วันจันทร์ 29 เมษายน 2024

  “มทร.อีสาน” โดยสถาบันชุณหะวัณ จับมือ depa เปิดตัวโครงการ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตด้านดิจิทัลช่วยอุดหนุนค่าจ้างแรงงาน SMEs ทั่วประเทศ

  “มทร.อีสาน”  โดยสถาบันชุณหะวัณ จับมือ depa เปิดตัวโครงการ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตด้านดิจิทัลช่วยอุดหนุนค่าจ้างแรงงาน SMEs ทั่วประเทศ
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

  “มทร.อีสาน”  โดยสถาบันชุณหะวัณ จับมือ depa เปิดตัวโครงการ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตด้านดิจิทัลช่วยอุดหนุนค่าจ้างแรงงาน SMEs ทั่วประเทศ

เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือบัณฑิตที่จบการศึกษาแล้วไม่เกิน 2 ปี ในสาขาทั่วไปที่ไม่ใช่สาขา IT (Information Technology) อาทิ บริหารธุรกิจ การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ การตลาด การบัญชี เป็นต้น ที่ต้องการทักษะด้าน IT ในการทำงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ


เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ลานจงรัก ชั้น 7 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานใหญ่) กรุงเทพมหานคร ได้จัดงานเปิดตัวและประชาสัมพันธ์โครงการ “พัฒนาศักยภาพบัณฑิต สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ยุคดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการที่สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) เสนอของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa โดยดำเนินการ ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนสนเทศ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ทำการยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้บัณฑิตที่ไม่ใช่สาขา IT พร้อมจับคู่ (Matching) กับสถานประกอบการที่ต้องการเงินสนับสนุนค่าจ้างงานเข้าร่วมโครงการนี้

ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา
โดยบรรยากาศในงาน เริ่มต้นโดย ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณฯ มทร.อีสาน ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งประกอบด้วยภาคส่วนของหน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ นักวิชาการ นักศึกษา เข้าร่วมงานในระบบไฮบริดจ์ ทั้งในรูปแบบ onsite และ online โดย ผศ.ดร.บุญญาพร ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ว่า “เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือบัณฑิตที่จบการศึกษาแล้วไม่เกิน 2 ปี ในสาขาทั่วไปที่ไม่ใช่สาขา IT (Information Technology) อาทิ บริหารธุรกิจ การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ การตลาด การบัญชี เป็นต้น ที่ต้องการทักษะด้าน IT ในการทำงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ และเมื่อนักศึกษาหรือบัณฑิตกลุ่มนี้ไปสมัครงาน ณ สถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ สถานประกอบการนั้นจะได้เงินสนับสนุนช่วยเหลืออุดหนุนค่าจ้าง 50% ของค่าจ้างรายเดือน แต่ไม่เกินเดือนละ 5,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน และสถานประกอบการหนึ่งสามารถจ้างได้สูงสุด 3 ราย รวมเป็นเงินช่วยเหลือสูงสุดถึง 99,000 บาทต่อกิจการ โดยมีจำนวนงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้น 100 ตำแหน่ง รวมเป็นมูลค่าโครงการ 3,300,000 บาท

คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รอง ผอ.depa ประธานเปิดงาน ,ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผอ.สถาบันชุณหะวัณ มทร.อีสาน

ทั้งนี้ การจัดงานได้รับเกียรติจากนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและที่มาของโครงการ พร้อมด้วยการเสวนาในหัวข้อ “ทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในองค์กรยุคใหม่ภายใต้กระแสเศรษฐกิจดิจิทัล” โดยประกอบด้วยภาคส่วนของผู้ให้ทุน (depa) ,องค์กรเอกชน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย รวมถึงสถาบันการศึกษา ได้แก่ ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (depa) ,นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ,นายปิยะ พิริยะโภคานนท์ เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


ดร.อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น
โดยมีผู้ดำเนินการเสวนา คือ ดร.วัชระ เชียงกูล และ นางสาวบุณฑริกา นิลผาย และช่วงท้ายมีการบรรยายแผนดำเนินงานและการสมัครเข้าร่วมโครงการโดย อ.พรเทพินทร์ สุขแสงประสิทธิ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ จากคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น
กิจกรรมการเปิดตัวโครงการในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากหลายภาคส่วนมาร่วมกัน อาทิ ดร.ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานและเหรัญญิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณวนิดา แผ่นผา นายกสมาคมไทย-เยอรมันขอนแก่นส่วนกลาง ภาครัฐ เอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย บิชคลับ สมาคมไทย-เยอรมันขอนแก่นส่วนกลาง สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ นักวิชาการ นักศึกษา เข้ามาร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง ซึ่งโครงการดังกล่าว นับว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวบัณฑิตที่จะเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการทำงานในยุคปัจจุบัน และทางสถานประกอบการเองก็จะได้แรงงานที่มีทักษะมากขึ้น รวมถึงลดต้นทุนในการดำเนินงานแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการได้ในระยะหนึ่งอีกด้วยโดย Live สดผ่านช่องทางเพจโครงการrmuti.depajobmatching2023 สถานประกอบการสามารถจองสิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้ที่คณะบริหารธุรกิจฯมทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (อ.พรเทพินทร์ สุขแสงประสิทธิ์) E:mail:porntepin.so@rmuti.ac.th หรือแสกน QR Code .

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads