วันอังคาร, 17 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
“มข.”จับมือ บ.เอกชน แชร์องค์ความรู้ “แบตเตอรี่โซเดียมอิออน” เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต

“มข.”จับมือ บ.เอกชน แชร์องค์ความรู้ “แบตเตอรี่โซเดียมอิออน” เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

“มข.”จับมือ บ.เอกชน แชร์องค์ความรู้ “แบตเตอรี่โซเดียมอิออน” เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต

แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออน (Sodium-ion battery) เป็นเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีข้อดี หลายประการ เช่น ประเทศไทยมีปริมาณสำรองแร่โซเดียมมากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะส่งผลให้แบตเตอรี่มีราคาต่ำลง อีกทั้งแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังมีความปลอดภัยสูง และสามารถนำมา Recycle ได้ง่ายกว่าแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน อีกด้วย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาพลังงานสะอาดในอนาคต


เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า ที่ ห้อง EN81309 ชั้น 3 อาคาร 50 ปี วิศวะรวมใจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท อินฟินีออน เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ “เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งอนาคต การจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่โซเดียมอิออน” โดยมีผู้ร่วมสัมมนาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา รองศาสตราจารย์รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวรายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์อังคณา บุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับ และ Mr. Siong Tuay Kwa (Senior Manager) Infineon Technologies Asia Pacific Pte. Ltd. กล่าวสุนทรพจน์

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล
   รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี กล่าวว่า “แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออน (Sodium-ion battery) เป็นเทคโนโลยีกักเก็บพลังงานชนิดใหม่ ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีข้อดี หลายประการ เช่น ประเทศไทยมีปริมาณสำรองแร่โซเดียมมากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะส่งผลให้แบตเตอรี่มีราคาต่ำลง อีกทั้งแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังมีความปลอดภัยสูง และสามารถนำมา Recycle ได้ง่ายกว่าแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน อีกด้วย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาพลังงานสะอาดในอนาคต มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญทั้งจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตแบตเตอรี่ภายใต้แบรนด์ UVOLT (ยู-โวลต์) ซึ่งผลิตโดยโรงงานแบตเตอรี่และพลังงาน ยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโรงงานมีการผลิตและพัฒนาส่วนประกอบของแบตเตอรี่ชนิดต่าง ๆสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งชนิดลิเทียมไอออนและโซเดียมไอออนที่มีมาตรฐานระดับสากล และพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการการใช้งานแบตเตอรี่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี”


“ฉะนั้นการสัมมนาในครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน เพราะเป็นการสร้างระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของประเทศไทย ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนขยายผลและกระตุ้นให้เป็นอุตสาหกรรม New S-Curve หรือ อุตสาหกรรม แห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นกลไกที่สําคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ (New Growth Engines) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถคว้าโอกาส ชิงความได้เปรียบการแข่งขันทันกระแส ของความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างยั่งยืน” อธิการบดีกล่าวในที่สุด


ด้านรองศาสตราจารย์รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. กล่าวว่าการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนและระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management Systems) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน“คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ประสาน ความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท Infineon Technologies ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในด้านเซมิคอนดักเตอร์ และการพัฒนานวัตกรรม Battery Management System (BMS) ที่มีความแม่นยำสูง เพื่อควบคุมและจัดการประสิทธิภาพของแบตเตอรี่อย่างครบวงจร
โดยร่วมกันจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้น 2 วัน ในภาคเช้าวันแรก เป็นการบรรยายผลงานด้านแบตเตอรี่และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ บรรยาย และในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายจากบริษัท Infineon Technologies ส่วนวันที่สองจัดในรูปแบบภาคปฏิบัติ โดยมีการ workshop ทดลองใช้ระบบ BMS ของบริษัท Infineon Technologies โดยมีบริษัท Infineon Technologies ให้การสนับสนุนการจัดงาน นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสที่ดีแห่งการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา ในการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเรียนการสอน ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในอนาคต เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมต่อไป.

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD