วันพฤหัสบดี 2 พฤษภาคม 2024

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน มข.แจง ปชช.ในพื้นที่นำร่อง จ.ขอนแก่น ให้ขอใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หลังกรมทรัพยากรน้ำบาดาลถ่ายโอนภารกิจน้ำบาดาลไปยัง อปท.


สถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มข.จัดโครงการศึกษาวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่อง พื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตลอดจนการเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและการขออนุญาตเจาะน้ำบาดาล


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 4 พ.ย. ที่ชั้น 3 สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.โพยม สราภิรมย์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดแถลงข่าวชี้แจงข้อมูล โครงการศึกษาวิเคราะห์และติดตามประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่องพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 แห่ง ต่อสื่อมวลชน

ผศ.ดร.โพยม สราภิรมย์
ผศ.ดร.โพยม ผอ.สถาบันทรัพยากร น้ำใต้ดิน มข.กล่าวว่าตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 284 ได้มีการตราพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542 เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการสนับสนุนการกระจายอำนาจทั้งนี้คณะกรรมการกระจายอํานาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.)มีประกาศของ คณะกรรมการ ลงวันที่ 31 มกราคม 2551 เรื่องการบังคับใช้แผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ฉบับที่ 2) ได้กำหนดภารกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานตามแผนธุรกิจสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่กำหนดขอบเขตที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะต้องถ่ายโอนภารกิจขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติในแผน มีภารกิจถ่ายโอนในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด ดังนี้ภารกิจที่ 1 การขุดเจาะน้ำบาดาล 1.1 สำรวจแหล่งน้ำทางธรณีวิทยา 1.2ค่าทดสอบหลุมเจาะ 1.3 เจาะน้ำบาดาลพร้อมสูบมือโยก ภารกิจที่ 2 การพัฒนาเป่าล้างบ่อบาดาลเดิม ภารกิจที่ 3 การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำแบบบ่อลึกภารกิจที่ 4 การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลภารกิจที่ 5 การขออนุญาตขุดเจาะน้ำบาดาลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุดน้อยกว่า 4 นิ้ว หรือ 100 มิลลิเมตร และมอบอำนาจการอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่อนุญาตใช้ไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร


ผศ.ดร.โพยม กล่าวอีกว่าโครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ต้องถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาล ไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อศึกษาติดตามวิเคราะห์ประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดขอนแก่น รวม 30 แห่ง โดยมุ่งเน้นประเมินภารกิจการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและการขออนุญาตเจาะน้ำบาดาลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตอนบนสุดน้อยกว่า 4 นิ้ว (100 มิลลิเมตร) และการขออนุญาตใช้น้ำบาดาลที่มีปริมาตรน้ำไม่เกินวันละ 10 ลูกบาศก์เมตร
ตลอดจนเพื่อศึกษาติดตามประเมินผลระบบการบริการจัดการการใช้งบประมาณ การควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติตามภารกิจการถ่ายโอนน้ำบาดาลของ อปท.และมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะด้านน้ำบาดาลพร้อมข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างเพื่อยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านน้ำบาดาลแก่อปท.


พร้อมทั้งเพื่อศึกษาติดตามประเมินผลระบบการบริหารว่าภารกิจการถ่ายโอนน้ำ บาดาลของอปท.ที่ได้ดำเนินการมีการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้ประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงบริการสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วม อย่างไรบ้าง รวมทั้งข้อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความเข้าใจภารกิจการถ่ายโอนด้านน้ำบาดาลแก่ภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อีกครั้งเพื่อถอดบทเรียน รูปแบบการบริหารจัดการภารกิจด้านน้ำบาดาลที่เป็นเลิศ (Best Pratice) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 10 แห่ง

โดยเทียบเคียงตามประเภทของ อปท.และสุดท้าย เพื่อเสนอแนะแนวทางปฏิบัตินโยบายระเบียบปฏิบัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องรูปแบบที่เหมาะสมในการถ่ายโอนภารกิจด้านน้ำบาดาลให้แก่อปทแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับความเป็นมาของกฎหมายน้ำบาดาล ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายออกกฎหมายควบคุมการใช้น้ำบาดาลมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2506 เพราะได้มีการดำเนินการตามโครงการสำรวจน้ำบาดาลบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2498 แต่กว่าที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายควบคุมน้ำบาดาลล่วงเลยมาจนถึงปี 2520 หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504 – 2509 ซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ

ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะได้มีการจัดตั้งการประปานครหลวงขึ้นมาเป็นรัฐวิสาหกิจในปี พ.ศ.2510 เพื่อให้การจัดการน้ำสำหรับการ อุปโภคบริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครฯ นนทบุรี ธนบุรี และสมุทรปราการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่ปรากฏว่าจำนวนประชากร ชุมชนเมืองและภาคอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

จนกระทั่งการประปานครหลวงไม่สามารถขยายการให้บริการได้ทันชุมชนเมืองภาคอุตสาหกรรม จึงต้องจัดหาน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเองโดยการเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ปริมาณมหาศาลต่อมารัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติน้ำบาดาลพ. ศ. 2520 เพื่อควบคุมการเจาะน้ำบาดาลการใช้น้ำบาดาลและการระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ป้องกันแหล่งน้ำบาดาลขาดแคลนหรือเสียหาย อันเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรน้ำบาดาลหรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads