วันพฤหัสบดี 2 พฤษภาคม 2024

“ศอ.7” สรุปข้อเท็จจริงกรณีเหตุร้องเรียนระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ.ขอนแก่น

“ศอ.7” สรุปข้อเท็จจริงกรณีเหตุร้องเรียนระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ.ขอนแก่น
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

“ศอ.7” สรุปข้อเท็จจริงกรณีเหตุร้องเรียนระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ รพ.ขอนแก่น

ผอ.ศอ.แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ปัญหาโรงกำจัดขยะติดเชื้อ ของรพ.ขอนแก่นไม่เกี่ยวขัดแย้งระหว่างหน่วยงานต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นของโรงกำจัดขยะติดเชื้อ จึงนำไปสู่การร้องเรียนและตรวจสอบมาตรฐานของโรงกำจัดขยะตามที่มีข่าวเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ


วันนี้(2ก.ย.) ที่ ห้องประชุมราชาวดี อาคารอำนวยการชั้น 2 ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น นพ.ชาตรี เมธาธราธิป ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนชี้แจงกรณีปัญหาโรงกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ โรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งมีการพาดพิงกันไปมาระหว่าง2หน่วยงานนี้ว่าไม่เกี่ยวกับความขัดแย้งส่วนตัวหรือการปฏิบัติงานแต่อย่างใด ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นของโรงกำจัดขยะติดเชื้อ จึงนำไปสู่การร้องเรียนและตรวจสอบมาตรฐานของโรงกำจัดขยะตามที่มีข่าวเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ

“จริงๆแล้วปัญหาการร้องเรียนจะไม่เกิดขึ้นเลยหากทางโรงพยาบาลขอนแก่นไม่สร้างโรงกำจัดขยะอยู่ภายในโรงพยาบาลและติดกับอาคารที่พักของเจ้าหน้าที่บุคคลากรทางการแพทย์ และหากทำตามขั้นตอนกฏระเบียบ ก็เชื่อว่าโรงกำจัดขยะจะไม่สามารถตั้งอยู่ภายในสถานพยาบาลได้ ทำอะไรต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนรอบข้างด้วย อย่าลืมว่าบ้านเมืองมีขือมีแป”นพ.ชาตรีกล่าวและว่า


ภายหลังเทศบาลนครขอนแก่นมีหนังสือถือโรงพยาบาลขอนแก่นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 แจ้งผลตรวจประเมินมาตรฐานระบบกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อและตรวจสอบกลิ่นรบกวนของกรมอนามัยว่าไม่ได้มาตรฐานมีสารเคมีอันตรายฯและได้สั่งให้ทางโรงพยาบาลหยุดกำจัดขยะฯจนกว่าจะมีการปรับแก้ไข แต่ทาง ผอ.โรงพยาบาลยืนยันจะดำเนินการกำจัดขยะต่อ โดยอ้างผลตรวจไม่น่าเชื่อถือนั้น ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานท้องถิ่นจะใช้อำนาจทางกฎหมายจัดการต่อไป

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบกระบวนการกำจัดขยะพบข้อบกพร่องที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวง 3 ข้อ คือ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลจำนวน 7 ใน 9 คนไม่ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ17(1) ข้อ 20(2)และข้อ 24(4)ของกฎกระทรวงฯซึ่งตามกฎหมายต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานขยะมูลฝอยติดเชื้อเข้ารับการฝึกอบรมฯ,กฎกระทรวงฯข้อ 16 การจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อต้องมีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะขยะมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อย 2 วัน แต่ในความเป็นจริงสามารถเก็บกักขยะได้เพียง 1 วันก็เต็มความจุแล้ว นอกจากนี้ยังไม่ปรากฎการรายงานผลการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน(ในกรณีที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว)
“เห็นด้วยอย่างมากที่โรงพยาบาลขอนแก่นสร้างโรงกำจัดขยะติดเชื้อมูลฝอยฯเพราะจะได้ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อโรคภายในโรงพยาบาลและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายการกำจัดขยะติดเชื้อจากเดิมที่ต้องจ้างเหมาเอกชน แต่ตำแหน่งที่ตั้งของโรงกำจัดขยะมันไม่เหมาะสม ตั้งอยู่ติดกับตึกผู้ป่วย ติดกับที่พักอาศัยของคน ปัญหาก็เลยเกิดขึ้นอย่างที่เห็น” นพ.ชาตรีกล่าว
ต่อประเด็นที่เป็นที่สงสัยแย้งกลับมา เพื่อที่จะให้ทาง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ตอบอาทิ1.ทีมมาตรวจทำไมไม่ทำตามขั้นตอนที่กรมอนามัยออกเอง2.ทีมมาประเมินของกรมอนามัยไม่ได้มาตรฐาน iso 16000-6:2011 ตามที่กรมอนามัยกำหนดไว้เองใช่หรือไม่ ถ้ายังไม่ได้ จะเอามาตรวจแล้วเชื่อถือได้หรือ แล้วจะไปบังคับตามข้อกฏหมายได้หรือ ไม่กลัวเค้าฟ้องหรือ3.ทำไมค่าเฉลี่ย กับค่าสูงสุด 4.99 ppm ในอากาศที่มีการถ่ายเท(ไม่ปิดทึบ ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ) จึงเท่ากันได้ แสดงว่าอากาศนิ่งตลอดเวลา ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ แสดงว่าไม่ได้วัดต่อเนื่อง 30 นาที ตามที่กรมอนามัยกำหนดไว้เองใช่หรือไม่ และถ้าใช่ๆหรือไม่ว่าเอาค่าที่วัดที่เครื่องบำบัดขยะหลังฝาขยะพึ่งเปิดใช่ไหม เพราะขณะนั้นไอน้ำยังไม่ถูก hood ดูดเข้าไป4.จะเอาประกาศนี้มาเทียบเคียงได้อย่างไร
ทั้งที่ประกาศ ที่กำหนดให้ใช้”ภายในอาคารสาธารณะ” ที่ ต้อง “ที่ชุมนุมคน” “ปิดทึบ” และ”มีระบบปรับอากาศ” มีประเด็นไหนที่เทียบเคียงได้
และ 5.การวัด ได้วัด”ต่อเนื่อง”ครั้งละ 30 นาที 4 ช่วงเวลา(ช่วงละ30 นาที) หรือไม่ ถ้าใช่ เป็นไปได้หรือที่ค่าเฉลี่ยของสารระเหยในระบบเปิด ที่ถ่ายเทอากาศได้ดีจะ มีค่าคงที่ตลอด คือ 4.99 ppm
6.เป็นไปได้ไหมที่เอาค่า 4.99 ppm มาใส่ในรายงาน เพื่อให้ค่าเฉลี่ยหาร 4 จะได้เกิน 1.00 ppm ไม่กลัวว่าจะเป็นรายงานเท็จ


ผอ.ศอ. 7 ไม่ได้ตอบข้อสงสัยใดๆ จากประเด็นดังกล่าว นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นกล่าวว่า ทางโรงพยาบาลยังไม่ได้รับการแจ้งจากเทศบาลนครขอนแก่นแต่อย่างใด ส่วนข้อบกพร่องตามกฏกระทรวง ปี 2545 ทั้ง 3 ข้อนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่สามารถทำคู่ขนานกันได้ เพราะระบบการบำบัดเป็นระบบปิด ทำงานอัตโนมัติ เกือบทั้งหมด เช่น 1 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน 2.ที่พักขยะ ขนาดของระบบสามารถบำบัดหมดภายใน 1 วัน ไม่เคยต้องเหลือข้ามคืนเลย (ประเด็นที่ต้องมีที่พักขยะไม่น้อยกว่า 2 วัน นั้นใช้กับกรณีที่จ้างบริษัทภายนอกไปกำจัดนอกรพ. เหมือนในอดีตที่รพ.ขอนแก่นดำเนินการ ที่เราไม่มีที่พักคอยเพียงพอ จึงต้องเปลี่ยนมาบำบัดด้วยตนเอง) ซึ่งกรณีนี้เทศบาลทราบเป็นอย่างดี 3.ส่วนกรณีรายงานผล spore test รพ.ขอนแก่น พร้อมรายงานอยู่แล้ว เพราะมีการดำเนินการก่อนเริ่มบำบัดในแต่ละวันตามที่กรมอนามัยกำหนดมาภายหลังสถานการณ์โควิดตั้งแต่ ปี 2565 แล้ว อนึ่งทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นอำนาจของเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งได้ทำการประเมินเสร็จและแจ้งให้ที่ประชุมทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เป็นต้น หน้าที่การตรวจสอบเป็นของเทศบาล เทศบาลแจ้งผลการตรวจสอบตามกฏกระทรวงปี 2545 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ผ่านทั้งหมด ซึ่งวันจันทร์นี้ รพ.ขอนแก่น จะได้ยื่นหนังสือต่อท่านนายกเทศบาลขอนแก่น เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป ซึ่งความคืบหน้า ของการตอบข้อซักถาม ตั้งข้อสังเกต จะรายงานให้ทราบต่อไป

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads