วันเสาร์, 5 ตุลาคม, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
สช. จับมือ กขป.6 จัดกิจกรรม “การประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะ ของสถานศึกษา ภาคตะวันออก” มุ่งสร้างนิสิต นักศึกษา สู่การเป็นนักสื่อสารสุขภาวะ

สช. จับมือ กขป.6 จัดกิจกรรม “การประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะ ของสถานศึกษา ภาคตะวันออก” มุ่งสร้างนิสิต นักศึกษา สู่การเป็นนักสื่อสารสุขภาวะ

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

สช. จับมือ กขป.6 จัดกิจกรรม “การประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะ ของสถานศึกษา ภาคตะวันออก” มุ่งสร้างนิสิต นักศึกษา สู่การเป็นนักสื่อสารสุขภาวะ

สช. และ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตพื้นที่ 6 จัดกิจกรรมการประกวดสื่อรณรงค์สุขภาวะของสถานศึกษา ภาคตะวันออก พร้อมมอบรางวัลให้แก่นิสิต นักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ร่วมสร้างบุคลากร นิสิต นักศึกษาให้สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม


เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และคณะกรรมการ
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 (กขป.6) ได้จัดกิจกรรมมอบรางวัลการประกวดสื่อรณรงค์ สุขภาวะของสถานศึกษา ภาคตะวันออก ณ ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา ตำบลหน้า เมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมการ เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 (กขป.6) เป็นประธานในพิธี และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มอบรางวัล และ เสวนา ใน หัวข้อ “นิเทศศาสตร์ กับ งานสุขภาวะในชุมชน” ร่วมกับ คณาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี โดยมี คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม กว่า 50 คน


การประกวดในครั้งนี้ นิสิต นักศึกษา ผลิตผลงานส่งเข้าร่วมประกวดมากกว่า 50 ผลงาน และมีผู้ที่ ได้รับรางวัลทั้งหมด 12 ทีม แบ่งออกเป็นรางวัลชนะเลิศ จำนวน 4 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 4 รางวัล และ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 4 รางวัล โดย สถาบันการศึกษาที่ได้รับรางวัล ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพ พรรณี มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี

นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า สช. ให้ ความสำคัญกับสื่อสุขภาวะในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้านโดยคำนึงถึงผู้รับสารเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึง ต้องมีการปรับตัวของการสื่อสารสุขภาวะในทุกระดับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้สามารถดำเนินงานได้ และประสบผลสำเร็จ การสื่อสารสุขภาวะ (Health Communication) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วย สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินงาน อีกทั้งการสื่อสารสุขภาวะที่ดีจะสามารถ สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) การผลิตสื่อสุขภาวะตามความต้องการของผู้รับ สารให้เป็นปัจจุบันทั้งช่องทาง เนื้อหา ภาษา การเล่าเรื่อง และสถานการณ์ เป็นเรื่องสำคัญ


สช.เห็นความสำคัญ และ พลังของเด็กและเยาวชนในการสื่อสารสุขภาวะทั้งเป็นผู้ผลิต ผู้ใช้ สื่อ จึงสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนานักสื่อสารสุขภาวะในสถานศึกษา” โดยเริ่มต้นที่ภาค ตะวันออก เป็นแห่งแรก และจะขยายไปในภาคอื่น ๆ ต่อไป ในอนาคต นพ.อภิชาติ กล่าว

ด้าน นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 เผยว่า กขป.6 เป็นหน่วยงานที่ดูแลประเด็นสุขภาวะในภาคตะวันออก ทำหน้าที่ในการสื่อสารให้ เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออก จึงมีการประสานงานกับ สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ บูรณาการการผลิตเนื้อหาและสื่อสุขภาวะในรายวิชาที่เปิด สอนผ่านโครงการ “พัฒนานักสื่อสารสุขภาวะในสถานศึกษา ภาคตะวันออก” ในประเด็นสุขภาวะ มิติต่าง ๆ รอบด้าน ทำให้สถานศึกษาในภาคตะวันออกมีการดำเนินการผลิตสื่อดังกล่าว เพื่อใช้ใน การเผยแพร่ให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อสาธารณชนในช่องทางดิจิทัลมีเดีย ต่อไป

//////////////////////////////////////

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
กลุ่มงานสื่อสารสังคม สช.
โทร. 02-8329141.

 

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD