วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

กฟผ.เชื่อมโยงและรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป. ลาว) เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3

กฟผ.เชื่อมโยงและรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป. ลาว) เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

กฟผ.เชื่อมโยงและรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป. ลาว) เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3


กฟผ.เปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 จ.อุบลราชธานี เพื่อเชื่อมโยง และรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป. ลาว)เป็นการเสริมความมั่นคงพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านระบบเศรษฐกิจ ที่กำลังเจริญเติบโต


เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 จ.อุบลราชธานี ได้มีพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจากนายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางมาเป็นประธานเปิดร่วมด้วย นายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. โดยมีนายเกียนเรง เลียงจินดาถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อปอ.) กฟผ.เป็นผู้กล่าวรายงานในการส่งมอบสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ-สื่อมวลชน เดินทางมาร่วมพิธีเปิดฯและส่งมอบสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 เป็นจำนวนมาก ต่อจากนั้นประธานในพิธีฯเดินเยี่ยมชมห้องระบบ GIS จากนั้นร่วมมอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ 50 ทุน


นายเกียนเรง เลียงจินดาถาวร

นายเกียนเรง เลียงจินดาถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กฟผ.ได้กล่าวว่า “วันนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ทำพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 และส่งมอบสถานีฯแห่งนี้ให้แก่จังหวัดอุบลราชธานี อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านระบบเศรษฐกิจ ที่กำลังเจริญเติบโต โดยเฉพาะเขตนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ที่มีแผนขยายโครงการในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง มีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงและเพียงพอ


นายเกียนเรง กล่าวเสริมว่าสำหรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 ตั้งอยู่ เลขที่ 169 หมู่ที่ 8 บ้านดอนชี ต.หนองขอน อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีเนื้อที่ 212 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา เป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงขนาดแรงดัน 500 กิโลโวลท์ 230 กิโลโวลท์ และ115 กิโลโวลท์เชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าผ่านสายส่ง 500 กิโลโวลท์ รวม 4 วงจรสายส่ง230 kV จำนวน 4 วงจร และสายส่ง115 kV จำนวน 4 วงจร  สำหรับการเชื่อมโยงและรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป. ลาว) สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 จะมีสายส่งเชื่อม โยงไปยัง สถานีไฟฟ้าปากเซ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย (สปป.ลาว) ด้วยระดับแรงดัน 230 กิโลโวลท์ ซึ่งในอนาคตจะปรับเปลี่ยนเป็นระดับแรงดัน 500 กิโลโวลท์ และยังมีการเชื่อมโยงไปยัง สถานีไฟฟ้าแรงสูงร้อยเอ็ด 2 ด้วยระดับแรงดัน 500 กิโลโวลท์ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงร้อยเอ็ด 2 ยังได้เชื่อมโยงไปยังโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน2  (สปป.ลาว)


นายเกียนเรง กล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากนี้สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 ยังมีการเชื่อมโยงไปยังภาคเหนือของประเทศไทยจำนวน 2 วงจรโดยผ่านสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยภูมิ 2 ด้วยสำหรับ การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 นี้ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มจ่ายไฟฟ้าชั่วคราวด้วยระบบ 230 กิโลโวลท์ มาตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ. 2560 และต่อมาเริ่มจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบ 500 กิโลโวลท์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564

นายกิตติ เพ็ชรสันทัด
ทางด้านนายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ.ได้กล่าวเสริมอีกว่า “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ซึ่งมีภารกิจในการผลิต จัดหาและส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าหลักของประเทศ ในวันนี้เป็นวันที่สำคัญต่อพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ธุรกิจอุตสาหกรรม และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตและระบบเศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชานี และของประเทศชาติมีการพัฒนาก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะมีพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น
สถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชานี 3 นับเป็นสมบัติของประชาชนและประเทศชาติ


นายกิตติ กล่าวเสริมว่าโดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล ซึ่งเป็นสถานีไฟฟ้าขนาดแรงดัน 500 , 230 และ 115 กิโลโวลท์ ที่เป็น Junction ใหญ่ ที่รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย และเชื่อมโยงกับ สฟ.ร้อยเอ็ด2 ที่รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเทิน2 จาก สปป.ลาว ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและสปป.ลาว เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( Net Zero Emission ) ภายในปี พ.ศ.2608 ของประเทศไทย


นายกิตติ กล่าวทิ้งท้ายว่านอกจากนั้น ยังเชื่อมโยงจ่ายไฟฟ้าไปยังจังหวัดข้างเคียงให้มีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลาอย่างมั่นคงเพียงพอ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพี่น้องประชาชนชาวอุบลราชธานี และพื้นที่ที่มีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน คือการร่วมเป็นเครือข่ายในการช่วยกันสอดส่องดูแลสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ให้ทำหน้าที่ในการส่งจ่าย พลังงานไฟฟ้าอย่างมั่นคง ซึ่งผมมั่นใจว่าพี่น้องประชาชนทุกท่านมีความยินดีและเข้าใจในด้านความมั่นคงของพลังงานเป็นอย่าง”นายกิตติ เพ็ชรสันทัด รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ.กล่าวเสริม

นายทรงพล วิชัยขัทคะ
ส่วน นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวในนามตัวแทนของชาวจังหวัดอุบลราชธานีขอบคุณทาง กฟผ.ว่า “ในนามพี่น้องชาวจังหวัดอุบลราชธานี ขอขอบคุณการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศที่สร้างและส่งมอบสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 ซึ่งนับว่าเป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ที่มีความสำคัญต่อพี่น้องชาวจังหวัดอุบลราชานีในวันนี้ โดยที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า
โดยการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 ขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าของชาวจังหวัดอุบลราชานี และจังหวัดใกล้เคียง ให้มีความมั่นคงเพียงพอ และยังส่งผลต่อคุณภาพไฟฟ้าของประชาชนผู้ใช้ไฟและต่อระบบเศรษฐกิจในจังหวัดอุบลราชานี ให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นด้วย
นายทรงพล กล่าวด้วยว่าจังหวัดอุบลราชธานี มีภูมิประเทศ เป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัด จากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่ง ทางบริเวณชายแดน ตอนใต้ที่สำคัญคือ เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชา มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจตลอดทั้งปี มีโรงงานอุตสาหกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย
   นายทรงพล กล่าวอีกว่าการที่มีสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 เพิ่มมาอีกหนึ่งสถานี ย่อมแสดงถึงการพัฒนาในทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานของจังหวัดอุบลราชธานี โดยจะขยายตัวและเป็นไปด้วยความมั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งในด้านระบบส่งนอกจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 แล้ว สิ่งสำคัญที่ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถเดินทางมายังสถานีไฟฟ้าแรงสูงได้นั่นก็คือสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่พาดผ่านทุ่งนาป่าเขา และเขตเมือง หากมีปัญหาหรือเกิดเหตุผิดปกติใดๆ ที่ทำให้สายส่งไฟฟ้าขัดข้อง อาจจะทำให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง และกระแสไฟฟ้าอาจจะมาไม่ถึงสถานีไฟฟ้าแรงสูงในจังหวัดอุบลราชธานี การส่งไฟฟ้าอาจจะไม่สามารถส่งต่อไปยังพี่น้องประชาชนในจังหวัดได้
    “ดังนั้นพวกเราชาวอุบลราชธานี จึงมีความยินดีร่วมกันเป็นเครือข่ายในการดูแลรักษาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี 3 ซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติและของประชาชนทุกคน” นายทรงพล กล่าว.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads