วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

มข.เปิดตัวโครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0

มข.เปิดตัวโครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0


ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสังคม คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.จัดอบรมโครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด 12 ชุมชน ถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบการจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์รวมไปถึงการแปรรูปผลผลิตที่เกิดจากพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ , สิ่งที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนา

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 10 ก.ย.ที่ห้องภูพาน ชั้น 2 โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล อ.เมือง จ.ขอนแก่น รศ. ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณะบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดโครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวิทยากร จาก ม.ขอน แก่น ส่วนราชการ สื่อมวลชนทุกแขนง สมาชิกกลุ่มชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0 คณะกรรมการดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0และผู้มีเกียรติกว่า 500 คน ร่วมกิจกรรม

รศ. ดร.เพ็ญศรี  เจริญวานิช
รศ. ดร.เพ็ญศรี คณะบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ม.ขอนแก่น กล่าวว่าการดำเนินกิจกรรมจัดสัมมนาสรุปผล โครงการชุมชนต้นแบบสินค้าเกษตรอินทรีย์ยุค 4.0 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด 12 ชุมชน โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสังคม คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิยาลัยขอนแก่น ได้เห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานที่ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยุค 4.0 โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในวิถีชีวิตของเรามากขึ้น ดังนั้นเกษตรเองที่ยังไม่เข้าถึงเทคโนโลยีจะได้รับทั้งความรู้ตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป และการตลาดโดยทีมงานที่มีทั้งความสามารถและประสิทธิภาพที่จะสามารถพาพี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และสร้างรายได้ที่ดีขึ้น
รศ. ดร.เพ็ญศรี กล่าวอีกว่ารู้สึกยินดี ที่ได้เห็นความร่วมมือ ร่วมใจของทุกๆ ฝ่าย ที่ตั้งใจและมุ่งมั่น จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบการจัดการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์รวมไปถึงการแปรรูปผลผลิตที่เกิดจากพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ และเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ , สิ่งที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนา และอื่นๆ อีกมากมาย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะเกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะมีส่วนในการผลักดันเพื่อยกระดับขีดความสามารถการพัฒนาเกษตรกรและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด 12 ชุมชน ครั้งนี้ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะมีการพัฒนาและต่อยอดไปสู่พื้นที่ชุมชนอื่น ได้ในอนาคต
ด้านนายมงคล บึกสันเที๊ย อายุ 48 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ 10 ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่าตนเองอยู่ในกลุ่มของศูนย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อย ทำในเรื่องเกษตรอินทรีย์ และทำเรื่องการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพนำไปสู่ชุมชนที่พัฒนา สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการต่อยอดเพื่อให้เกษตรกรมีสินค้าที่มีคุณภาพ นำไปสู่เกษตรกรมีรายได้ และอาชีพที่มั่นคง ดังนั้นขอขอบคุณโครงการนี้ ซึ่งตอนนี้ทางกลุ่มได้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เรื่องปลูกข้าวส่งโรงพยาบาลในรูปของข้าวสาร และเป็นข้าวกล้อง ซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์ ที่มีการทำสัญญา
(Electronic Bidding : e-bidding)ทั้งปี โดยทางกลุ่มเกษตรกรส่งผลผลิตข้าวกล้องส่งไปที่โรงพยาบาลมหาสารคาม อีกทั้งในส่วนของพืชผักอินทรีย์ เราก็มีสัญญาคู่ค้าโรงพยาบาลทั้งปี มีผลผลิตมวลรวมของกลุ่ม เป็นตัวเงิน ตกเดือนละกว่าแสนบาท สรุปเมื่อเกษตรกรรวมกันทำโครงการนี้ 4.0 จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้อาชีพในอนาคตข้างหน้าของลูกหลานที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องไปทำงานไกลบ้าน และมีอาชีพในการต่อยอดในการทำการเกษตร มีผลผลิตในการเกษตรที่มีรายได้สูงและมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ.