วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

‘มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น’ติวเข้ม!อบรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า EV

‘มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น’ติวเข้ม!อบรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า EV
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

‘มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น’ติวเข้ม!อบรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า EV

ศบท. มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ระดมทีมวิทยากรร่วมฝึกอบรมเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า EV ขานรับนโนยบายพลังงานทดแทน และเน้นเทคโนโลยียานยนต์พลังงานสะอาด


เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2566 ศูนย์บริการทางวิชาการและทดสอบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า EV รุ่นที่ 2 ได้รับความสนใจจาก คณาจารย์ นักวิชาการบุคลากรภาครัฐและเครือข่ายภาคเอกชน ตอบรับและให้ความสนใจโครงการ ฯ และได้เปิดโครงการ ฯ เป็นรุ่นที่ 2 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วันเต็ม ที่เน้นหลักสูตรเข้มข้น พร้อมเพื่อต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าตอบสนองต่อนโยบายประเทศและระดับโลก


โดยอาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดโครงการ ฯ อาจารย์บุญกิจ อุ่นพิกุล ผู้ช่วยอธิการบดีกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ฯ ทั้งนี้รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่นนั้น รู้สึกดีใจ ที่ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาที่มีคณาจารย์นักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเป็นความสำคัญของการขนส่งและเป็นการตื่นตัวของประเทศไทยและโลกที่ต้องตระหนักถึงการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดมลพิษ อีกทั้งการจัดโครงการได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ฯ ในการบริการวิชาการ งานวิจัย พร้อมสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาประเทศชาติ


โดยทีมวิทยากรประกอบด้วย อาจารย์เขมวัตร อินทรวิเศษ ผศ.ดร.สมบัติ ทำนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ผศ.ดร.อารักษ์ บุญมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ว่าที่ รต. ดร.เอกราช ไชยเพีย อาจารย์ประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติหัวข้อ เทคโนโลยีและประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า หลักการทำงานและความปลอดภัย การแพ็คแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมฟอสเฟส (Lithium Iron Phosphate LFP) การต่อวงจรระบบจัดการแบตเตอรี่และการตั้งค่าเบื้องต้นของระบบจัดการแบตเตอรี่ (BMS) การตรวจสอบมอเตอร์และอุปกรณ์สำหรับยานยนต์ ทั้งนี้การฝึกอบรมยังคงเน้นตามมาตรฐานของไทยไมซ์สเตอร์ คือ 3 S 1 A Safety (ความปลอดภัย) Standard (มาตรฐาน) Skill (ทักษะ) และ Application (การประยุกต์ใช้งาน )


ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านได้ให้ความสำคัญของการอบรมใช้เวลาในการฝึกอบรมอย่างเต็มที่ พร้อมเปิดรับประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติจากทีมวิทยากรที่ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกท่านได้รับความรู้สมดังวัตถุประสงค์ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ และวันที่ 3 ของการฝึกอบรมได้รับเกียรติจากอาจารย์บุญกิจ อุ่นพิกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มอบเกียรติบัตรและกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน.

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads