วันศุกร์ 29 มีนาคม 2024

จ.ขอนแก่น จัดโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒการศึกษาเพิ่ม)ขับเคลื่อนการพัฒนา สู่การเป็น Smart and Mice City

จ.ขอนแก่น จัดโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒการศึกษาเพิ่ม)ขับเคลื่อนการพัฒนา สู่การเป็น Smart and Mice City
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

จ.ขอนแก่น จัดโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒการศึกษาเพิ่ม)ขับเคลื่อนการพัฒนา สู่การเป็น
Smart and Mice City


สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และบริษัท ซีพีแรม จำกัด(ขอนแก่น) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม)ขับเคลื่อนการพัฒนา สู่การเป็น
Smart and Mice City

  เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 21  มกราคม 2565 ที่ โรงแรมเดอะคอนวีเนี่ยน จังหวัดขอนแก่น นายจารึก  เหล่าประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อความข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม)ระหว่างสำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นและบริษัท ซีพีแรม จำกัด(ขอนแก่น)โดยมี ผู้ร่วมลงนามดังนี้นายพงษ์ศักดิ์  ปรีชาวิทย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ,ดร.สิทธิพล พหลทัพ ผู้แทนผอ.สพม.ขอนแก่น,นายประภาส พรหมคำบุตร จัดหางานจังหวัดขอนแก่น,ดร.ประเสริฐ กลิ่นชู นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราซูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ,ผศ.ดร.เกรียงกร ปัญญาประเสริฐกุล ประธานอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น อุปนายกฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี,นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น,นายปาณชัย สุวรรณวานิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น นายเดโช ปลื้มใจ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโสบริษัท ซีพีแรม จำกัด(ขอนแก่น),ตัวแทนบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ,นายวิเชียร  เนียมนิยมบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  นางสาวอรทัย พิพัตนผาติการย์รองผู้อำนวยการ Operation-HRบริษัท ชี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด,นางอาภรณ์ แว่วสอน ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสรรถภาพคนงานภาค 4,นางณัฐนรี แก้ววังปา นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น ,นายเดโช ปลื้มใจ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโสบริษัท ซีพีแรม จำกัด(ขอนแก่น),ตัวแทนบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ,นายวิเชียร  เนียมนิยมบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  นางสาวอรทัย พิพัตนผาติการย์รองผู้อำนวยการ Operation-HRบริษัท ชี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด,นางอาภรณ์ แว่วสอน ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสรรถภาพคนงานภาค 4,นางณัฐนรี แก้ววังปา นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น ,นายขวัญชัย นารถบุญ แรงงานจังหวัดขอนแก่น สำนักงานแรงงานจังหวัดขอนแก่น,นายธีร์ ศรีอาษา ประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอนแก่น,นายธวัช วงศ์ริน นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการพิเศษ,นางอรวรรณ หินตะหัวหน้าศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, นางสาวอรทัย พิพัตนผาติการย์ ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือและผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวเอกชนในจังหวัดขอนแก่น 18 แห่ง  ร่วมลงนาม


   นายจารึก  เหล่าประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การดำเนินการโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) เพื่อส่งเสริม
ให้ประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือประกาศณียบัตร
วิชาชีพ (ปวช’.) ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ได้มีงานทำและได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นระหว่าง
ทำงาน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันในรูปแบบพลังประชารัฐ โดยประสานความร่วมมือระหว่าง
สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น สถานประกอบการ และสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน
จังหวัดขอนแก่น ในการสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนในด้านการมีงานทำ ได้รับค่าตอบแทน และสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนด เปิดโอกาสในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น


    นายจารึก กล่าวอีกว่าในระดับที่ตลาดแรงงานมีความต้องการ ถือเป็นการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและช่วยยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน รวมทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และได้กำลังแรงงานที่ตรงกับการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) ที่มีขึ้นในวันนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกันในการดำเนินการและขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ผมขอขอบคุณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม บริษัท ซีพีแรม จำกัด(ขอนแก่น) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น และสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการมีงานทำและเพิ่มทักษะความรู้ในด้านการพัฒนาแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของกำลังแรงงานของจังหวัดขอนแก่น และระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป


  นายพงษ์ศักดิ์  ปรีชาวิทย์

  ด้าน  นายพงษ์ศักดิ์  ปรีชาวิทย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงที่มาของโครงการ ๓ ม. จากจังหวัดบึงกาฬ ถึง จังหวัดขอนแก่น เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ได้ดำเนินการ ในเรื่องนี้ โดยวันที่ 31 มีนาคม 2561 น.ส.กตพร สองเมืองสุข จัดหางานจังหวัดบึงกาฬ มอบหมายเจ้าหน้าที่ เดินทางไปส่งนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ 3 ม (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) จำนวน 22 คน โดยทำงานกับ บริษัท แซมโบ ชินโด (ประเทศไทย) จํากัด จำนวน 13 คน บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 คน บริษัท เคเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล( ประเทศไทย) จำกัด จำนวน  3 คน เพื่อขึ้นรถของวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ณ สถานีบริการน้ำมัน ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น


    นายพงษ์ศักดิ์  กล่าวถึงที่มาของ โครงการ 3 ม.ฯ คืออะไร ม. มีงาน ม. มีเงิน ม. มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม โครงการ 3 ม.ฯ คือ โครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนที่ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และความมั่นคงในชีวิติ ได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ต้องการ เพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น โดยได้รับบริการส่งเสริม/สนับสนุนจากสถานประกอบการให้ทำงานในสถานประกอบการ โดยได้รับค่าจ้าง และสวัสดิการต่าง ๆวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นเพื่อให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ มีทัศนคติที่ดีในการทำงานและเกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเองทำให้เกิดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพต่อไป ตลอดจนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ด้อยโอกาสให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งเพื่อให้สถานประกอบการมีแรงงานตรงตามความรู้ และความสามารถที่ต้องการและเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม


     นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวด้วยว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) ในส่วนของสถานประกอบการ มีพนักงาน/ลูกจ้างปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้แรงงานที่มีความรู้ ความสามารถตามที่ต้องการ มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษา เกิดภาพพจน์ที่ดีด้านการส่งเสริมการศึกษา ส่วนสถาบันการศึกษา นั้นจะเกิดความร่วมมือทางวิชาการ และความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานประกอบการ พรีอมทั้งได้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในการผลิตนักศึกษา/บัณฑิต ได้ตรงตามกับความต้องการของตลาดแรงงาน ช่วยสถาบันการศึกษาเป็นที่ยอมรับจากสถานประกอบการและตลาดแรงงาน สุดท้ายประชาชนทั่วไป จะมีงานทำ และมีโอกาสศึกษาต่อ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ.

นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads