองค์กรเกษตรกร ให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติปฏิบัติตามระเบียบ /หลักเกณฑ์ คำสั่งต่างๆ ตลอดจนคู่มือการสนับสนุนโครงการของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

นางนวพร  วงศ์สง่า
    ด้าน นางนวพร  วงศ์สง่า อาชีพเกษตรกร มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านนาง้อง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่ากับความคิดที่ได้รับโอกาสนี้ดีใจมาก เงินก้อนนี้ก็จะช่วยฟื้นคืนชีวิตให้กับเราชาวสมาชิกให้กับเกษตรกรได้ โดยที่ว่าสมาชิกฯส่วนมากจะมีอาชีพ ทำสวน ทำไร่ ทำนา ปลูกข้าวเอาไว้กิน ปลูกอ้อย มันสำปะหลังไว้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับกระแสเศรษฐกิจว่า มันจะถูกหรือจะแพง แต่พอเราได้รับโอกาสดังกล่าว ซึ่งได้รับเงิน จำนวน 750,000 บาท เพื่อซื้อวัว เพื่อนำมาขยายพันธุ์ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเกษตรกร เราจะทำเป็นอาชีพเสริมที่มั่นคง และคาดหวังว่าเราจะหมดหนี้สิน จะต้องมีเงินใช้ เราต้องออกจากวงจรของหนี้ได้ แล้วจะต้องออกจากความขัดสน ความยากจนของหนี้ได้ในระบบหนึ่ง เลยทีเดียว


   นางนวพร กล่าวเสริมอีกว่า จริงๆแล้วการใช้เงินคืนทางกองทุน และทางกองทุนก็ให้โอกาสโดยให้ทำสัญญาใช้เงินคืนภายใน 7 ปี แบบไม่มีดอกเบี้ย แต่สำหรับเราสมาชิกทุกคนคุยกันแล้วว่าถ้า 7 ปี แล้วเราอยากหาอาชีพใหม่ หรือหาอาชีพอื่นมาเสริมดังนั้นเราก็มั่นใจได้ว่าเราจะทำแค่ระยะเวลา 3 ปี ทั้งหมด 2 ปีแรกทางกองทุนไม่ให้ชำระคืน แต่ปีที่ 3 เริ่มจะเก็บ แต่เรามั่นใจว่าพอจะถึงปีที่ 3 แล้วคืนเงินให้ได้ ทั้งหมด เพราะวัวที่เราซื้อมากองทุนฯให้หนึ่งตัว ในราคา 3 หมื่นบาท แต่ยังสามารถซื้อได้บางทีก็ได้ 2-3 ตัว คือมีลูกติดมาด้วยและเป็นตัวเมียอีกด้วย ซึ่งตอนนี้มีแม่พันธุ์ 25 ตัว และเป็นลูกอีก 25 ตัว และยังไม่รวมในท้องด้วยจำนวนทั้งหมด 50 ตัว


“สุดท้ายอยากจะไปฝากไปถึงเกษตรกรทุกๆท่านที่ยังไม่ได้รับโอกาส ที่ไม่รู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ยังไม่ได้รับเปิดกว้างกับการเปิดรับข้อมูล ซึ่งปกติตนก็จะไม่ทราบข้อมูลอะไรเลยว่ากองทุนฟื้นฟูฯนั้นมีจริงก็จะดิ้นรน ค้นคว้าหาความรู้เพื่อเสาะแสวงหาว่ามีอยู่ตรงไหน จุดไหนของประเทศไทย ก็จะด้นดัน หาจนเจอ และได้ชักชวนเกษตรกรบ้านนาง้อง ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เข้ามารวมกลุ่มกันบางคนก็เชื่อ แต่ 80 เปอร์เซ็นต์ไม่เชื่อ มีแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์เชื่อมั่งไม่เชื่อมั่ง แต่กว่าเราจะผ่านมาจุดนี้ได้เราก็สาหัส สากันมาก แต่ ณ ทุกวันนี้ตำบลนางิ้ว ของอำเภอเขาสวนกวาง รู้แล้วว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีจริง”นางนวพร กล่าว.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD