วันศุกร์ 19 เมษายน 2024

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สถาปัตย์ มข.วาดนกกระเรียนส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีหมู่บ้าน

       ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ได้รับข้อมูลการทำกิจกรรม ของสถาปัตย์ มข.ว่า ที่หมู่บ้าน ณ บ้านสวายสอ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ผศ.ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์, ผศ.ดร.นยทัต ตันมิตร, อาจารย์วรพล ไทยเอื้อ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอาจารย์พิเศษ จากคณะศิลปกรรม อาจารย์วีระศักดิ์ พิมพ์แก้ว ได้ทำโครงการทัศนศึกษา “เส้น…สีน้ำ…และปราสาทหิน”เพื่อเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการแก่สังคม เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนความเป็นสถาบันที่อุทิศตนด้วยการออกแบบ ( Devotion by Design) โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1 จำนวน 84 คน


       ผศ.ดร.พรณรงค์  หัวหน้าโครงการ ได้เล่าว่า ทางเราเคยทำโครงการศึกษาการพัฒนาทางกายภาพและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการเป็น Eco-Tourism Village: บ้านสวายสอ ริมอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 27-30 มิถุนายน 2562 ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาก่อนแล้วและหมู่บ้านสวายสอนั้นพิกัดตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก เป็นหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งมีความโดดเด่นมีความพร้อมบนอัตลักษณ์ของหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี


       ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าวอีกว่าซึ่งทางชุมชนนี้มีการทอผ้าพื้นบ้าน ทอเสื่อกก จักสาน การทำขนมไทย แปลงนาสาธิต โดมปลูกผักอินทรีย์ และกลุ่มวิสาหกิจข้าวอินทรีย์ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน อาทิ ข้าวอินทรีย์ ผ้าทอมือพื้นบ้าน กระปุกออมสินจากไม้ไผ่ เสื่อปูนั่งกันยุง เครื่องจักสาน เป็นต้น จึงมีความเหมาะสมที่จะพานักศึกษาและอาจารย์ในคณะมาลงพื้นที่บริการชุมชน โดยการทำกิจกรรม Workshop วาดภาพนกกระเรียนทำป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ป้ายชื่อคุ้มขนาด 1.50×1.0 เมตร จำนวน 8 ป้าย ขนาด 0.4 x 0.4 เมตรจำนวน 15 ป้ายป้ายชื่อโฮมสเตย์ขนาด 0.8 x 0.6 เมตร จำนวน 12 ป้าย

     ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าวด้วยว่าทำไมต้องเป็นภาพนกกระเรียน คือว่า ทางองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกันนำพ่อแม่พันธุ์นกกระเรียนพันธ์ไทยที่หายากมาเพาะในกรงเลี้ยงแล้วนำมาทดลองปล่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมืองบุรีรัมย์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินอยู่ในเขตพื้นที่ อ.ประโคนชัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ปี 2554-2560 รวมแล้วจำนวน 82 ตัว ทำให้บ้านสวายสอ มีกิจกรรมการชมแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกกระเรียนพันธุ์ไทย หรือ ชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน เป็นนกที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ หมู่บ้านได้มีการทำนาเป็นระบบเกษตรอินทรีย์และช่วยดูแลนกกระเรียนพันธุ์ไทยอีกทางหนึ่งนั่นเอง
สิ่งที่ทางอาจารย์คาดหวังของกิจกรรมที่พานักศึกษามาบริการเพื่อชุมชนนั่นก็คือ นักศึกษาได้ทำงานเพื่อผู้อื่น ได้ใช้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรมมาทำงานเพื่อชุมชน และฝึกการทำงานเป็นทีม ทำคนละอย่างมาประกอบกัน งานที่ได้อาจไม่สวยหรูเท่าการจ้างทำ แต่คุณค่าที่ชุมชนได้รับจากงานของเด็ก ๆ นั้นมีค่ามาก โดยทางหมู่บ้านสวายสอได้เห็นการทำงานของเราด้วยตรงนี้เป็นข้อดีมาก จะเห็นว่างานนี้มีหลายภาคส่วนร่วมกันทำงาน ทั้งชุมชน หน่วยงานรัฐและสถานศึกษา


       “ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้การอนุเคราะห์จัดหาไม้เป็นวัสดุทำป้ายจากโครงการชลประทานบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ และขอขอบคุณข้อมูลและภาพนกกระเรียนจากศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ช่างชาวบ้านและเด็ก ๆ นักเรียนในหมู่บ้านสวายสอมาร่วมเลื่อยไม้ ตัดไม้ วาดภาพนกกระเรียนด้วย และ Mr.George Archibald ผู้ก่อตั้ง International Crane Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มาร่วมวาดภาพนกกระเรียนบนป้ายสัญลักษณ์ด้วยเช่นกัน”ผศ.ดร.พรณรงค์ กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads