วันอาทิตย์ 5 พฤษภาคม 2024

สช. จับมือภาคีเครือข่าย เดินหน้าขับเคลื่อนงานสุขภาพพระสงฆ์ เชื่อม”ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่2″

สช. จับมือภาคีเครือข่าย เดินหน้าขับเคลื่อนงานสุขภาพพระสงฆ์ เชื่อม”ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่2″
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สช. จับมือภาคีเครือข่าย เดินหน้าขับเคลื่อนงานสุขภาพพระสงฆ์ เชื่อม”ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่2″

คณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ โดยนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพ และผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย


ณ วัดป่าโนนสะอาด อำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา การลงพื้นที่และประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. 2566 มีเป้าหมายเพื่อทำให้ “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข” ซึ่งคณะกรรมการมหาเถรสมาคม เพิ่งมีมติรับทราบและมีมติให้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 การดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย จึงเป็นเรื่องคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ และภาคีเครือข่ายสำคัญที่จะส่งเสริมเป้าหมายดังกล่าวโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของการบริการสุขภาพของชุมชนและสังคม ผ่านงานกิจการคณะสงฆ์ที่เผื่อแผ่ความเมตตาให้กับสังคม

พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธรรมยุต) ได้กล่าวปฏิสันถารผู้เข้าร่วมประชุมว่า การที่คนเรามีความทุกข์มากเนื่องจากคนเราไม่ยอมรับความเป็นจริง การดูแลทั้งสุขภาพและจิตจึงควรไปด้วยกัน กำลังใจทั้งของญาติและผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทำให้คนอยู่ต่อไปได้ การจัดตั้งศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย วัดป่าโนนสะอาด อำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นกิจกรรมที่สำคัญ ถ้าสามารถทำขยายต่อไปได้ก็จะเป็นประโยชน์ ศาสนาพุทธมีต้นทุนในเรื่องนี้อยู่มาก เราจะทำอย่างไรที่จะเอาสิ่งที่พุทธศาสนามีอยู่ไปใช้ประโยชน์ต่อทั้งพระและประชาชน พระมีความรู้มีประสบการณ์หลายอย่างน่าจะเอาความรู้เหล่านี้ไปทำให้เกิดบุญเกิดกุศลต่อไป

พระอธิการแสนปราชญ์ ปัญญาคโม ประธานศูนย์พุทธวิธีดูแลผู้ป่วยระยะท้าย วัดป่าโนนสะอาด กล่าวว่า ศูนย์การตายดีของชาวพุทธนั้นมีอยู่ เป็นรูปธรรมแล้ว ผู้ป่วยที่รอวันตายนั้นสามารถยกระดับจิตสู่ฌาญได้จริง เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท ดังคำกล่าวของพระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ก่อนท่านปรินิพานว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฝ่ายคฤหัสถ์ กล่าวว่า ที่มาของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาตินั้นเกิดจากความห่วงใยในสุขภาพของพระสงฆ์ และการให้บริการสุขภาพพระสงฆ์ที่ยังเข้าไม่ถึงพระสงฆ์อย่างแท้จริง จึงได้มีการนำข้อห่วงใยดังกล่าวไปกราบเรียนท่านพระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต ท่านได้ให้หลักคิด หลักการสำคัญ คือ ใช้ “ทางธรรม นำทางโลก” ซึ่งเป็นที่มาของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 ภายใต้ความเห็นชอบของคณะสงฆ์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนน้อมนำไปปฏิบัติจนเกิดรูปธรรมต่างๆ ตามมา อาทิเช่น การขึ้นทะเบียนพระสงฆ์เพื่อให้เข้าถึงสิทธิบริการสุขภาพ มีการพัฒนาพระคิลานุปัฏฐากเพื่อดูแลสุขภาพพระสงฆ์ด้วยกันเอง เกิดวัดต้นแบบในการดูแลสุขภาพให้กับฆรวาส ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์นี้เป็นกรอบที่ทำให้เกิดการดูแลสุขภาพตั้งแต่เกิดจนกระทั้งถึงวาระสุดท้าย ปัจจุบันได้มีการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 และจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 แล้ว

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ มหาเถรสมาคม และเสริมงานของวัดประชารัฐสร้างสุข ศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย วัดป่าโนนสะอาด อำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา นี้มาดูงานในวันนี้ เป็นงานที่หน่วยงานที่ดูแลเรื่องระบบบริการสุขภาพในระดับชาติมีความประสงค์จะให้เกิดขึ้น คือ การตายดีในระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งต้องอาศัยความเมตตาของพระสงฆ์ที่จะเมตตาต่อชุมชนด้วย

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ตัวอย่างศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย วัดป่าโนนสะอาด อำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ วัดและคณะสงฆ์ต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา เพราะเป็นศูนย์กลางของสังคมและชุมชน ในด้านการให้บริการสุขภาพนั้นประเทศไทยยังขาดระบบบริการสุขภาพในระยะกลางและระยะสุดท้าย

การฟื้นฟูผู้ป่วยกับระบบที่ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งต้นทุนที่สังคมไทยเรามีอยู่ก็คือ วัด ถ้ามีการสำรวจวัดที่มีพร้อมว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และกระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่ในการออกมาตรฐานของหน่วยให้บริการ สปสช.ทำหน้าที่สนับสนุนชุดสิทธิประโยชน์ในการให้บริการ สสส. ทำหน้าที่ในการสนับสนุนกระบวนการพัฒนาศักยภาพ สช.ทำหน้าที่ในประสานความร่วมมือเชิงนโยบาย ถ้าหน่วยงานร่วมมือกันประเทศไทยก็จะมีระบบการดูแลทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ

นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 9 กล่าวว่า มีการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ในกลุ่มจังหวัดเขตพื้นที่ 9 โดยขยายออกไปทุกจังหวัดโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน มีเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดเป็นประธานคณะทำงาน มีการกำหนดกิจกรรมดำเนินการ 6 ด้าน โดยพระและฆราวาสร่วมกันพัฒนา 6 ด้าน คือ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวัดให้น่าอยู่ พระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติ 5 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อนามัยสิ่งแวดล้อม และยกเลิกอบายมุข) มีการดูแลสุขภาพระสงฆ์ทุกมิติ มีการตรวจสิทธิหลักประกันสุขภาพพระสงฆ์ จัดถวายความรู้ให้พระสงฆ์เป็นพระ อสว. และจัดทำข้อมูลพระสงฆ์ให้ถูกต้อง

โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ มีหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะท้าย อาทิ ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม, คณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 9 และเครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads