วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

พลังงาน ขอนแก่น เจ๋ง! ขยายผลเทคโนโลยีพลังงานทดแทน บ่มเพาะชุมชนรู้ค่าใช้พลังงาน

พลังงาน ขอนแก่น เจ๋ง! ขยายผลเทคโนโลยีพลังงานทดแทน บ่มเพาะชุมชนรู้ค่าใช้พลังงาน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

พลังงาน ขอนแก่น เจ๋ง! ขยายผลเทคโนโลยีพลังงานทดแทน บ่มเพาะชุมชนรู้ค่าใช้พลังงาน


สำนักงานพลังจังหวัดขอนแก่น กระทรวงพลังงานสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานทดแทน อาทิโรงอบแห้งแสงอาทิตย์ ลดรายจ่ายด้านพลังงาน สร้างรายได้เพิ่มชุมชนในจังหวัดขอนแก่นอย่างยั่งยืน
วันนี้ (วันที่ 10 มกราคม 2561) ที่ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน บ้านโนนรัง หมู่ที่ 22 ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นายชุมพล เดชดำนิล พลังงานจังหวัดขอนแก่น กระทรวงพลังงาน นำสื่อมวลชน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ ดูงานการเดินหน้าขยายผลเทคโนโลยี พลังงานทดแทนในระดับชุมชน อย่างสอดคล้องกับศักยภาพผ่านชุมชน พร้อมปลูกฝังและเปลี่ยนทัศนคติคนในชุมชนให้ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า โดยมีนายวิรัตน์ โพธิ์ศรีเรือง ประธานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าว ชุมชนตำบลสาวะถี เป็นวิทยากรให้ความรู้และนำชมสถานที่

นายชุมพล เดชดำนิล
นายชุมพล เดชดำนิล พลังงานจังหวัดขอนแก่น กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่าการส่งเสริมพลังงานทดแทนในระดับชุมชนเป็นการขยายผลเพิ่มจำนวนเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชนและสอดคล้องกับศักยภาพและปัญหาของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งของประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่

โดยละเอียดในการดำเนินกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนรังตำบลสาวะถี อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีเตาเศรษฐกิจประยุกต์แบบร้อยเอ็ด และโรงอบแห้ง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดระยะเวลาในการผลิต ซึ่งจากเดิมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

แต่หลังจากการติดตั้งเทคโนโลยีพลังงานทดแทนดังกล่าวแล้วสามารถย่นระยะเวลาซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ถึง 3 วันเท่านั้นทำให้เกิดประโยชน์ในการแปรรูปข้าวอย่างเป็นรูปประธรรมมากยิ่งขึ้น

นายชุมพลกว่าเพิ่มเติมว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวและผลลัพธ์ที่เป็นรูปประธรรมโดยนอกหรือจัดการผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนแล้วยังมีประสิทธิภาพที่สูงสุดตามศักยภาพตามพื้นที่ยังช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มขึ้นลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตเม็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านโนนรังอยู่ที่ประมาณ 80,000 –  250,000 บาท

ขณะที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชบ้านป่าหวายนั่งมีรายได้ประมาณ 50,000-56,000 บาท ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืน และยังได้ช่วยเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนให้ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads