วันเสาร์ 27 เมษายน 2024

ปชส.ขอนแก่น จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่าย สื่อมวลชน “สังคมไม่ทนต่อการทุจริต”

ปชส.ขอนแก่น จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่าย สื่อมวลชน “สังคมไม่ทนต่อการทุจริต”
Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

ปชส.ขอนแก่น จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่าย สื่อมวลชน “สังคมไม่ทนต่อการทุจริต”


เมื่อเวลา 08.30 – 16.30 น. วันที่ 25 ธ.ค. 2560 ณ ห้องภูพาน โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล อ.เมือง จ.ขอนแก่น สำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ขอนแก่น โดย น.ส.จิรดา พูลสวัสดิ์ ประชาสัมพันธ์ จ.ขอนแก่น ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายสื่อมวลชนป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในหัวข้อ “สังคมไม่ทนต่อการทุจริต” โดยได้รับเกียรติจาก นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม รอง ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิด และ นายพยัต ชาญประเสริฐ ประธาน ป.ป.ช.ประจำ จ.ขอนแก่น เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ โดยมี พล.ต.กาจบดินทร์ ยิ่งดอน ผอ.ปฏิบัติการภารกิจภายใน (ขอนแก่น) นางพรพิมล คงตระกุล วัฒนธรรม จ.ขอนแก่น นายชาติชาย ชาธรรมา ผอ.สวท.ขอนแก่น นายสุวิทย์ อินนามมา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จากสำนักงานสาธารณสุข จ.ขอนแก่น มาบรรยายพิเศษ ที่น่าสนใจคือ “เครือข่ายประชารัฐต่อต้านการทุจริต” การพัฒนาเครือข่าย ราชการโปร่งใส ต้านทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานภาครัฐการบูรณาการความร่วมมือ การพัฒนาเครือข่ายต้านโกง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และบทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบการพัฒนาหน.ส่วนราชการและสื่อมวลชน จ.ขอนแก่น ร่วมงาน


โดยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เกิดขึ้น ภายหลังการปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการกำหนดให้การบริหารราชการแนวทางใหม่ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน

โดยมีบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 เป็นกรอบและแนวทาง เพื่อให้การบริหารราชการบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยจะต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ซึ่งมีตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 4 มิติ ดังนี้


มิติที่ 1. มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ , มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ , มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร โดยในมิติที่ 4 คือมิติด้านการพัฒนาองค์กรนั้น มีประเด็นการประเมินผลในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การบริหารองค์ความรู้ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในประเด็นการประเมินเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) เพื่อสร้างความพร้อมในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งได้กำหนดแนวทางการบริหารราชการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารขององค์กรจะต้องปรับกระบวนการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

พล.ต.กาจบดินทร์   ยิ่งดอน  

2. การพัฒนาคุณภาพ โดยการปรับกระบวนการบริหารลูกค้าผู้รับบริการ และ 3. การเสริมสร้างขีดสมรรถนะของบุคลากร เพื่อสร้างความพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ โดยการวางระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องได้ไม่ได้ให้มีความเหมาะสมและสามารถรองรับต่อการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติสัมฤทธิ์ผลได้

นายสันติ  เหล่าบุญเสงี่ยม    

ทั้งนี้ ได้ประเด็นยุทธศาสตร์ 11 ประเด็น ได้แก่ 1. การพัฒนาระบบแรงจูงใจ ,2. การพัฒนาระบบบริหารกำลังคน ให้เพียงพอต่อสถานการณ์ ,3. การปรับปรุงกระบวนการทำงานพร้อมเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน ,4. การพัฒนาระบบจัดการความรู้เพื่อสร้างข้าราชการให้เป็นมืออาชีพ
5. การพัฒนาระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ข้าราชการมีสุขภาพที่ดี ,6. การยึดหลักธรรมภิบาลในการบริหารงานบุคคล ,7. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากรและสามารถบริหารการจัดการฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกันทุกภาคส่วน ,8. การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตามผลงาน ,9. การพัฒนาการกระจายอำนาจ สู่การตัดสินใจในทุกระดับ ,10. การข้าราชการมีสมรรถนะในพัฒนาบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความและ 11. การสร้างระบบส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนในการด้านบริหารงานบุคคล


น.ส.จิรดา  พูลสวัสดิ์  

 จากประเด็นยุทธศาสตร์จะได้เป้าประสงค์ กล่าวคือ 1.) ส่งเสริมระบบคุณธรรมจริยธรรม 2.) พัฒนาระบบแรงจูงใจ 3.) จัดให้มีระบบ IT ให้มีประสิทธิภาพ/ครอบคลุม 4.) นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการระบบจัดการความรู้ 5.) มีระบบฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.) จัดทำแผนพัฒนาระบบกำลังคน 7.) จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับด้านบริหารทรัพยากรบุคคล 8.) มีระบบการกระจายอำนาจสู่การตัดสินใจของข้าราชการทุกระดับ 9.) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 10.) จัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสร้างข้าราชการให้เป็นมืออาชีพ 11.) จัดทำแผนพัฒนาระบบสารสนเทศระบบข้อมูลบุคลากรให้มีความสามารถเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน 12.) พัฒนาระบบประเมินผลตามหลักคุณธรรม 13.) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการปฏิบัติงาน แล้วนำสู่การปฏิบัติ 14.) จัดทำแผนเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และ 15.) ควบคุมมลภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งทั้งหมดนั้นทางหน่วยงานที่        ควบคุมนโยบายต่างๆก็ได้ประชุมมอบนโยบายการบริหารราชการจังหวัดให้กับหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดขอนแก่น ทุกส่วนราชการไปแล้ว

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads

About The Author

Related posts

Header Ads
Header Ads
Header Ads
Header Ads