วันอังคาร, 17 กันยายน, 2024

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD
40 ปี “คณะเทคโนโลยี มข.”องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม

40 ปี “คณะเทคโนโลยี มข.”องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD

40 ปี “คณะเทคโนโลยี มข.”องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม

คณะเทคโนโลยี มข. องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม”เป็นช่วงเวลาที่เราจะร่วมสร้างก้าวใหม่แห่งภาคภูมิ และนี่คือก้าวใหม่แห่งความภาคภูมิ ที่พวกเราชาวเทคโนโลยี มข.จะร่วมผลิตกำลังเป็นหนึ่งเดียวให้คณะพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง


เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น รายงานว่า คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมครบรอบ 40 ปี 4 ทศวรรษแห่งความภาคภูมิใจร่วมสร้างก้าวใหม่แห่งความภาคภูมิ “Shaping the Next Chapter of TE -KKU “ซึ่งกิจกรรมประกอบไปด้วย 1. พิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “รางวัลศรีเฟื่องฟ้า” คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2567 2. -บรรยายพิเศษ “Weather and Climate Change ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการทรัพยากรแห่งอนาคต” โดย ผศ. ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี -บรรยายพิเศษ” International joint research on Hythaneborn from uninterrupted exchange for 20 years”โดยProfessorTsuyoshi IMAI จาก Yamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น 3. การอภิปรายงานวิจัย (Free Form Presentation) จากมุมมอง 4 สาขาวิชา และ4. เสวนาวิชาการ “Shaping the Next Chapter of TE-KKU” จากผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 4 มุมมองจากภาครัฐ เอกชน และศิษย์เก่าและในวันนี้ จาก Professor Tsuyoshi IMAI และ Dr. Joost VanItterbeeck. Research Associate จาก KU Leuven ประเทศเบลเยี่ยมให้เกียรติเข้าร่วมเป็น Keynote Speaker และ Invited Speaker ซึ่งการดำเนินงานในวันนี้ จะใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควบคู่กันไป


สำหรับ พิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “รางวัลศรีเฟื่องฟ้า”นั้น รางวัลศรีเฟื่องฟ้า เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติแก่บุคลากรคณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาคณะฯ และมหาวิทยาลัยต่อไปในปีนี้ เป็นปีที่ 3 ของพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศรีเพื่องฟ้า” โดยได้รับเกียรติโดยท่านรองศาสตราจารย์ นายแพย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้มอบรางวัล
ซึ่งผู้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศรีเฟื่องฟ้า” ได้ผ่านการเสนอชื่อจากบุคลากรในหน่วยงาน และคัดเลือกโดยคณะกรรมการรางวัลศรีเฟื่องฟ้าประจำคณะ และในปี 2567 นี้ มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับรางวัลเชิดซูเกียรติศรีเฟื่องฟ้าทั้งสิ้น 12 ท่าน ประกอบด้วยสายวิชาการ 8 ท่าน และสายสนับสนุน 4 ท่าน


รางวัลเชิดชูเกียรติ “ศรีเฟื่องฟ้า” ประเภทบุคคลสายวิชาการ ได้แก่ 1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฏิมากร คล้ายประสิทธิ์ ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการสอน ด้ วยผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา 3 ปีการศึกษาย้อนหลัง โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4.25 (จากคะแนนเต็ม 5.00) ได้ที่4.34
2.ผู้ช่วยศาสตราจาจารย์วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการวิจัย- งานวิจัยที่กำลังท่า 2566-2568 อ่านวน 3 เรื่อง- งานวิจัยที่แล้วเสร็จ 2566-2567 จำนวน 4 เรื่อง- ผลงานวิซาการที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการฐานSCOPUS/ISI(Corresponding Author) 2566 อ่านวน 7 เรื่อง- ผลงานการนำเสนอทางวิซาการระดับนานาซาติ(Corresponding Author) 2567 จำนวน 6 เรื่อง- ผลงานการนำเสนอทางวิซาการระดับชาติ(Corresponding Author) 2567 อ่านวน 3 เรื่อง
3. นางสาวกันติยา เพชรสง ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการวิจัย- งานวิจัยที่กำลังทำ 2566-2568 จำนวนวน 6 เรื่อง- ทรัพย์สินทางปัญญา (อนุสิทธิบัตร) จำนวน 3 เรื่อง- การนำเสนอผลงานวิจัยและการตีพิมพ์ 2566-2567 จำนวน 8 เรื่อง
4. รองศาสตราจารย์ผกาวดี แก้วกันเนตร ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านนวัตกรรม : ทรัพย์สินทางปัญญา ผู้มีสิทธิบัตร จำนวน 1 เรื่องบันทึกความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ Narula Nonwoven และเจ้าของอนุสิทธิบัตร จำนวน 1 เรื่อง
5. รองศาสตราจารย์ศรัญญา พรหมโคตร์ ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านนวัตกรรม : ทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าของสิทธิบัตรจำนวน 1 เรื่อง
6. รองศาสตราจารย์จิรวรรณ อภิรักษากร ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านนวัตกรรม : เชิงพาณิชย์ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นได้รับการอดอบสิทธิบัตร จำนวน 7 ฉบับและขออดสิทธิบัตร 1 ฉบับ โดยแบ่งผลงานเป็น 2 กลุ่ม1)การประดิษฐ์คิดค้นกระบวนการผลิตเส้นใยอาหารและสารพรีไบโอติกจากวัสดุการเกษตร2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้มีสารออกฤกธิ์เชิงหน้าที่ (Functional food)


7. อาจารย์ ดร.นัฐวงค์เฟื่องไพบูลย์ ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านนวัตกรรม : พัฒนานวัตกรรุ่นเยาว์ เจ้าของโล่รางวัลจากงานพัฒนานักนวัตกรร และ ผู้ร่างขอจดอนุสิทธิบัตร 5 ผลิตภัณฑ์
8. รองศาสตราจารย์จันทิมา ภูงามเงิน ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการบริการวิชาการ- นำความรู้ด้านการสอนการวิจัยไปถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชน- ประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร- ประเมินผลงานการวิจัย – ประเมินผลงานการขอกำหนดตำแหน่ง
ในลำดับถัดไปจะเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติศรีเฟื่องฟ้า ประเภทบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่
1. นางนภสร สิกขา ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการพัฒนางางาน- การสร้าง และออกแบบระบบฐาน ข้อมูล เพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการ ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น- เป็นวิทยากรช่วยสอนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Microsoft Accessให้กับนักศึกษาสาขาวิซา เทคโนโลยีการผลิต- นำโปรแกรม SPSS และ Microsoft Excel มาช่วยในการวิเคราะห์และแปรผลการประเมินผลการกิจกุรรมต่างๆ ในคณะเทคโนโลยี- 2566-2567 คู่มือปฏิบัติงาน 2 เรื่อง
2. นางสาวยุวสิริ บุญหลาย ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการพัฒนาตนเอง- ปฏิบัติงานด้านการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ-ปฏิบัติงานด้านการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพในห้ออปฏิบัฏิบัติการ- ปฏิบัติงานตาม OKR
3. นายเทพฤทธิ์ ปิติฤทธิ์ ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านบริการ- โครงการวิจัย R2R 2566-2567 จำนวน 2 เรื่อง- ร่วมให้บริการวิชาการ ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ มข.- ร่วมให้บริการวิชาการของสาขาวิซาเทคโนโลยีการอาหาร- อบรมฝึกปฏิบัติเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านฯจำนวน 4 รุ่น
4. นางพิศมัย ศรีทอง ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านการจัดการ- สร้างระบบช่วยในการบริหารจัดการในสาฆาวิชา- จัดการระบบการบริหารเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ 3 ระบบ

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล
  รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีเนื่องในวาระ 40 ปี วันสถาปนาคณะเทคโนโลยี ซึ่งตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาคณะเทคโนโลยีก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีความเข้มแข็ง เรามีผลงานมากมาย เป็นที่ยอมรับของต่างชาติและนานาชาติ เรามีศิษย์เก่าที่ออกไปทำงาน ในองค์กรต่างๆมากมาย พร้อมทั้งสร้างชื่อเสียง และความสำเร็จ

ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์
   ด้าน ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ กล่าวว่า ในโอกาสที่คณะเทคโนโลยี ครบรอบ 40 ปีก็ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ และครุภัณฑ์ต่างๆ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ในส่วนที่ 2 คือทุนวิจัย ที่ทำให้บุคลากรสายวิชาการของเราได้ต่อ ยอดผลงานวิจัยของตน และที่สำคัญที่สุดเลย คือเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้บัณฑิตนั้น มีทักษะในศตวรรษที่ 21 สุดท้ายเลยคือเครือข่ายศิษย์เก่า เพราะศิษย์เก่า มีการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ฝึกงาน สถานที่ปฏิบัติด้านการศึกษา รวมทั้งทุนการศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกมีสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาของคณะเทคโนโลยี ในโอกาสนี้ก็ขอขอบพระคุณทุกๆภาคส่วนทั้งที่เปิดตัวและอยู่เบื้องหลัง ขอบพระคุณทุกท่าน
ต่อด้วยการประกาศเจตจำนง 40 ปี โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น”นำกล่าวใจความว่าองค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม”เป็น ช่วงเวลาที่เราจะร่วมสร้างก้าวใหม่แห่งภาคภูมิ และนี่คือก้าวใหม่แห่งความภาคภูมิ ที่พวกเราชาวเทคโนโลยี มข.จะร่วมผลิตกำลังเป็นหนึ่งเดียวให้คณะพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง


เสร็จสิ้นลงไปแล้วกับกิจกรรมครบรอบ 40 ปี คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2567 จะเห็นได้ว่า กิจกรรมครบรอบ40 ปี นั้น คือ 4 ทศวรรษแห่งความภูมิใจ ร่วมสร้างก้าวใหม่แห่งความภาคภูมิ “Shaping the Next Chapter of TE-KKU”นอกจากจะแสดงถึงความมั่นคง ของคณะเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแห่งนี้ มาถึงปีที่ 40 แล้วนั้น คณะเทคโนโลยี ยังได้เล็งเห็นถึงความก้าวหน้าและความสำคัญของบุคลากร ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ในการทุ่มเททำงานเพื่อคณะเทคโนโลยีของเรา รวมถึง การสร้างความผูกพันในองค์กรซึ่งรวมถึงนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆอีกด้วยการติดจัดกิจกรรมในครั้งนี้จึงถือเป็นการเฉลิมฉลองถึงความสำเร็จร่วมกัน ที่ทุกๆท่านถือเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จเหล่านี้.

 

3bb-ad
3bb-ad

About The Author

Related posts

HeaderAD
HeaderAD
HeaderAD