วันพฤหัสบดี 25 เมษายน 2024

 “ดร.คุณหญิงกัลยา” เปิดใจถอดรหัส นโยบายการศึกษา 3-5-7 ก้าวใหม่นักเรียนไทย ในยุคโควิด 19

 “ดร.คุณหญิงกัลยา” เปิดใจถอดรหัส นโยบายการศึกษา 3-5-7 ก้าวใหม่นักเรียนไทย ในยุคโควิด 19
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

 “ดร.คุณหญิงกัลยา” เปิดใจถอดรหัส นโยบายการศึกษา 3-5-7 ก้าวใหม่นักเรียนไทย ในยุคโควิด 19


    เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ที่ กระทรวง ศึกษาธิการ 319 ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขต ดุสิต กทม.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้สัมภาษณ์ นายประดิษฐ์ สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสำราญ ในฐานะที่กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษามาเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยกล่าวว่าได้ทำงานทางด้านการศึกษาอย่างเต็มที่ มีความตั้งใจอันสูงสุดที่จะต้องทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ เร่งปฏิรูประบบการศึกษาโดยเน้นการมีส่วนร่วมไปสู่ตัวผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องใช้เวลาพอสมควรก็ต้องทำให้สำเร็จ โดยต้องทำควบคู่ไปกับโครงสร้าง และการปฏิรูปไปสู่ผู้เรียนโดยตรง เพื่อสร้างรากฐานการศึกษาไทยให้สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 และในอนาคต ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ดิฉันจะไม่ย่อท้อและตั้งมั่นที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมายจากสถานการณ์โควิด 19 ที่เป็นตัวเร่งให้ทุกคนต้องปรับตัวในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยในปี พ.ศ. 2564 นี้ จะมีการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาศักยภาพนักเรียนไทยผ่าน 3 กลไก 5 นโยบาย 7 โครงการ ดังนี้ 3 กลไกหลัก คือ ความทันสมัย เท่าเทียม และยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหัวใจในการพัฒนาคนไทย ให้มีคุณภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ สำหรับ 5 นโยบายสำคัญ คือ
   1. Coding ซึ่งถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ ในการวางรากฐานการปฏิรูปโดยตรงถึงเยาวชนและการพัฒนามนุษย์ ผ่านคณะกรรมการโค้ดดิ้งแห่งชาติ และปัจจุบันได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ Coding เพื่อปฏิรูปประเทศ ภายใต้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทัพยากรมนุษย์
   2. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน : STI (Science/Tecnology/Innovation)
   3. การอ่านเขียนเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการใช้สื่อร่วมสมัย ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมและสื่อการสอนที่ทันสมัย จัดทำคลังข้อมูลดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับครู
   4. อาชีวะเกษตรและประมง ด้วยการยกระดับอาชีวะศึกษาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระบบพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเกษตร ถ่ายถอดเทคโนโลยีเกษตรให้กับเยาวชนและชุมชน
   5. นโยบายการศึกษาพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ
  7 โครงการ คือ
   1. โครงการ “Coding for all” เด็กไทยต้องได้เรียนโค้ดดิ้ง ซึ่งจะไม่เน้นการเรียนการสอนโค้ดดิ้งไปที่ครูและนักเรียนเท่านั้น แต่จะกระจายการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย รวมไปถึงขยายไปกระทรวงต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการโค้ดดิ้งแห่งชาติ และร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้โค้ดดิ้งครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพมากยิ่งขึ้น
   2. โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ซึ่งขยายโอกาสให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือ STI อย่างกว้างขวาง โดยจะเน้นการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
   3. โครงการขับเคลื่อนโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในกำกับ โดยให้การสนับสนุนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อขยายโอกาสให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สูงทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก
   4. โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จะเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรทางการเกษตร ที่พร้อมจะพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนำในอนาคตภายใต้หลักสูตร “ชลกร” โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การช่วยเหลือเกษตร ให้มีน้ำกิน น้ำใช้ แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน รวมถึงการน้อมนำศาสตร์พระราชามาสู่สถานศึกษาในการจัดทำเนื้อหาหลักสูตรที่เหมาะสม
  5. โครงการที่นำเอานวัตกรรมมาใช้กับการเกษตรและประมง อาทิ โครงการเกษตรประณีต 1 ไร่ 1 แสน ให้ทุกตารางเมตรของพื้นที่สามารถทำเงินได้ เป็นการจัดการพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ วางแผนปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีรายได้ทุกวัน ตลอดปี ช่วยแก้จน ตลอดจนโครงการสร้างบรรยากาศห้องเรียนธรรมชาติ เพื่อให้นักเรียนอาชีวะเกษตรได้เรียนรู้ ฝึกฝน ฝึกตน ฝึกทักษะชีวิตกับธรรมชาติ
   6. โครงการด้านการอ่าน เขียน เรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย โดยจัดทำ AR (Augmented reality) เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านธนบัตร มีการอบรมกระบวนการสอน โดยใช้คลิปประวัติศาสตร์น่ารู้จำนวน 10 คลิป ที่ได้จัดทำเป็นคลังข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงความสนใจของเด็กยุคปัจจุบัน
   7. โครงการการศึกษาพิเศษ การศึกษาไทยจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส ผ่านการให้บริการในรูปแบบที่หลากหลาย และมีคุณภาพ มีทักษะชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี


    คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช

คุณหญิงกัลยา ได้กล่าวถึง การเร่งเดินหน้า ขับเคลื่อน สานต่อนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบาย 10 ภารกิจหลัก คือ1. บูรณาการการศึกษาจังหวัด  2. วิทยาศาสตร์พลัง 10 3. สร้างจิตอาสา 4. หลักสูตรพระราชา 5. การเรียนภาษาโค้ดดิ้ง/อังกฤษ 6. อ่านเขียนเรียนประวัติศาสตร์ด้วยสื่อร่วมสมัย 7. ยกระดับอาชีวะศึกษาด้วย STI  8. บริหารจัดการน้ำโดยชุมชน  9. จัดหาวัคซีนโควิด -19 สำหรับครูและบุคลากร 10. ผลักดัน พ.ร.บ การปฏิรูปการศึกษา
     สำหรับการขับเคลื่อนงานตามนโยบายที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการบูรณาการการศึกษาจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียน 3 กลุ่ม คือ โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมสี่มุมเมือง และโรงเรียน Stand Alone รวมถึงนโยบายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ตลอดจนจะผลักดันนโยบายการศึกษาโดยเน้นไปที่ตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 และในอนาคต ด้วย 3 กลไกเพื่อพัฒนาคุณภาพคนไทย 5 นโยบาย และ 7 โครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างนักเรียนคุณภาพ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหม่ของนักเรียนไทย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติในทุกมิติ
     คุณหญิงกัลยา ยังได้กล่าวถึงการเข้าสู่คุณภาพที่ดีเด็กไทยทุกคนต้องเรียนรู้ คำว่า ( Coding )  อันประกอบไปด้วยเหตุผล 5 ประการ คือ 1. ต้องเรียนรู้ให้เกิดทักษะการอ่านอย่างแตกฉาน 2. ให้เกิดทักษะการเขียน           3. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 4. ฝึกฝนทักษะการคิดคำนวณ 5. มีตรรกะการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งวิชาโค้ดดิ้งจะเน้นทักษะการคิด การเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือสำคัญของยุคนี้ แต่ก็ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ว่า ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์เขาก็สามารถเรียนรู้ในการแก้ปัญหาตามศักยภาพของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นมาปรับใช้ เช่น เกมส์ ชุดตัวต่อเลโก้ สร้างขึ้นโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นอุปกรณ์สำหรับวางแผนการจัดตั้งโจทย์ปัญหาโดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้คิด อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังกล่าวอีกว่า โลกแห่งการเรียนรู้ Coding ง่ายกว่าที่คิด การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่นึกถึงทุกคนโดยใช้ คำว่า “Coding for all” เพื่อเตรียมคนให้รู้จักคิดด้วยเหตุ ด้วยผล วิเคราะห์นำไปสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลชุดนี้
   นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่จะเรียน Coding กระทรวงศึกษาธิการจะสนับสนุนการจัดอบรมครูผู้สอน เพื่อถ่ายทอดทักษะการคิดไปสู่ผู้เรียนอย่างดีที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับแล้วว่าจะเพิ่มรายวิชา “Coding” เป็นวิชาเรียนภาคบังคับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาในระยะต่อไป โดยเฉพาะครูในต่างจังหวัดที่กระทรวงจะได้เน้นคนที่ด้อยโอกาส โดยสอนให้มีทักษะ ตรรกะ เช่นจะให้หุ่นยนต์เดินทางตรง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แต่คำสั่งจะต้องมีตรรกะว่า เดินไป 5 ก้าวหยุด ถึงจะเลี้ยงซ้าย หรือเลี้ยวขวา ถ้าไปเจออุปสรรคจะต้องแก้ปัญหาอย่างไร
    การศึกษาไม่ใช่ให้โรงเรียนสอนตามหลักสูตรอย่างเดียว โดยเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความชอบในเรื่องราวที่แตกต่างกันไป จึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน โดยสร้างบรรยากาศ จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ครูทุกคนสามารถสอนในเรื่องที่เด็กสนใจอยากเรียนได้ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ทำโครงการที่น่าสนใจร่วมกับชุมชน อย่างเช่น โรงเรียนบ้านสำราญ ตำบลโนนธาตุ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ได้มีการทำโครงการศาสตร์พระราชา ด้วยการปลูกข้าว พืชผัก ธัญญาหาร สำหรับเป็นอาหารกลางวันของนักเรียนด้วยการเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน คณะครู และนักเรียนร่วมกันโดยมิได้ใช้งบประมาณของแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นการสนองนโยบายของรัฐในช่วงยุคโควิด 19 อย่างแท้จริง การสอนให้เด็กเรียนรู้ด้วยการนำปุ๋ยคอกมาใส่นาข้าวโดยไม่จำเป็นต้องนำเงินไปซื้อปุ๋ยเคมี การสอนให้เด็กเรียนรู้ตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบ “Coding” อย่างหนึ่งเช่นกัน


    คุณหญิงกัลยา ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ Coding ในโรงเรียนว่าขณะนี้เดินหน้าไปค่อนข้างมาก แม้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการ ยังเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้ครูทั่วประเทศ สามารถที่จะเรียน Coding ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีครูเข้ารับการอบรมไปแล้วทั่วประเทศกว่าสองแสนคน รวมถึงล่าสุดได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร อบรมการให้คำปรึกษาและการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ สำหรับนักศึกษานิเทศ Coding Mentor รุ่นที่สองในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom ทำให้ปัจจุบันมีนักศึกษานิเทศ Coding ทั่วประเทศแล้วแปดร้อยคน โดยผู้อบรมจะผ่านการอบรมโดยสมบูรณ์เมื่อส่งการรายงานนิเทศCoding ของเขต หลักจากอบรมแล้วภายในสองเดือน โดยให้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย ที่สำคัญคือสามารถนำเอาผลการนิเทศ ไปวางแผนพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าทางวิชาชีพได้ สำหรับในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นี้ กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายจะจัดอบรมเพิ่มพูนศักยภาพการจัดการเรียนรู้ วิทยาการคำนวณ สำหรับวิทยากรแกนนำ Coding Core Trainer อีกจำนวน 600 คน
    คุณหญิงกัลยา ได้กล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนการเรียนการสอน Coding ให้ได้มากที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล ทั้งนี้การเรียนการสอน Coding จะไม่มุ่งเน้นไปที่ครูและนักเรียนเท่านั้น แต่จะกระจายการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด “Coding for all” แม้กระทั่งผู้ปกครองของเด็กนักเรียน ก็สามารถเรียนรู้ Coding ได้ และนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ คิดเป็นขั้นเป็นตอน แก้ปัญหาเป็น ถือเป็นการเตรียมคนในศตวรรษที่ 21 อย่างรู้เท่าทันระบบในยุคดิจิทัล
    คุณหญิงกัลยา ได้กล่าวเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการอยากเห็น คือ 1. นักเรียนต้องมีความสุขเมื่อไปโรงเรียน ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากไปโรงเรียน 2. เมื่อพ่อแม่ส่งลูกไปเรียนต้องรู้สึกว่าลูกปลอดภัยในทุกด้าน 3. ตัวครูผู้สอนก็ต้องมีศักดิ์ศรี 4. ชุมชนในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ทุกวันนี้ประเทศไทยถือว่ามีภาษาไทยเป็น ภาษาแม่ ซึ่งเราจำเป็นต้องทำให้เด็กอ่านแบบจับใจความได้ คิดวิเคราะห์ได้ เราต้องนำเรื่องวัฒนธรรมที่ดีงาม ประวัติศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม กลับคืนมา ต้องใช้สื่อร่วมสมัยให้เด็กมีความสุนกสนาน ท้าทาย สามารถค้นคว้าหาความรู้ต่อยอดได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้ได้ พ่อแม่เด็กก็จะต้องเรียนรู้ Coding ให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป ต้องฝึกฝนให้คิดเป็นตรรกะ
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังได้ยกตัวอย่าง และกล่าวชื่นชมโรงเรียนร่วมจิตประสาท จังหวัดปทุมธานีว่าเป็นตัวอย่างที่ดีอีกโรงเรียนหนึ่งซึ่งได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้ Coding ประจำโรงเรียนว่า“Coding ชายทุ่ง” ซึ่งโรงเรียนดังกล่าวสอนให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับอาชีพด้านการเกษตร คือ การทำนาข้าว การทำไร่หญ้า การปลูกข้าวโพด และการปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ โดยจัดให้มีการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ คือ Coding แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือ Unplugged coding เป็นการให้นักเรียนฝึกฝนทักษะที่จำเป็น โดยปราศจากอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิค อันเป็นการปฏิรูปการศึกษาโดยตรงสู่ผู้เรียนอย่างแท้จริง เช่น นักเรียนชั้นประถมปีที่ 1-3 เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านความคิด โดยเฉพาะการคิดเชิงตรรกะ การคิดเป็นผล หรือการตัดสินใจ โรงเรียนต้องจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเรียนรู้ และวัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมที่นักเรียนอาศัยอยู่ เช่นการนำปุ๋ยคอกมาใส่นาข้าว ก็เป็นการสอนให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยเหตุด้วยผลได้เช่นกัน ซึ่งหากโรงเรียนใดในพื้นที่ชนบทจะนำไปเป็นแบบอย่างก็ถือว่าเป็นการดี เนื่องจากการเกษตรมีความสำคัญต่อประเทศไทย การผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดสารเคมี ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนของตนเอง ในยุคโควิด 19 ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริม สนับสนุน ฝึกฝนให้นักเรียนผลิตพืช ผลิตสัตว์ ด้วยหลักการเรียนรู้ “Coding for farm”

  ในตอนท้าย คุณหญิงกัลยา ได้กล่าวว่า แม้ว่ารัฐมนตรีของกระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้หญิงทั้ง 3 คน ตนก็เชื่อมั่นว่า สามารถปฏิบัติงานขับเคลื่อนระบบการศึกษาที่ยั่งยืนร่วมกันไปได้อย่างไม่มีอุปสรรค เราทำงานกันเป็นทีมเวิร์ค ขอโอกาสให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ท่านตรีนุช เทียนทอง ได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันกับพวกเรา เราทั้ง 3 คน ได้มีการพูดคุยหารือเพื่อประสาน และร่วมกันขับเคลื่อนสานต่อนโยบายการศึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น .

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads